

อังกฤษออกจากอียู ผลโหวตประชามติคะแนนเสียงฝ่ายหนุน อังกฤษออกจากอียูชนะ ซึ่งส่งผลต่อเรื่องหลักคือสกุลเงินและอิสระในการกำหนดนโยบายประเทศ รวมถึงไม่ต้องจ่ายงบประมาณให้อียู
เป็นข่าวที่ทั่วโลกจับตา สำหรับการลงประชามติครั้งสำคัญของชาวสหราชอาณาจักร อันหมายถึง อังกฤษ เวลส์ สกอตแลนด์ ไอร์แลนด์เหนือ และยิบรอลตาร์ ว่าจะยังคงสภาพเป็นสหภาพยุโรป หรือ EU (อียู) ต่อไปหรือแยกตัวเป็นอิสระ ซึ่งผลการลงมติออกมาอย่างเป็นทางการแล้ว เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2559 เสียงสนับสนุนให้แยกตัวเป็นฝั่งชนะ คิดเป็น 52% ขณะที่ฝ่ายสนับสนุนให้คงความเป็นสมาชิกต่อพ่ายไปแบบสูสีที่ 48% [อ่านข่าว : ข่าวอังกฤษออกจากอียู ผลประชามติออกแล้ว "แยกตัว" ชนะ !]
- ค่าเงินปอนด์ดิ่งลง และค่าเงินยูโรอาจดิ่งตาม
- ตลาดหลักทรัพย์ ผันผวนในระยะสั้น
- กระทบกับเศรษฐกิจไทยไม่มาก เพราะไทยไม่ได้ค้าขายกับอังกฤษมากมายนัก ราว 1-2%
- หากอังกฤษออกจากยุโรปจริง คาดว่าค่าเงินบาทจะอ่อนค่าแตะ 36-37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
- ผลกระทบระยะยาว จะกระทบต่อเศรษฐกิจของโลกที่ยังมีความเปราะบาง อาจทำให้เศรษฐกิจของยุโรปทรุดตัวลง และส่งผลต่อเนื่องมายังเศรษฐกิจของประเทศใหญ่ ๆ ทั้งสหรัฐฯ และจีน
ทั้งนี้ จากเศรษฐกิจที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าค่าเงินปอนด์แข็งกว่าค่าเงินยูโรเพราะต้องบริหารการเงินผ่านธนาคารกลางยุโรปเป็นสำคัญ ส่วนเงินปอนด์นั้นมีการจัดการได้อย่างลงตัว นอกจากเรื่องเงินแล้ว ก็เป็นเรื่องของอิสระของประเทศ ซึ่งหากแยกออกมาสหราชอาณาจักรก็จะสามารถกำหนดนโยบายต่าง ๆ ของประเทศได้อย่างเหมาะสมกับเหตุบ้านการเมืองของตน โดยไม่ต้องปฏิบัติตามมติของกลุ่มอียู ที่ขณะนี้มีวิกฤตเกี่ยวกับผู้อพยพจากยุโรปตะวันออกและตะวันออกกลางเป็นจำนวน มาก รวมถึงกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เข้มงวดของอียู ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการค้า การธนาคาร และเรื่องธุรกิจ ซึ่งพลเมืองสหราชอาณาจักรที่ต้องการอิสระ มองตรงนี้ว่าเป็นภาระของประเทศ และการออกจากอียู ก็จะประหยัดเงินงบประมาณที่จะต้องจ่ายร่วมกันให้กับอียู ราว 11,000 ล้านปอนด์ต่อปีเลยทีเดียว ซึ่งเงินตรงนี้สามารถนำมาใช้ด้านสาธารณสุขของประเทศได้ดีขึ้น
อย่างไรก็ดีจากเฟซบุ๊ก นักเก็งกำไร ด้วยปัจจัยพื้นฐาน ระบุว่า ถึงผลประชามติจะออกแล้ว แต่กระบวนการออกจากอียูยังไม่สิ้นสุด เพราะจะต้องมีการเจรจาต่อรองกันเกิดขึ้น ว่าเพราะอะไรถึงออก เพื่อหารูปแบบการออกจากอียูอีกประมาณ 2-3 ปี และอาจมีการให้สิทธิพิเศษเพิ่มเติม อาทิ หากไม่อยากรับผู้อพยพมากเกินไป ก็จะให้กำหนดโควตาผู้อพยพเอง จะพอใจหรือไม่ เป็นต้น..
ส่วนทิศทางจะเป็นอย่างไร อียูจะมีการต่อรองหรือไม่ ต้องติดตาม
ติดตามข่าว อังกฤษออกจากอียู ทั้งหมด
ภาพและข้อมูลจาก สำนักข่าวไทย, เฟซบุ๊ก นักเก็งกำไร ด้วยปัจจัยพื้นฐาน, maruey.com, วารสารการเงินธนาคาร ฉบับเดือนพฤษภาคม 2559