วิธีออมเงิน จากหลักพันให้เป็นหลักล้านทำอย่างไร และเป็นไปได้จริงหรือไม่ที่เงินหลักพันจะกลายเป็นหลักล้านด้วยวิธีการเพียงแค่ 3 วิธี ทุกข้อสงสัย กระปุกดอทคอมมีคำตอบ
การออมเงินเป็นหนึ่งในวิธีการที่ทำให้เรามีสถานะทางการเงินที่มั่นคงและเป็นหลักประกันในการใช้จ่ายในอนาคต และยังเป็นวิธีที่จะทำให้เงินของเรางอกเงยได้อีกด้วย จากการที่เรานำเงินไปฝากกับธนาคารที่ให้ดอกเบี้ยสูง แต่ลองคิดดูว่ากว่าที่เงินเราจะงอกเงยได้ถึงจุดที่เรียกได้ว่า มั่งคั่ง ก็ต้องใช้เวลานาน หรือแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยกับการหวังผลตอบแทนจากการฝากเงิน ถ้าเราไม่ได้มีเงินหลักล้านขึ้นไป
แล้วเราจะมีวิธีการออมเงินอย่างไรให้ได้รับผลประโยชน์สูงที่สุด ในกรณีเรามีเงินอยู่ในมือเพียงแค่หลักพันบาท ! กระปุกดอทคอมไปเจอบทความที่น่าสนใจจากนิตยสาร lemonade เกี่ยวกับการออมเงินจากหลักพันสู่หลักล้าน โดยคุณกิติชัย เตชะงามเลิศ ผู้เขียนหนังสือออมจากน้อยเป็นร้อยล้าน ฟังดูก็น่าสนใจแล้ว งั้นเราไปพบกับ 3 วิธีการออมเงินจากหลักพันให้เป็นหลักล้านกันเลย
1. ออมก่อนใช้
ไม่ว่าคุณจะมีรายได้เท่าใด นี่คือกฎข้อแรกที่จะนำไปสู่ความมั่งคั่ง เพราะหากใช้เงินแล้วค่อยออม รับรองว่าส่วนใหญ่จะใช้จนหมด ไม่เหลือออมแน่นอน ฉะนั้นเมื่อได้เงินเดือนควรเก็บเป็นเงินออมเสียก่อน เหลือเท่าไรค่อยใช้เท่านั้น !!
2. ออม ¼ ของเงินได้
"หากเงินเดือน 15,000 บาท ควรออมเงินให้ได้อย่างน้อยเดือนละ 3,000 บาท" เมื่อเงินเดือนสูงขึ้น สัดส่วนการออมก็ต้องสูงขึ้นตามด้วย
นอกจากนี้หากคุณมีเงินออมอยู่ประมาณ 100,000 บาท และมีรายได้เดือนละ 15,000 บาท อาจออมเงินในรูปแบบของการซื้ออสังหาริมทรัพย์ เช่น คอนโดทำเลดีที่มีราคาไม่เกิน 1 ล้านบาท
ตัวอย่าง เมื่อตกลงซื้อคอนโดราคา 1 ล้านบาท คุณต้องชำระเงิน ดังนี้
เงินจอง 10,000 บาท
เงินทำสัญญา 30,000 บาท
ผ่อนดาวน์ 11 งวด โดยแบ่งจ่ายงวดละ 7,000 บาท เป็นเวลา 10 เดือน และจ่ายดาวน์งวดสุดท้ายอีก 70,000 บาท รวมชำระเงินดาวน์ทั้งสิ้น 180,000 บาท (รวมเงินจองและเงินทำสัญญา)
เหลือภาระกับธนาคาร 820,000 บาท (ผ่อนเดือนละประมาณ 6,000 บาท / สัญญาประมาณ 12 ปี)
A. ซื้อกองทุนรวมตราสารหนี้ระยะสั้น ที่มีความเสี่ยงต่ำ
ข้อดี
ผลตอบแทนมากกว่าฝากเงินธนาคาร และไม่ต้องเสียภาษี
ข้อเสีย
1.หากต้องการใช้เงิน ไม่สามารถถอนเงินได้ทันที จะต้องขายหน่วยลงทุนก่อนได้เงินในวันรุ่งขึ้น
2.กำหนดจำนวนเงินขั้นต่ำในการซื้อกองทุน
เงินที่ได้รับคือ ราคา NAV (มูลค่าสินทรัพย์สุทธิต่อหน่วยลงทุนของวันนั้น)
B. ฝากบัญชี
ข้อดี
1.ฝาก-ถอนเมื่อใดก็ได้
2.ไม่มีขั้นต่ำในการฝากเงิน
ข้อเสีย
ดอกเบี้ยไม่สูง และต้องเสียภาษี 15 เปอร์เซ็นต์ในกรณีที่ได้รับดอกเบี้ยมากกว่าปีละ 20,000 บาท
ที่มาของดอกผลจากการลงทุน...
ปีละ 3-3.5% เลือกลงทุนในกองทุนตราสารหนี้แบบไม่ปันผล มีความเสี่ยง 20 เปอร์เซ็นต์ ได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง หุ้นกู้
ปีละ 5-7% เลือกกองทุนในกองทุนอลังหาริมทรัพย์ ซึ่งมี 2 รูปแบบ คือ
1. แบบ Lease Hold ลงทุนแบบเซ้งระยะยาว 30 ปี ผลตอบแทนระยะแรกสูง แต่ราคาจะตกลงเรื่อย ๆ เมื่อใกล้ครบกำหนดขาย
2. แบบ Free Hold ลงทุนแบบซื้อขาด ผลตอบแทนระยะแรกไม่ค่อยสูง แต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อใกล้ครบกำหนดขาย เพราะราคาที่ดินปรับขึ้นทุกปี
ปีละ 18-20% เลือกลงทุนในกองทุนตราสารทุน (กองทุนหุ้น) มีความเสี่ยง 60-70 เปอร์เซ็นต์ แต่ให้ผลตอบแทนสูง
"ยิ่งออมเร็ว ยิ่งรวยเร็ว ยิ่งสบายเร็ว" กับ 9 รูปแบบเงินงอกเงยหลักล้าน
1. ออมเงินปีละ 50,000 บาท
หรือเดือนละ 3,000 บาท เมื่อรวมกับดอกผลจากการลงทุนปีละ 3% ครบ 30 ปี จะมีเงินเก็บ 2,411,479 บาท
2. ออมเงินปีละ 100,000 บาท
หรือเดือนละประมาณ 8,333 บาท เมื่อรวมกับดอกผลจากการลงทุนปีละ 3% ครบ 30 ปีจะมีเงินเก็บ 4,822,958 บาท
3. ออมเงินขั้นบันได
ปีที่ 1-5 ปีละ 100,000 บาท
ปีที่ 6-10 ปีละ 150,000 บาท
ปีที่ 11-15 ปีละ 200,000 บาท
ปีที่ 16-20 ปีละ 250,000 บาท
ปีที่ 21-25 ปีละ 300,000 บาท
ปีที่ 26-30 ปีละ 350,000 บาท
เมื่อรวมกับดอกผลจากการลงทุนปีละ 3% ครบ 30 ปีจะมีเงินเก็บ 9,825,893 บาท
4. ออมเงินปีละ 100,000 บาท
เมื่อรวมกับดอกผลจากการลงทุนปี 10% ครบ 30 ปีจะมีเงินเก็บ 17,203,333 บาท
5. ออมเงินขั้นบันได
ปีที่ 1-5 ปีละ 100,000 บาท
ปีที่ 6-10 ปีละ 150,000 บาท
ปีที่ 11-15 ปีละ 200,000 บาท
ปีที่ 16-20 ปีละ 250,000 บาท
ปีที่ 21-25 ปีละ 300,000 บาท
ปีที่ 26-30 ปีละ 350,000 บาท
เมื่อรวมกับดอกผลจากการลงทุนปีละ 10% ครบ 30 ปีจะมีเงินเก็บ 28,155,146 บาท
6. ออมเงินปีละ 100,000 บาท
เมื่อรวมกับดอกผลจากการลงทุนปีละ 18-20% ครบ 30 ปีจะมีเงิน 90,858,341 บาท
7. ออมเงินขั้นบันได
ปีที่ 1-5 ปีละ 100,000 บาท
ปีที่ 6-10 ปีละ 150,000 บาท
ปีที่ 11-15 ปีละ 200,000 บาท
ปีที่ 16-20 ปีละ 250,000 บาท
ปีที่ 21-25 ปีละ 300,000 บาท
ปีที่ 26-30 ปีละ 350,000 บาท
เมื่อรวมกับดอกผลจากการลงทุนปีละ 18-20% ครบ 30 ปีจะมีเงินเก็บ 123,601,022 บาท
8. ออมเงินปีละ 100,000 บาท
เมื่อรวมกับดอกผลจากการลงทุนปีละ 20% ครบ 30 ปีจะมีเงิน 129,022,071 บาท
9. ออมเงินบันได
ปีที่ 1-5 ปีละ 100,000 บาท
ปีที่ 6-10 ปีละ 150,000 บาท
ปีที่ 11-15 ปีละ 200,000 บาท
ปีที่ 16-20 ปีละ 250,000 บาท
ปีที่ 21-25 ปีละ 300,000 บาท
ปีที่ 26-30 ปีละ 350,000 บาท
เมื่อรวมกับดอกผลจากการลงทุนปีละ 20% ครบ 30 ปีจะมีเงินเก็บ 170,729,440 บาท
การวางแผนการออมเงินอย่างเป็นระบบทำให้เราเห็นภาพของเม็ดเงินในอนาคตได้ชัดเจนมากขึ้น ยิ่งถ้าเราสามารถบริหารจัดการค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนโดยพิจารณาให้ความสำคัญเฉพาะรายจ่ายที่จำเป็นและตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป ก็จะยิ่งทำให้เรามีเงินเหลือเก็บในแต่ละเดือนมากขึ้นและขยับเข้าใกล้คำว่า มั่งคั่ง ได้เร็วขึ้น การที่เรารู้จักประหยัดอดออมถือว่าเป็นสิ่งดีแล้ว แต่จะดีกว่าไหมถ้าเราเพิ่มทางเลือกในการออมให้หลากหลายเพื่อให้เงินของเรางอกเงยเป็นทวีคูณ ลองนำไปปรับใช้กับการออมในชีวิตประจำวันดูนะครับ แล้วจะรู้ว่าการมีเงินล้านไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
นิตยสาร lemonade
โดย คุณกิติชัย เตชะงามเลิศ