เตรียมตัวสัมภาษณ์งานให้เต็มที่ พร้อมได้อย่างนี้รับรองไม่มีพลาด ต่อให้เป็นเด็กจบใหม่ก็สบายใจหายห่วง
สำหรับคนที่เคยผ่านการทำงานมาบ้างแล้ว ให้ตอบคำถามนี้แนว ๆ ว่า
อยากหาประสบการณ์ใหม่ ต้องการพัฒนาตัวเองไปอีกขั้น และค่อนข้างเชื่อมั่นว่า
งานในตำแหน่งที่สมัครกับบริษัทนี้น่าจะเป็นอะไรที่เหมาะกับเรามากกว่า
และที่สำคัญคืออย่าพูดถึงบริษัทเดิมของคุณในเชิงลบ
หรือบอกว่าบริษัทเก่าไม่ดีอย่างนั้น อย่างนี้เด็ดขาด
ไม่งั้นคุณอาจไม่ได้งานใหม่แน่ ๆ
4. รู้ไหมว่าตำแหน่งงานที่คุณสมัครต้องรับผิดชอบอะไรบ้าง
นี่คือคำถามที่คุณต้องศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งงานและข้อมูลโดยรวมของบริษัทไว้ให้ดี และพยายามตอบคำถามอย่างชัดถ้อยชัดคำ กระชับ ได้ใจความ ทว่าอย่าตอบคำถามด้วยความมั่นใจในตัวเองแบบผิด ๆ เช่น ได้ข่าวมาว่าบริษักำลังต้องการคนทำงานในตำแหน่งนี้ด่วนมาก และเชื่อว่าประสบการณ์และความรู้ที่มีอยู่จะช่วยบริษัทนี้ได้
แน่นอนว่าการทำงานต่างจากการเรียนในรั้วมหาวิทยาลัยลิบลับ ฉะนั้นความกดดันจึงเป็นสิ่งสามัญที่คนทำงานทุกคนต้องเจอ และหากต้องตอบคำถามนี้ แนะนำให้ตอบอย่างมั่นใจไปเลยว่า คิดไว้อยู่แล้วว่าการทำงานจะไม่เหมือนการเรียน ดังนั้นจึงเตรียมตัวเตรียมใจมาเจอกับความกดดันอย่างเต็มที่แล้ว แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือ เราเองก็ต้องทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ และพยายามมองทุกอย่างให้เป็นบวกเสมอ ถ้าทำได้แบบนี้ก็ไม่น่าต้องเจอกับความกดดันมากมายนัก
6. มีแผนอยากทำอะไรบ้างในอนาคต
คำถามนี้ส่วนมากต้องการวัดว่า คุณมีเป้าหมายในชีวิตไปในทางไหน เช่น คุณมีแผนที่จะเรียนต่อหรือเปล่า หรือคิดจะทำธุรกิจของตัวเองในอนาคตไหม เพราะเกือบทุกบริษัทย่อมต้องการคนทำงานให้กับบริษัทในระยะยาว ดังนั้นสิ่งที่ควรตอบออกไปก็คือ อยากมีงานประจำที่มั่นคงก่อนในตอนนี้ และคิดว่าจะสร้างตัวเองจากงานที่ชอบและถนัดต่อไปเรื่อย ๆ
7. ทำไมบริษัทถึงต้องเลือกคุณ
คำถามข้อนี้ก็เหมือนถามว่าเรามีจุดเด่นอะไรบ้างนั่นแหละค่ะ ดังนั้นตอบเสียงดังฟังชัดแบบกระชับได้ใจความไปเลยว่า อย่างแรกเลยคือความตั้งใจในการทำงาน และโดยส่วนตัวก็อยากทำงานในสายนี้มานานแล้ว คิดว่าเมื่อได้ทำในสิ่งที่รักก็คงทำงานออกมาได้ดี ที่สำคัญเป็นคนที่ชอบความยากและท้าทาย เพราะเป็นคนที่ชอบทุ่มเทความสามารถของตัวเองกับสิ่งที่ได้รับมอบหมายมาด้วย
8. จุดอ่อนของคุณคืออะไร
ควรตอบคำถามนี้ด้วยความเป็นจริง และควรเลือกตอบคำถามแบบไม่ทำร้ายตัวเองด้วย เช่น เลือกจุดอ่อนที่สามารถปรับปรุงและพัฒนาได้อย่างบอกไปว่ามีพื้นฐานภาษาอังกฤษค่อนข้างต่ำ และตอนนี้กำลังเรียนทักษะภาษาอังกฤษเสริมอยู่ เป็นต้น
9. คุณมีปัญหากับการทำงานล่วงเวลาหรือต้องออกต่างจังหวัดหรือไม่
บางบริษัทอาจจำเป็นต้องให้พนักงานทำงานล่วงเวลาหรือออกไปทำงานนอกสถานที่บ้าง ซึ่งหากคุณทราบอยู่แล้วและไม่มีปัญหาในเรื่องนี้ก็ควรตอบไปตามความจริงเลย หรืออาจจะเสริมให้ดูดีอีกนิดหน่อยว่า คุณมีความพร้อมเสมอกับการทำงานล่วงเวลา เพราะงานต้องมาก่อนสิ่งใด
10. คุณเคยมีปัญหากับเพื่อนร่วมงานหรือเพื่อนในวัยเรียนบ้างไหม
จะตอบว่าไม่เคยมีปัญหากับใครเลยคงจะดูเฟคไปหน่อย ฉะนั้นข้อนี้คุณควรตอบประมาณว่า เคยมีปัญหาในเรื่องของความเข้าใจผิดมาบ้าง แต่ส่วนมากจะจบลงด้วยดี เพราะสามารถจัดการปัญหาได้ด้วยการปรับความเข้าใจ โต ๆ กันแล้วมีอะไรไม่เข้าใจก็ควรต้องคุยกันด้วยเหตุและผล
11. สมัครงานไปกี่ที่แล้ว
คุณควรตอบคำถามนี้ตามความเป็นจริง แต่ต้องเน้นพูดถึงความสนใจกับตำแหน่งงานของบริษัทที่กำลังสัมภาษณ์เป็นส่วนใหญ่ โดยอาจจะตอบก็ได้ว่า ลองหว่านใบสมัครไปหลายที่อยู่ แต่อยากร่วมงานกับที่นี่มากที่สุด เพราะเป็นสายงานตามความสนใจ
12. เงินเดือนที่ต้องการ
แนะนำให้ลองสืบฐานเงินเดือนในตำแหน่งที่สมัครจากที่อื่นเยอะ ๆ รวมถึงดูภาพรวมของบริษัทไว้ด้วยว่า อัตราเงินเดือนมาตรฐานเริ่มต้นที่เท่าไร และอาจเรียกเงินเดือนเป็นระดับช่วงเงินเดือนไป ดีกว่าระบุตัวเลขที่ตายตัว
13. คุณมีอะไรจะถามไหม
คำถามสุดท้ายนี้เปิดกว้างให้คุณถามในเรื่องที่สงสัยได้เลย โดยคุณอาจจะถามไปว่า ตำแหน่งงานที่สมัครอยู่ในโครงสร้างใดของบริษัท เวลาทำงานปกติของบริษัทคือวันและเวลาไหนบ้าง และทางบริษัทมีเป้าหมายเกี่ยวกับตำแหน่งนี้ในแนวทางใด เพื่อที่จะได้ปฏิบัติหน้าที่ได้ถูกต้องเหมาะสม
และสำหรับคนที่คิดว่าต้องเจอกับการสัมภาษณ์งานภาษาอังกฤษ อาจต้องเตรียมตัวฝึกภาษาติดตัวไปด้วย โดยเราก็มีแนวทางการสัมภาษณ์งานภาษาอังกฤษ มาฝากด้วยค่ะ
อย่างไรก็ดี ก่อนจะไปสัมภาษณ์งาน คุณควรต้องเตรียมพร้อมตั้งแต่การแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย เตรียมเอกสารการสมัครงานให้ครบถ้วน และอย่าลืมพกความมั่นใจในการตอบคำถามสัมภาษณ์งานไปด้วยนะคะ
สำหรับคนที่เพิ่งโบกมือลารั้วมหาวิทยาลัยมาไม่นาน
อาจยังนึกไม่ออกว่าการสัมภาษณ์งานสนามจริงนั้นเป็นยังไง
หรือต้องเจอกับคำถามประเมินทักษะ ความคิด และอีคิวแบบไหนกันบ้าง เอาล่ะ !
อย่ามัวแต่เดาให้เสียเวลา มาดูตัวอย่างการสัมภาษณ์งานฉบับคร่าว ๆ ที่เรานำมาให้เตรียมตัวกันเลย
1. ทักทาย เล่าประวัติของตัวเอง
ด่านแรกที่ต้องเจอแน่ ๆ คงไม่พ้นการทักทาย และแนะนำตัวเองแบบสั้น ๆ ประมาณ 2-3 นาทีก็พอ โดยเน้นประวัติการศึกษา และจุดเด่นด้านนิสัยใจคอที่ตัวเองเป็น เช่น เป็นคนมีมนุษยสัมพันธ์ดี เข้ากับคนอื่นได้ง่าย มีนิสัยยืดหยุ่นสบาย ๆ และชอบการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ เป็นต้น
2. ทำไมถึงเลือกสมัครตำแหน่งนี้
หลังจากทักทายกันพอหอมปากหอมคอ คำถามถัดมาอาจเป็นความสนใจเกี่ยวกับตำแหน่งงานที่คุณสมัคร ซึ่งหากเจอคำถามเช่นนี้ คุณอาจตอบแนว ๆ เลือกตำแหน่งนี้เพราะตรงกับสายที่เรียนมา หรือถ้าตำแหน่งงานไม่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่จบมา อาจตอบเลี่ยงไปก็ได้ว่า ขอบเขตของงานในตำแหน่งนี้น่าสนใจ รวมไปถึงคิดว่าลักษณะนิสัยและจุดเด่นที่ตัวคุณมีน่าจะเข้ากันได้ดีกับการทำงานตำแหน่งนี้
1. ทักทาย เล่าประวัติของตัวเอง
ด่านแรกที่ต้องเจอแน่ ๆ คงไม่พ้นการทักทาย และแนะนำตัวเองแบบสั้น ๆ ประมาณ 2-3 นาทีก็พอ โดยเน้นประวัติการศึกษา และจุดเด่นด้านนิสัยใจคอที่ตัวเองเป็น เช่น เป็นคนมีมนุษยสัมพันธ์ดี เข้ากับคนอื่นได้ง่าย มีนิสัยยืดหยุ่นสบาย ๆ และชอบการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ เป็นต้น
2. ทำไมถึงเลือกสมัครตำแหน่งนี้
หลังจากทักทายกันพอหอมปากหอมคอ คำถามถัดมาอาจเป็นความสนใจเกี่ยวกับตำแหน่งงานที่คุณสมัคร ซึ่งหากเจอคำถามเช่นนี้ คุณอาจตอบแนว ๆ เลือกตำแหน่งนี้เพราะตรงกับสายที่เรียนมา หรือถ้าตำแหน่งงานไม่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่จบมา อาจตอบเลี่ยงไปก็ได้ว่า ขอบเขตของงานในตำแหน่งนี้น่าสนใจ รวมไปถึงคิดว่าลักษณะนิสัยและจุดเด่นที่ตัวคุณมีน่าจะเข้ากันได้ดีกับการทำงานตำแหน่งนี้
3. ทำไมถึงลาออกจากที่ทำงานเก่า
4. รู้ไหมว่าตำแหน่งงานที่คุณสมัครต้องรับผิดชอบอะไรบ้าง
นี่คือคำถามที่คุณต้องศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งงานและข้อมูลโดยรวมของบริษัทไว้ให้ดี และพยายามตอบคำถามอย่างชัดถ้อยชัดคำ กระชับ ได้ใจความ ทว่าอย่าตอบคำถามด้วยความมั่นใจในตัวเองแบบผิด ๆ เช่น ได้ข่าวมาว่าบริษักำลังต้องการคนทำงานในตำแหน่งนี้ด่วนมาก และเชื่อว่าประสบการณ์และความรู้ที่มีอยู่จะช่วยบริษัทนี้ได้
5. รับมือกับความกดดันได้ดีแค่ไหน
แน่นอนว่าการทำงานต่างจากการเรียนในรั้วมหาวิทยาลัยลิบลับ ฉะนั้นความกดดันจึงเป็นสิ่งสามัญที่คนทำงานทุกคนต้องเจอ และหากต้องตอบคำถามนี้ แนะนำให้ตอบอย่างมั่นใจไปเลยว่า คิดไว้อยู่แล้วว่าการทำงานจะไม่เหมือนการเรียน ดังนั้นจึงเตรียมตัวเตรียมใจมาเจอกับความกดดันอย่างเต็มที่แล้ว แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือ เราเองก็ต้องทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ และพยายามมองทุกอย่างให้เป็นบวกเสมอ ถ้าทำได้แบบนี้ก็ไม่น่าต้องเจอกับความกดดันมากมายนัก
6. มีแผนอยากทำอะไรบ้างในอนาคต
คำถามนี้ส่วนมากต้องการวัดว่า คุณมีเป้าหมายในชีวิตไปในทางไหน เช่น คุณมีแผนที่จะเรียนต่อหรือเปล่า หรือคิดจะทำธุรกิจของตัวเองในอนาคตไหม เพราะเกือบทุกบริษัทย่อมต้องการคนทำงานให้กับบริษัทในระยะยาว ดังนั้นสิ่งที่ควรตอบออกไปก็คือ อยากมีงานประจำที่มั่นคงก่อนในตอนนี้ และคิดว่าจะสร้างตัวเองจากงานที่ชอบและถนัดต่อไปเรื่อย ๆ
7. ทำไมบริษัทถึงต้องเลือกคุณ
คำถามข้อนี้ก็เหมือนถามว่าเรามีจุดเด่นอะไรบ้างนั่นแหละค่ะ ดังนั้นตอบเสียงดังฟังชัดแบบกระชับได้ใจความไปเลยว่า อย่างแรกเลยคือความตั้งใจในการทำงาน และโดยส่วนตัวก็อยากทำงานในสายนี้มานานแล้ว คิดว่าเมื่อได้ทำในสิ่งที่รักก็คงทำงานออกมาได้ดี ที่สำคัญเป็นคนที่ชอบความยากและท้าทาย เพราะเป็นคนที่ชอบทุ่มเทความสามารถของตัวเองกับสิ่งที่ได้รับมอบหมายมาด้วย
8. จุดอ่อนของคุณคืออะไร
ควรตอบคำถามนี้ด้วยความเป็นจริง และควรเลือกตอบคำถามแบบไม่ทำร้ายตัวเองด้วย เช่น เลือกจุดอ่อนที่สามารถปรับปรุงและพัฒนาได้อย่างบอกไปว่ามีพื้นฐานภาษาอังกฤษค่อนข้างต่ำ และตอนนี้กำลังเรียนทักษะภาษาอังกฤษเสริมอยู่ เป็นต้น
9. คุณมีปัญหากับการทำงานล่วงเวลาหรือต้องออกต่างจังหวัดหรือไม่
บางบริษัทอาจจำเป็นต้องให้พนักงานทำงานล่วงเวลาหรือออกไปทำงานนอกสถานที่บ้าง ซึ่งหากคุณทราบอยู่แล้วและไม่มีปัญหาในเรื่องนี้ก็ควรตอบไปตามความจริงเลย หรืออาจจะเสริมให้ดูดีอีกนิดหน่อยว่า คุณมีความพร้อมเสมอกับการทำงานล่วงเวลา เพราะงานต้องมาก่อนสิ่งใด
10. คุณเคยมีปัญหากับเพื่อนร่วมงานหรือเพื่อนในวัยเรียนบ้างไหม
จะตอบว่าไม่เคยมีปัญหากับใครเลยคงจะดูเฟคไปหน่อย ฉะนั้นข้อนี้คุณควรตอบประมาณว่า เคยมีปัญหาในเรื่องของความเข้าใจผิดมาบ้าง แต่ส่วนมากจะจบลงด้วยดี เพราะสามารถจัดการปัญหาได้ด้วยการปรับความเข้าใจ โต ๆ กันแล้วมีอะไรไม่เข้าใจก็ควรต้องคุยกันด้วยเหตุและผล
11. สมัครงานไปกี่ที่แล้ว
คุณควรตอบคำถามนี้ตามความเป็นจริง แต่ต้องเน้นพูดถึงความสนใจกับตำแหน่งงานของบริษัทที่กำลังสัมภาษณ์เป็นส่วนใหญ่ โดยอาจจะตอบก็ได้ว่า ลองหว่านใบสมัครไปหลายที่อยู่ แต่อยากร่วมงานกับที่นี่มากที่สุด เพราะเป็นสายงานตามความสนใจ
12. เงินเดือนที่ต้องการ
แนะนำให้ลองสืบฐานเงินเดือนในตำแหน่งที่สมัครจากที่อื่นเยอะ ๆ รวมถึงดูภาพรวมของบริษัทไว้ด้วยว่า อัตราเงินเดือนมาตรฐานเริ่มต้นที่เท่าไร และอาจเรียกเงินเดือนเป็นระดับช่วงเงินเดือนไป ดีกว่าระบุตัวเลขที่ตายตัว
13. คุณมีอะไรจะถามไหม
คำถามสุดท้ายนี้เปิดกว้างให้คุณถามในเรื่องที่สงสัยได้เลย โดยคุณอาจจะถามไปว่า ตำแหน่งงานที่สมัครอยู่ในโครงสร้างใดของบริษัท เวลาทำงานปกติของบริษัทคือวันและเวลาไหนบ้าง และทางบริษัทมีเป้าหมายเกี่ยวกับตำแหน่งนี้ในแนวทางใด เพื่อที่จะได้ปฏิบัติหน้าที่ได้ถูกต้องเหมาะสม
และสำหรับคนที่คิดว่าต้องเจอกับการสัมภาษณ์งานภาษาอังกฤษ อาจต้องเตรียมตัวฝึกภาษาติดตัวไปด้วย โดยเราก็มีแนวทางการสัมภาษณ์งานภาษาอังกฤษ มาฝากด้วยค่ะ
อย่างไรก็ดี ก่อนจะไปสัมภาษณ์งาน คุณควรต้องเตรียมพร้อมตั้งแต่การแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย เตรียมเอกสารการสมัครงานให้ครบถ้วน และอย่าลืมพกความมั่นใจในการตอบคำถามสัมภาษณ์งานไปด้วยนะคะ