
คนร. เห็นชอบปฏิรูป ขสมก. จ่อยกเลิกบริหารเส้นทางรถเมล์ แก้ขาดทุน
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
คณะกรรมการนโยบายกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (คนร.) มีนโยบายปฏิรูป องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เตรียมยกเลิกบริหารเส้นทางรถเมล์ และยกให้เป็นหน้าที่ของกรมการขนส่งทางบกแทน เพื่อลดปัญหาการขาดทุนสะสม
วานนี้ (26 มกราคม 2558) พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (คนร.) หรือซูเปอร์บอร์ด เพื่อพิจารณาอนุมัติโครงการลงทุนของรัฐวิสาหกิจที่เข้าข่ายเป็นโครงการลงทุนขนาดใหญ่ ซึ่งมีมูลค่าการลงทุนเกิน 1 พันล้านบาท จำนวน 3 โครงการ ประกอบด้วย



ทั้งนี้ยังมีการพิจารณาถึงแผนการฟื้นฟูกิจการของรัฐวิสาหกิจด้านคมนาคมขนส่ง 3 แห่ง คือ การรถไฟแห่งประเทศไทย, องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) อีกด้วย
โดยในที่ประชุมได้ข้อสรุปออกมาว่า ที่ประชุมเห็นชอบแผนฟื้นฟู องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) คือ ให้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ มีการปรับปรุงโครงสร้างองค์กรและผู้บริหารให้สอดคล้องกับการทำงานและภารกิจ โดยกำหนดบทบาทให้ ขสมก.เป็นผู้ให้บริการเดินรถ ดังนั้นงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลจะโอนให้กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) เข้ามารับผิดชอบแทน แต่ในเรื่องของสัดส่วนการเดินรถและเส้นทางเดินรถต่าง ๆ จะให้สิทธิกับ ขสมก. มากกว่ารถร่วมบริการ
ขณะที่โครงการรถเมล์ฟรีที่มีการต่ออายุตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2557 ไปสิ้นสุด 31 มกราคม 2558 นั้นจะเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาปรับรูปแบบจำกัดการให้บริการฟรีเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อยและกลุ่มที่สมควรได้รับการสนับสนุนเพื่อให้มีผลบังคับใช้ได้ทันวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2558 เนื่องจากบริการรถไฟและรถเมล์ฟรีในปัจจุบัน ได้เปิดกว้างให้กับทุกคน รวมทั้งนักท่องเที่ยวก็มีสิทธิใช้บริการได้ แต่แนวทางใหม่จะจำกัดให้ตรงกลุ่มเป้าหมายเฉพาะผู้มีรายได้น้อยหรือกลุ่มที่สมควรได้รับการช่วยเหลือเท่านั้น ซึ่งจะช่วยรัฐบาลประหยัดงบประมาณได้ถึง 50%
ทั้งนี้โครงการรถเมล์ฟรีตามนโยบายของรัฐบาลได้ดำเนินมาตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2551 มีผู้ได้รับประโยชน์รวม 722 ล้านคน โดย ขสมก.จัดรถเมล์ฟรีให้บริการ 800 คัน คิดเป็นรายได้ที่รัฐบาลให้การสนับสนุนเดือนละ 255 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม แผนการฟื้นฟูดังกล่าวจะเป็นการลดต้นทุน ภาระหนี้สินสะสม และการขาดทุนของรัฐวิสาหกิจ เพื่อขยายผลกำไรและการบริการให้มีปะสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยรายละเอียดของแผนที่จะต้องใช้เงินงบประมาณจะต้องสรุปเพื่อเสนอขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
