ถูกตัวแทนประกันชีวิตหลอกให้ทำประกัน จะทำยังไงดีเมื่อตกลงทำไปแล้ว เงินจะจ่ายค่าประกันชีวิตก็ไม่มี กลัวโดนฟ้องก็กลัว ถ้าใครเคยเจอสถานการณ์แบบนี้ บอกเลยเรามีทางออกมาแนะนำ
ใครที่เคยมีประสบการณ์ที่เลวร้ายเกี่ยวกับการทำประกันชีวิตโดยไม่เต็มใจ เข้ามาฟังทางนี้เลย เดี๋ยวนี้บริษัทประกันภัยได้มีการปรับกลยุทธ์การขายประกันชีวิตให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นการเข้าหาโดยตรง ซึ่งอาจมีตัวแทนจากบริษัทขายประกันไปเสนอขายกรมธรรม์ประกันชีวิตกันถึงที่บ้าน หรือแม้กระทั่งปัจจุบันนี้ที่กำลังได้รับความนิยมจากบรรดาบริษัทประกันชีวิตและประกันภัยก็คือวิธี เทเลมาร์เก็ตติ้ง หรือการเสนอขายผ่านทางโทรศัพท์ อันนี้น่ากลัวกว่าเพราะบางครั้งเราก็เผลอตอบตกลงทำประกันไปตอนไหนก็ไม่รู้ มารู้ตัวอีกที อ้าว บิลทวงหนี้มาถึงบ้านเสียแล้ว
หลายคนเครียดกับเรื่องนี้มากเนื่องจากเบี้ยประกันก็ไม่ใช่น้อย ซึ่งถึงแม้จะแบ่งจ่ายเป็นรายเดือนก็ตาม แต่รายจ่ายดังกล่าวก็ยังส่งผลกระทบต่อรายจ่ายประจำเดือนในยุคข้าวยากหมากแพงเช่นนี้ ดังนั้นวันนี้กระปุกดอทคอมความจึงได้รวบรวมวิธีการ "เอาตัวรอด" มาบอก แต่ถ้าใครเผลอทำประกันไปแล้วละก็อย่าเพิ่งหมดหวัง คุณยังจะพอมีทางที่จะรอดจากการถูกพันธนาการด้วยหนี้สินจากเบี้ยประกันอยู่นะครับ
กรณีถูกหลอกผ่านตัวแทนขายประกัน
ในเคสนี้ คนถูกหลอกให้ทำประกันจะมีตั้งแต่คนทำงานไปจนถึงคนเฒ่าคนแก่ ไม่ว่าจะด้วยวิธีการชี้ชวนต่าง ๆ นานา หรือหว่านล้อมในขณะที่เข้าไปทำธุรกรรมการเงินที่สถาบันการเงิน บุกน้ำลุยไฟไปหาถึงบ้านก็มี ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเคสของผู้ที่มาร้องเรียนเรื่องถูกหลอกให้ทำประกันชีวิต มักจะถูกบริษัทประกันบอกว่า สิ่งที่กำลังจะทำเป็นการออมเงินที่ได้ดอกเบี้ยสูงกว่าปกติ โดยจะระบุจำนวนเงินที่จะต้องฝากไว้ (เพื่อหักเป็นเบี้ยประกัน) ตั้งแต่หลักหมื่นไปจนถึงหลักแสนต่อปีก็มี หรืออาจจะจูงใจโดยให้ผ่อนเป็นรายเดือนก็มีอีกเช่นกัน
พอเจ้าทุกข์รู้ตัวอีกทีเงินก็ได้อันตรธานหายไปอยู่กับบริษัทประกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว คราวนี้พอผู้เสียหายอยากจะยกเลิกกรมธรรม์เพื่อขอเงินคืน ทางบริษัทประกันรวมถึงสถาบันการเงินก็ปฏิเสธการให้เงินคืน หรือถึงแม้จะได้คืนก็ได้คืนน้อยกว่าจำนวนที่จ่ายไปในตอนแรก หลายคนเครียดมากกับรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นโดยที่ไม่ได้มีความต้องการอยากให้เกิดขึ้นแม้แต่น้อย แต่เราอยากจะบอกให้คุณตั้งสติและมาดูวิธีการแก้ไขสถานการณ์นี้กันก่อน
* วิธีแก้ไขในกรณีที่เซ็นยินยอมหรือจ่ายเงินเบี้ยประกันไปแล้ว
ถ้าคุณบังเอิญคล้อยตามจนตกลงเซ็นสัญญาซื้อกรมธรรม์ไปแล้ว ก็อย่าเพิ่งคิดมากไป ทางแก้ไขยังพอมี โดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือ คปภ. ระบุว่า ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำดังกล่าว (หลอกให้ทำประกัน) สามารถโทร. แจ้งบริษัทประกันภัยเพื่อยกเลิกได้ ทั้งนี้การขอยกเลิกกรมธรรม์ประกันชีวิตสามารถทำได้ แต่ต้องดำเนินการภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับกรมธรรม์ โดยผู้เอาประกันภัยจะได้รับเบี้ยประกันภัยคืน แต่ต้องเสียค่าใช้จ่ายฉบับละ 500 บาท และค่าตรวจสุขภาพ (ถ้ามี) สำหรับการยกเลิกการทำประกันภัย ผู้เอาประกันภัยต้องส่งหนังสือแจ้งการยกเลิกทำประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัยคืนทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงบริษัทโดยตรง
* วิธีการป้องกันเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ
ถ้าคุณโดนหว่านล้อมไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดก็ตามเพื่อหลอกล่อให้คุณยินยอมจรดปากกาเซ็นซื้อประกัน วิธีที่ดีที่สุดในการหลีกเลี่ยงการเป็นหนี้ในอนาคตก็คือการปฏิเสธตั้งแต่ต้นทาง เพราะถ้าคุณเผลอไปคล้อยตามที่ตัวแทนขายประกันหว่านล้อมแล้วละก็ คุณก็อาจจะต้องเป็นเหยื่อของกลุ่มคนบางกลุ่มที่อาศัยความไม่รู้และช่องโหว่บางอย่างมาเป็นสิ่งจูงใจให้คุณทำประกันกับพวกเขาก็ได้
กรณีนี้พบมากที่สุด เพราะวิธีนี้ทางตัวแทนขายประกันจะสามารถเข้าถึงตัวผู้ที่เป็นเป้าหมายได้ง่าย เพียงแค่ยกโทรศัพท์แล้วกดโทร. หาเป้าหมาย โดยบรรดาผู้ค้าประกันก็ได้เบอร์โทรศัพท์เรา ๆ ท่าน ๆ มาจากธนาคารนั่นแหละครับ
ถามว่าได้ไปตอนไหน ก็ตอนที่ทำบัตรเครดิตหรือบัตรกดเงินสดยังไงล่ะครับ เพราะในสัญญาการทำบัตรเครดิตทางสถาบันการเงินมักจะอาศัยช่องโหว่ที่คนไม่รู้ หรือคนไม่ได้อ่านสัญญาอย่างละเอียดถี่ถ้วนเซ็นในช่องยินยอมเปิดเผยข้อมูลเครดิตและข้อมูลส่วนตัว เช่น เบอร์มือถือ อีเมลแก่บริษัทและพันธมิตรในเครือ เพื่อนำเสนอบริการและโปรโมรชั่นต่าง ๆ พูดง่าย ๆ ก็กึ่ง ๆ บังคับนั่นแหละครับ แต่ถึงแม้ว่ากลุ่มคนเหล่านั้นจะโทร. มา เราก็มีวิธีจับสังเกตในกรณีที่ตัวแทนบริษัทประกัน โทรมาเพื่อหวังจะหว่านล้อมให้คุณทำประกันกับพวกเขามาฝาก
1. โทร. มา แล้วบอกว่าเป็นบริการเสริมจากบัตรเครดิต (สำหรับคนที่มีบัตรเครดิตหรือบัตรเดรบิตเท่านั้น) มีข้อแนะนำคือให้โทรกลับไปเช็กที่ธนาคารเจ้าของบัตรว่าเป็นของธนาคารติดต่อมาเองหรือไม่ ถ้าไม่ใช่ก็ให้คุณร้องเรียนกับธนาคารเพื่อขอให้ธนาคารตรวจสอบได้เลย
2. โทร. มาบอกว่าคุณเป็นลูกค้า VIP, ลูกค้าแพลตินัม, ลูกค้าประวัติดี หรือ คุณเป็นผู้โชคดี ต่าง ๆ นานา แล้วแต่จะสรรหาคำที่วิเศษเลิศเลอมาพูดให้เคลิ้ม คำแนะนำคือเราต้องมีสติอยู่ตลอดเวลา ให้ฟังดี ๆ ตั้งใจฟัง แล้วจะรู้ว่าจริง ๆ คนเหล่านั้นต้องการขายประกัน !
3. โทร. มาทำเหมือนแกล้งคอนเฟิร์มการเปิดใช้งานบัตรเครดิต (สำหรับคนที่มีบัตรเครดิตใหม่, หรือใบใหม่) ทำทีเหมือนเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคาร ซึ่งถ้าเราไม่ถามหรือทักท้วงอะไรเค้าก็จะอนุมานไปว่าเราไปตอบตกลงเขาโดยอัตโนมัติ แล้วก็อธิบายผลประโยชน์โน้นนี่ยืดยาว 3 วัน 7 วัน ก็ไม่จบ แนะนำให้ถามให้ชัดเจนเลยว่าโทร. มาจากที่ไหนแล้วก็ขอข้อมูลผลิตภัณฑ์รวมถึงรายละเอียดที่ใช้เป็นหลักฐานในการร้องเรียนได้ในกรณีที่เหตุการณ์เริ่มไม่ชอบมาพากล จากนั้นให้ทำตามข้อ 1 คือการโทร. ไปแจ้งธนาคาร ร้องเรียนและให้ธนาคารช่วยตรวจสอบข้อเท็จจริง
* วิธีป้องกันจากการถูกหลอกให้ทำประกันทางโทรศัพท์
1. คุณต้องถามให้ชัดเจนว่าโทร. มาจาก "ธนาคาร" หรือ "บริษัทประกัน"
2. ให้ถามชื่อ - นามสกุล และเบอร์ติดต่อ ชื่อบริษัท โดยเฉพาะส่วนที่สำคัญที่สุด คือ รหัสตัวแทน (รหัสใบอนุญาตของคนขาย) ของผู้ที่นำเสนอขายประกันให้เรา อย่าลืมจดไว้ให้ละเอียดเพื่อประโยชน์ในอนาคต ถ้าเป็นไปได้ให้บันทึกการสนทนาไปด้วยจะดีที่สุด เพราะบรรดาตัวแทนบริษัทประกันจะกลัวการถูกบันทึกการสนทนากรณีที่โทร. มาเพื่อหว่านล้อมให้เราทำประกันชีวิตด้วย เนื่องจากข้อมูลเหล่านี้เราสามารถโทร. ไปขอตรวจสอบได้ที่ คปภ. (สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย) แล้วถ้าถูกร้องเรียนบ่อยเสียจนขึ้นไปอยู่ในแบล็กลิสต์แล้วละก็ มีสิทธิ์โดนปิดบริษัทได้เลยนะครับ ดังนั้นเราต้องช่วยกันเป็นหูเป็นตา ช่วยกันทำในสิ่งที่ถูกต้อง เพื่อที่คนที่เอาเปรียบคนอื่นจะได้ไม่สามารถไปทำแบบนี้กับคนอื่นอีก
* ช่องทางในการร้องเรียน
1. บริการสายด่วนประกันภัย (คปภ.) 1186
2. บริการข้อมูลข่าวสารทางอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย โดยตรงก็ที่ คปภ.
3. ติดต่อ คปภ. สำนักงานใหญ่โดยตรงที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย 22/79 ถนนรัชดาภิเษก แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 โทร. 0-2515-3999
นอกจากนี้ยังมีคำพูด "ต้องห้าม" ในกรณีที่ตัวแทนบริษัทประกันโทร. หาคุณ ถ้าคุณไม่อยากตกเป็นเหยื่อของตัวแทนบริษัทประกันหน้าเลือดแล้วละก็ ทำตามนี้เลย
1. ห้ามพูดคำว่า "ตกลง" หรือ " สนใจทำ" หรือ " ทำ " เด็ดขาด เพราะคำเหล่านี้จะเป็นหลักฐานยืนยันว่าคุณได้ทำประกันไปจริง ๆ แนะนำให้พูดว่า " ไม่เอา , ไม่ทำ , ไม่สนใจ, ไม่ต้องโทร. มาแล้ว และวางสายทันทีไม่ต้องคุยอะไรอีก
* ถ้าเผลอตอบตกลงทำประกันไปแล้ว จะทำยังไงดี
1. ถ้าได้รับการติดต่อภายในวันนั้น ให้ติดต่อกลับไปแจ้งทันทีว่าไม่ทำ และให้ถามเลยว่าตัดเงินจากบัตรไปแล้วหรือยัง ถ้ายังไม่ได้ตัดเงินจากบัตรก็โชคดีไป แต่ถ้าตัดเงินจากบัตรไปแล้วอาจไม่ได้คืนหรือได้คืนก็ช้ามากประมาณ 1 เดือน (แล้วแต่วิธีที่ตกลงกัน)
2. ในกรณีที่ผู้เอาประกันตกลงซื้อประกันผ่านทางโทรศัพท์ แล้วผู้เอาประกันที่ต้องการจะขอยกเลิกกรมธรรม์ประกันชีวิตสามารถแจ้งบริษัทประกันเป็นลายลักษณ์อักษรพร้อมแนบกรมธรรม์ประกันชีวิต และส่งไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงบริษัทที่รับประกันภัย ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับกรมธรรม์ประกันชีวิต โดยผู้เสียหายจะได้รับเบี้ยประกันที่จ่ายไปทั้งหมดคืน
ประกันชีวิตใช่ว่าจะเป็นเรื่องที่น่าขยาดอย่างที่หลายคนเข้าใจ ถ้าหากใครมีเวลาไปศึกษาดูจะพบว่าสิทธิประโยชน์ในประกันชีวิตก็มีมากโขอยู่ แต่ทั้งนี้ก็มีกลุ่มคนบางกลุ่มที่มุ่งหวังเพียงแต่เรื่องการทำยอดแต่เพียงอย่างเดียว จึงได้ใช้ช่องทางอันไม่ซื่อไปหากินบนความไม่รู้ของผู้อื่น ดังนั้นทางเดียวที่จะหยุดวงจรนี่คือทุกคนต้องช่วยกันเป็นหูเป็นตาและรายงานพฤติกรรมดังกล่าวของคนกลุ่มนี้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อให้ดำเนินการเอาผิด
แต่ทั้งนี้สิ่งที่สำคัญที่สุดในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการถูกหลอกให้ทำประกันก็คือ "สติ" ถ้าเราใช้สติและวิจารณญาณไตร่ตรองคำพูดของคนที่โทร. มาชักชวนหรือเสนอขายผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต เราจะเห็นได้ชัดว่าใครหลอกลวงหรือใครจริงใจ ดังนั้นก่อนจะตัดสินใจทำประกันไม่ว่าจะชนิดใด ขอให้ทุกคนมีสติกันให้มาก ๆ นะครับ
หลายคนเครียดกับเรื่องนี้มากเนื่องจากเบี้ยประกันก็ไม่ใช่น้อย ซึ่งถึงแม้จะแบ่งจ่ายเป็นรายเดือนก็ตาม แต่รายจ่ายดังกล่าวก็ยังส่งผลกระทบต่อรายจ่ายประจำเดือนในยุคข้าวยากหมากแพงเช่นนี้ ดังนั้นวันนี้กระปุกดอทคอมความจึงได้รวบรวมวิธีการ "เอาตัวรอด" มาบอก แต่ถ้าใครเผลอทำประกันไปแล้วละก็อย่าเพิ่งหมดหวัง คุณยังจะพอมีทางที่จะรอดจากการถูกพันธนาการด้วยหนี้สินจากเบี้ยประกันอยู่นะครับ
กรณีถูกหลอกผ่านตัวแทนขายประกัน
ในเคสนี้ คนถูกหลอกให้ทำประกันจะมีตั้งแต่คนทำงานไปจนถึงคนเฒ่าคนแก่ ไม่ว่าจะด้วยวิธีการชี้ชวนต่าง ๆ นานา หรือหว่านล้อมในขณะที่เข้าไปทำธุรกรรมการเงินที่สถาบันการเงิน บุกน้ำลุยไฟไปหาถึงบ้านก็มี ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเคสของผู้ที่มาร้องเรียนเรื่องถูกหลอกให้ทำประกันชีวิต มักจะถูกบริษัทประกันบอกว่า สิ่งที่กำลังจะทำเป็นการออมเงินที่ได้ดอกเบี้ยสูงกว่าปกติ โดยจะระบุจำนวนเงินที่จะต้องฝากไว้ (เพื่อหักเป็นเบี้ยประกัน) ตั้งแต่หลักหมื่นไปจนถึงหลักแสนต่อปีก็มี หรืออาจจะจูงใจโดยให้ผ่อนเป็นรายเดือนก็มีอีกเช่นกัน
พอเจ้าทุกข์รู้ตัวอีกทีเงินก็ได้อันตรธานหายไปอยู่กับบริษัทประกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว คราวนี้พอผู้เสียหายอยากจะยกเลิกกรมธรรม์เพื่อขอเงินคืน ทางบริษัทประกันรวมถึงสถาบันการเงินก็ปฏิเสธการให้เงินคืน หรือถึงแม้จะได้คืนก็ได้คืนน้อยกว่าจำนวนที่จ่ายไปในตอนแรก หลายคนเครียดมากกับรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นโดยที่ไม่ได้มีความต้องการอยากให้เกิดขึ้นแม้แต่น้อย แต่เราอยากจะบอกให้คุณตั้งสติและมาดูวิธีการแก้ไขสถานการณ์นี้กันก่อน
* วิธีแก้ไขในกรณีที่เซ็นยินยอมหรือจ่ายเงินเบี้ยประกันไปแล้ว
ถ้าคุณบังเอิญคล้อยตามจนตกลงเซ็นสัญญาซื้อกรมธรรม์ไปแล้ว ก็อย่าเพิ่งคิดมากไป ทางแก้ไขยังพอมี โดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือ คปภ. ระบุว่า ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำดังกล่าว (หลอกให้ทำประกัน) สามารถโทร. แจ้งบริษัทประกันภัยเพื่อยกเลิกได้ ทั้งนี้การขอยกเลิกกรมธรรม์ประกันชีวิตสามารถทำได้ แต่ต้องดำเนินการภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับกรมธรรม์ โดยผู้เอาประกันภัยจะได้รับเบี้ยประกันภัยคืน แต่ต้องเสียค่าใช้จ่ายฉบับละ 500 บาท และค่าตรวจสุขภาพ (ถ้ามี) สำหรับการยกเลิกการทำประกันภัย ผู้เอาประกันภัยต้องส่งหนังสือแจ้งการยกเลิกทำประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัยคืนทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงบริษัทโดยตรง
* วิธีการป้องกันเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ
ถ้าคุณโดนหว่านล้อมไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดก็ตามเพื่อหลอกล่อให้คุณยินยอมจรดปากกาเซ็นซื้อประกัน วิธีที่ดีที่สุดในการหลีกเลี่ยงการเป็นหนี้ในอนาคตก็คือการปฏิเสธตั้งแต่ต้นทาง เพราะถ้าคุณเผลอไปคล้อยตามที่ตัวแทนขายประกันหว่านล้อมแล้วละก็ คุณก็อาจจะต้องเป็นเหยื่อของกลุ่มคนบางกลุ่มที่อาศัยความไม่รู้และช่องโหว่บางอย่างมาเป็นสิ่งจูงใจให้คุณทำประกันกับพวกเขาก็ได้
กรณีถูกหลอกผ่านทางโทรศัพท์
กรณีนี้พบมากที่สุด เพราะวิธีนี้ทางตัวแทนขายประกันจะสามารถเข้าถึงตัวผู้ที่เป็นเป้าหมายได้ง่าย เพียงแค่ยกโทรศัพท์แล้วกดโทร. หาเป้าหมาย โดยบรรดาผู้ค้าประกันก็ได้เบอร์โทรศัพท์เรา ๆ ท่าน ๆ มาจากธนาคารนั่นแหละครับ
ถามว่าได้ไปตอนไหน ก็ตอนที่ทำบัตรเครดิตหรือบัตรกดเงินสดยังไงล่ะครับ เพราะในสัญญาการทำบัตรเครดิตทางสถาบันการเงินมักจะอาศัยช่องโหว่ที่คนไม่รู้ หรือคนไม่ได้อ่านสัญญาอย่างละเอียดถี่ถ้วนเซ็นในช่องยินยอมเปิดเผยข้อมูลเครดิตและข้อมูลส่วนตัว เช่น เบอร์มือถือ อีเมลแก่บริษัทและพันธมิตรในเครือ เพื่อนำเสนอบริการและโปรโมรชั่นต่าง ๆ พูดง่าย ๆ ก็กึ่ง ๆ บังคับนั่นแหละครับ แต่ถึงแม้ว่ากลุ่มคนเหล่านั้นจะโทร. มา เราก็มีวิธีจับสังเกตในกรณีที่ตัวแทนบริษัทประกัน โทรมาเพื่อหวังจะหว่านล้อมให้คุณทำประกันกับพวกเขามาฝาก
1. โทร. มา แล้วบอกว่าเป็นบริการเสริมจากบัตรเครดิต (สำหรับคนที่มีบัตรเครดิตหรือบัตรเดรบิตเท่านั้น) มีข้อแนะนำคือให้โทรกลับไปเช็กที่ธนาคารเจ้าของบัตรว่าเป็นของธนาคารติดต่อมาเองหรือไม่ ถ้าไม่ใช่ก็ให้คุณร้องเรียนกับธนาคารเพื่อขอให้ธนาคารตรวจสอบได้เลย
2. โทร. มาบอกว่าคุณเป็นลูกค้า VIP, ลูกค้าแพลตินัม, ลูกค้าประวัติดี หรือ คุณเป็นผู้โชคดี ต่าง ๆ นานา แล้วแต่จะสรรหาคำที่วิเศษเลิศเลอมาพูดให้เคลิ้ม คำแนะนำคือเราต้องมีสติอยู่ตลอดเวลา ให้ฟังดี ๆ ตั้งใจฟัง แล้วจะรู้ว่าจริง ๆ คนเหล่านั้นต้องการขายประกัน !
3. โทร. มาทำเหมือนแกล้งคอนเฟิร์มการเปิดใช้งานบัตรเครดิต (สำหรับคนที่มีบัตรเครดิตใหม่, หรือใบใหม่) ทำทีเหมือนเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคาร ซึ่งถ้าเราไม่ถามหรือทักท้วงอะไรเค้าก็จะอนุมานไปว่าเราไปตอบตกลงเขาโดยอัตโนมัติ แล้วก็อธิบายผลประโยชน์โน้นนี่ยืดยาว 3 วัน 7 วัน ก็ไม่จบ แนะนำให้ถามให้ชัดเจนเลยว่าโทร. มาจากที่ไหนแล้วก็ขอข้อมูลผลิตภัณฑ์รวมถึงรายละเอียดที่ใช้เป็นหลักฐานในการร้องเรียนได้ในกรณีที่เหตุการณ์เริ่มไม่ชอบมาพากล จากนั้นให้ทำตามข้อ 1 คือการโทร. ไปแจ้งธนาคาร ร้องเรียนและให้ธนาคารช่วยตรวจสอบข้อเท็จจริง
1. คุณต้องถามให้ชัดเจนว่าโทร. มาจาก "ธนาคาร" หรือ "บริษัทประกัน"
2. ให้ถามชื่อ - นามสกุล และเบอร์ติดต่อ ชื่อบริษัท โดยเฉพาะส่วนที่สำคัญที่สุด คือ รหัสตัวแทน (รหัสใบอนุญาตของคนขาย) ของผู้ที่นำเสนอขายประกันให้เรา อย่าลืมจดไว้ให้ละเอียดเพื่อประโยชน์ในอนาคต ถ้าเป็นไปได้ให้บันทึกการสนทนาไปด้วยจะดีที่สุด เพราะบรรดาตัวแทนบริษัทประกันจะกลัวการถูกบันทึกการสนทนากรณีที่โทร. มาเพื่อหว่านล้อมให้เราทำประกันชีวิตด้วย เนื่องจากข้อมูลเหล่านี้เราสามารถโทร. ไปขอตรวจสอบได้ที่ คปภ. (สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย) แล้วถ้าถูกร้องเรียนบ่อยเสียจนขึ้นไปอยู่ในแบล็กลิสต์แล้วละก็ มีสิทธิ์โดนปิดบริษัทได้เลยนะครับ ดังนั้นเราต้องช่วยกันเป็นหูเป็นตา ช่วยกันทำในสิ่งที่ถูกต้อง เพื่อที่คนที่เอาเปรียบคนอื่นจะได้ไม่สามารถไปทำแบบนี้กับคนอื่นอีก
* ช่องทางในการร้องเรียน
1. บริการสายด่วนประกันภัย (คปภ.) 1186
2. บริการข้อมูลข่าวสารทางอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย โดยตรงก็ที่ คปภ.
3. ติดต่อ คปภ. สำนักงานใหญ่โดยตรงที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย 22/79 ถนนรัชดาภิเษก แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 โทร. 0-2515-3999
นอกจากนี้ยังมีคำพูด "ต้องห้าม" ในกรณีที่ตัวแทนบริษัทประกันโทร. หาคุณ ถ้าคุณไม่อยากตกเป็นเหยื่อของตัวแทนบริษัทประกันหน้าเลือดแล้วละก็ ทำตามนี้เลย
1. ห้ามพูดคำว่า "ตกลง" หรือ " สนใจทำ" หรือ " ทำ " เด็ดขาด เพราะคำเหล่านี้จะเป็นหลักฐานยืนยันว่าคุณได้ทำประกันไปจริง ๆ แนะนำให้พูดว่า " ไม่เอา , ไม่ทำ , ไม่สนใจ, ไม่ต้องโทร. มาแล้ว และวางสายทันทีไม่ต้องคุยอะไรอีก
2. ห้ามพูดคำว่า "ให้ส่งเอกสารมาให้ดูก่อน" หรือ "ขอดูรายละเอียดก่อน"
เพราะจะเข้าทางทันที คนที่โทร. มาจะหลอกให้คุณตอบตกลงทำประกัน
จากนั้นก็จะตัดเงินในบัตรเครดิต , บัตรเดบิต หรือให้โอนเงินให้ทันที
1. ถ้าได้รับการติดต่อภายในวันนั้น ให้ติดต่อกลับไปแจ้งทันทีว่าไม่ทำ และให้ถามเลยว่าตัดเงินจากบัตรไปแล้วหรือยัง ถ้ายังไม่ได้ตัดเงินจากบัตรก็โชคดีไป แต่ถ้าตัดเงินจากบัตรไปแล้วอาจไม่ได้คืนหรือได้คืนก็ช้ามากประมาณ 1 เดือน (แล้วแต่วิธีที่ตกลงกัน)
2. ในกรณีที่ผู้เอาประกันตกลงซื้อประกันผ่านทางโทรศัพท์ แล้วผู้เอาประกันที่ต้องการจะขอยกเลิกกรมธรรม์ประกันชีวิตสามารถแจ้งบริษัทประกันเป็นลายลักษณ์อักษรพร้อมแนบกรมธรรม์ประกันชีวิต และส่งไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงบริษัทที่รับประกันภัย ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับกรมธรรม์ประกันชีวิต โดยผู้เสียหายจะได้รับเบี้ยประกันที่จ่ายไปทั้งหมดคืน
ประกันชีวิตใช่ว่าจะเป็นเรื่องที่น่าขยาดอย่างที่หลายคนเข้าใจ ถ้าหากใครมีเวลาไปศึกษาดูจะพบว่าสิทธิประโยชน์ในประกันชีวิตก็มีมากโขอยู่ แต่ทั้งนี้ก็มีกลุ่มคนบางกลุ่มที่มุ่งหวังเพียงแต่เรื่องการทำยอดแต่เพียงอย่างเดียว จึงได้ใช้ช่องทางอันไม่ซื่อไปหากินบนความไม่รู้ของผู้อื่น ดังนั้นทางเดียวที่จะหยุดวงจรนี่คือทุกคนต้องช่วยกันเป็นหูเป็นตาและรายงานพฤติกรรมดังกล่าวของคนกลุ่มนี้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อให้ดำเนินการเอาผิด
แต่ทั้งนี้สิ่งที่สำคัญที่สุดในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการถูกหลอกให้ทำประกันก็คือ "สติ" ถ้าเราใช้สติและวิจารณญาณไตร่ตรองคำพูดของคนที่โทร. มาชักชวนหรือเสนอขายผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต เราจะเห็นได้ชัดว่าใครหลอกลวงหรือใครจริงใจ ดังนั้นก่อนจะตัดสินใจทำประกันไม่ว่าจะชนิดใด ขอให้ทุกคนมีสติกันให้มาก ๆ นะครับ