การลงทุนในขณะที่อายุยังน้อย กับเรื่องน่ารู้ก่อนตัดสินใจ หากอยากเริ่มต้นลงทุนลองมาดูเหตุผลที่ควรทำตั้งแต่อายุยังน้อยกันค่ะ
การลงทุนในทุกอย่างล้วนเต็มไปด้วยความเสี่ยง
ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนด้วยเงินหรือด้วยเรื่องที่ไม่มีเม็ดเงินเข้ามาเกี่ยวข้องก็ตาม
ผลรับที่ได้กลับมาอาจเกินความคาดหมาย
หรือต่ำกว่าที่หวังไว้ก็เป็นไปได้ทุกกรณี
แต่ถึงอย่างนั้นเราก็เริ่มเห็นคนรุ่นใหม่ไฟแรงกล้าที่จะลงทุนกันมากขึ้น
และยิ่งมีคนประสบความสำเร็จกับการลงทุนในขณะที่ยังหนุ่มยังสาวให้เห็นเป็นตัวอย่าง
ก็ยิ่งเป็นแรงบันดาลใจให้หลายคนอยากก้าวไปยืนอยู่ตรงจุดนั้นบ้าง แต่ก่อนลงทุนเพื่อให้เป็นคนอายุน้อยร้อยล้าน
คงจะสร้างความมั่นใจให้คุณได้มากขึ้น หากได้ศึกษา 25
เรื่องน่ารู้กับการลงทุนในช่วงอายุน้อยทั้งหมดนี้ก่อน
เริ่มแรกหลายคนอาจลองลงทุนเบา ๆ กับการฝากเงินไว้ในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ไปก่อน ซึ่งก็คงไม่ได้ให้ผลกำไรกับคุณมากมายเท่าไร เพราะแม้จะมีดอกเบี้ยให้ได้เก็บอยู่บ้าง แต่ก็เป็นอัตราดอกเบี้ยที่น้อยนิดเหลือเกิน แถมบัญชีออมทรัพย์โดยทั่วไปก็คงมีการเบิก-ถอนอยู่เรื่อย ๆ และอาจไม่ได้เป็นเงินก้อนโตอะไรด้วย ทว่าหากเรารู้จักเก็บออมทีละเล็กละน้อยก็อาจพอมีเงินเก็บส่วนตัวไว้เป็นทุนสำรองเหมือนกัน
2. เก็บเงินกับบัญชีเงินฝากเกษียณ
โครงการบัญชีเงินฝากเกษียณในหลาย ๆ ธนาคารให้ดอกเบี้ยและผลประโยชน์ที่คุ้มค่ามากพอให้เรายอมลงทุนไม่น้อย ฉะนั้นลองศึกษาเงื่อนไขและข้อกำหนดของบัญชีเงินฝากเกษียณเหล่านี้บ้างคงดี
3. ภาวะเงินเฟ้อกับการลงทุน
อัตราภาวะเงินเฟ้อโดยปกติจะอยู่ที่ราว ๆ 3% ต่อปี ซึ่งในช่วงที่เกิดภาวะเงินเฟ้อจะมีช่องทางลงทุนมากขึ้น เช่น ทองคำ เป็นต้น ฉะนั้นหากต้องการลงทุนก็ไม่ควรพลาดโอกาสช่วงนี้
4. ความเสี่ยงของการลงทุน
5. การลงทุนกับหลักทรัพย์ทั่วไป
หลักทรัพย์และตราสารหนี้อย่างพวกหุ้น ธนบัตร ล้วนเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งของการลงทุน และเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงไม่มาก มีความสม่ำเสมอของผลกำไร อีกทั้งยังสามารถขายต่อได้แม้ยังไม่ครบกำหนดอายุของหลักทรัพย์
6. ลงทุนกับหุ้นต้องดูให้ดี
เมื่อคุณตัดสินใจซื้อหุ้น คุณจะได้ถือหุ้นเพียงเสี้ยวของเสี้ยวในบริษัทนั้น ๆ ทว่าคนที่ได้รับผลประโยชน์ไปเต็ม ๆ จะเป็นส่วนบริษัทเจ้าของหุ้นมากกว่า ฉะนั้นก็แปลได้ว่า การลงทุนกับหุ้น ผู้ลงทุนเป็นฝ่ายแบกรับความเสี่ยงที่มากกว่าอยู่แล้ว เพราะหุ้นนับเป็นการลงทุนที่หาความแน่นอนไม่ค่อยได้ วันดีคืนดีหุ้นอาจพุ่งพรวด เทขายได้กำไรกันรวยเละ แต่วันถัดมาหุ้นอาจดิ่งจนทำให้คุณขาดทุนก็ได้
7. เช็กแนวโน้มหุ้นก่อนตัดสินใจซื้อ
หุ้นเป็นการซื้อ-ขายในอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งแนวโน้มของหุ้นแต่ละตัวจะดีหรือดิ่งต้องดูจากการซื้อ-ขาย แลกเปลี่ยนกันในตลาดหุ้น โดยทุกวันจะมีการจัดอันดับหุ้นราคาดีให้เราได้เห็นในจอเทรดหุ้นของตลาดหุ้นอยู่แล้ว ทางที่ดีเราควรสำรวจตลาดหุ้นก่อนว่า แนวโน้มหุ้นตัวไหนน่าลงทุนด้วยมากที่สุด
8. เก็บดอกเบี้ยจากการซื้อขายพันธบัตร
เมื่อคุณตัดสินใจซื้อพันธบัตรที่ออกโดยรัฐบาล เท่ากับว่าคุณเป็นฝ่ายให้รัฐบาลกู้ยืมเงินตัวเองไป และนับจากนั้นก็รอให้ครบตามกำหนดเวลาในเงื่อนไขเพื่อรับอัตราดอกเบี้ยและผลตอบแทน แต่หากต้องการซื้อ-ขาย เปลี่ยนมือพันธบัตรก่อนครบเวลาไถ่ถอน ก็สามารถนำพันธบัตรไปขาย ณ ตลาดรองของธนาคารต่าง ๆ ได้ ซึ่งเรตราคาในการซื้อ-ขายพันธบัตรก็ขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจในช่วงเวลานั้น ๆ นับว่าการลงทุนกับพันธบัตรเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับนักลงทุนมือใหม่อยู่พอสมควร
9. กระจายการลงทุนให้ทั่วถึง
10. ผลตอบแทนจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับเงินทุน
การลงทุนจะให้ผลกำไรกับคุณมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับความกล้าเสี่ยง และเม็ดเงินที่ลงทุนลงไป ทว่านี่ก็อาจยังไม่ใช่ข้อสรุปที่แน่นอนสำหรับการลงทุนนัก เพราะมีกรณีที่ลงทุนน้อยแต่ได้ผลตอบแทนเป็นกอบเป็นกำเหมือนกัน ดังนั้นผลกำไรสุทธิของคุณจะคุ้มกับการลงทุนหรือไม่ ปัจจุบันก็มีการคำนวณผลตอบแทนการลงทุนหรือ ROI (Return on Investment) ออกมาเป็นเครื่องมือวัดผลกำไรที่ได้ให้ได้ลองพิสูจน์กันชัด ๆ ด้วยนะคะ
11. อย่าลืมคำนวณภาษี
12. หว่านโอกาสในกองทุนรวม
หลายคนใช้วิธีกระจายเงินทุนไปกับกองทุนดัชนีหรือกองทุนรวมอื่น ๆ ซึ่งก็เหมือนลงทุนไปในตลาดทุนใหญ่ ๆ ที่มีความแน่นอนของผลตอบแทนที่ใช้ได้ เหมือนมีคนคอยช่วยบริหารความเสี่ยงไปด้วยกัน โอกาสเจ็บกับการลงทุนรูปแบบนี้อาจต่ำกว่าการลงทุนในแบบอื่น ๆ
การลงทุนหลายอย่างสามารถช่วยลดหย่อนภาษีได้ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนทำประกันชีวิต (เลือกกรมธรรม์เงินออมด้วยก็จะดีมาก), การลงทุนกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ทางบริษัทจะช่วยสมทบเงินเข้าไปด้วย, การลงทุนกับกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF), กองทุนหุ้นระยะยาว (LTF) รวมทั้งการทำบุญบริจาคที่มีหลักฐานชัดเจน สถานะสมรสและการเลี้ยงดูบิดา-มารดา ก็สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน
14. มีความคิดสร้างสรรค์
มีเงินทุนมากมายแค่ไหนก็อาจไม่ช่วยให้เงินงอกเงยได้หากคุณขาดความคิดสร้างสรรค์ เพราะต้องยอมรับว่าตลาดตอนนี้ให้ความสำคัญกับไอเดียเจ๋ง ๆ มากกว่าเรื่องของราคาซะอีก ดังนั้นก้าวแรกของความสำเร็จในการลงทุนก็ต้องฉีกตัวเองให้แตกต่างจากตลาดโดยรวมซะก่อน
15. เริ่มลงทุนตั้งแต่ยังมีไฟ ยังไงก็ได้เปรียบ
16. ตะครุบหุ้นขายดีอาจไม่ใช่คำตอบสุดท้าย
หุ้นตัวเด็ด ๆ อาจไม่ใช่ตั๋วเดินทางสู่ความร่ำรวยของทุกคน ซึ่งนั่นก็อาจไม่ใช่คุณด้วยที่จะซื้อหุ้นราคาดีแล้วทำเงินได้พุ่งกระฉูด ฉะนั้นขอย้ำกันอีกครั้งว่า ก่อนตัดสินใจซื้อหุ้นควรพิจารณาสถานการณ์ของหุ้นให้ดี เสริมข้อมูลของบริษัทนั้นให้แน่นเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ และเพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่พลาด
17. จ้องความเคลื่อนไหวของหุ้นเท่าที่จำเป็น
หากคุณเป็นนักลงทุนระยะสั้น ต้องการซื้อ-ขายหุ้นแบบไม่หวังผลกำไรที่ยั่งยืน การจ้องจอเทรดหุ้นแทบตลอดเวลาอาจช่วยให้คุณเทขายหุ้นได้ถูกจังหวะ แต่สำหรับคนที่หวังยืนหยัดอยู่ในตลาดหุ้นแบบยิงยาว การจดจ่ออยู่กับหุ้นเกือบทุกนาทีอาจปั่นหัวให้คุณเครียดมากกว่าจะช่วยให้ซื้อ-ขายหุ้นได้กำไรงามก็ได้ เนื่องจากการพิจารณาซื้อ-ขายหุ้นแบบจริงจัง อาจต้องดูภาพรวมของสถานการณ์ของบริษัทเจ้าของหุ้นอย่างลึกซึ้งร่วมด้วย
18. อย่าลงทุนด้วยความรู้สึก
ในสนามธุรกิจต้องการความเด็ดขาดและการตัดสินใจที่ยึดเอาผลประโยชน์เป็นใหญ่ ดังนั้นหากคุณยังลงทุนอยู่กับหลักทรัพย์เก่าอันคุ้นเคยแต่เริ่มไม่ให้ผลตอบแทนอย่างที่ควรจะเป็นแล้ว ยอมตัดใจเทขายหลักทรัพย์เหล่านี้้เพื่อนำเงินไปต่อยอดในด้านอื่น ๆ ดีกว่า
19. ใส่ใจการขึ้น-ลงของหุ้นอย่างมีสติ
20. ต้องการเงินด่วน อย่าเสี่ยงกับหุ้น
ในกรณีที่ร้อนเงินและต้องการเงินก้อนอย่างปัจจุบันทันด่วนอย่าคิดจะมาเล่นหุ้นเลยค่ะ เพราะคงไม่มีใครดวงดีจับหุ้นได้ถูกตัว คืนกำไรให้การลงทุนแบบด่วนจี๋แน่ ๆ และในยามที่ร้อนรนอยากได้เงินแบบนี้ สติและสมาธิในการใคร่ครวญสถาการณ์ตลาดหุ้นของคุณอาจด้อยประสิทธิภาพลงไปด้วย
21. ไม่มีใครคาดเดาตลาดได้
เศรษฐกิจมีการผันผวนอยู่แทบทุกวินาที เป็นที่มาของคำว่า การลงทุนทุกชนิดมีความเสี่ยง ดังนั้นอย่าคาดหวังความแน่นอนในวงการนี้ และอย่าไปเชื่อคำทำนายทางธุรกิจจากใครด้วย เพราะคงไม่มีใครเดาเหตุการณ์ในอนาคตได้แน่
22. บทเรียนทางธุรกิจที่ผ่านไปอาจไม่ซ้ำรอย
บทเรียนในชีวิตยังพอนำกลับมาเป็นแนวทางในสถานการณ์ที่คล้ายกันได้ แต่กับเส้นทางการลงทุนและธุรกิจอาจไม่เป็นเช่นนั้น เนื่องจากมีปัจจัยหลายต่อหลายอย่างคอยผลักดันให้เศรษฐกิจเป็นไป และความเป็นไปที่ว่านั้นอาจไม่เคยซ้ำรอยเดิมเลยก็ได้ ฉะนั้นแม้จะเคยทำพลาดกับวิธีนี้มาเมื่อหลายปีก่อน แต่หากวันนี้ยังเลือกลงทุนในแบบเดิมก็อาจประสบผลสำเร็จอย่างงดงามก็ได้ ใครจะรู้
23. ต้องกล้ายอมรับว่าตัวเองโง่ในบางครั้ง
24. ควรมีผู้ช่วย
นอกจากทำงานใหญ่ใจต้องนิ่งแล้ว การจะก้าวไปเป็นผู้บริหารเงินก้อนโตก็ควรต้องมีคนคอยช่วยดูแลในหลาย ๆ ด้าน ทั้งที่ปรึกษาการลงทุนที่มีความรู้และประสบการณ์มากกว่า นักวางแผนการเงินที่อาจช่วยจัดการเงินของคุณได้อย่างคุ้มค่ามากกว่าเจ้าของเงินเอง หรือแม้แต่นักกฎหมายที่จะมาช่วยดูในเรื่องของเอกสารสัญญาต่าง ๆ ว่าให้ประโยชน์หรือโทษกับเรากันแน่ ฉะนั้นจะรวยได้ก็ต้องไม่หัวเดียวกระเทียมลีบนะคะ
25. เผื่อใจไว้เจ็บ
เมื่อเริ่มลงทุนก็เหมือนหย่อนเท้าก้าวเข้าไปในความเสี่ยงอย่างเต็มตัว ซึ่งก็ไม่มีใครบอกได้ว่า จังหวะการลงทุนของเราจะดีไปได้ตลอด เส้นทางนี้จะทำเงินให้คุณอย่างล้นเหลือหรือฝืดเคือง ดังนั้นหากเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ด้านขาดทุนไว้บ้างก็อาจช่วยป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นได้
ย้ำกันอีกครั้งว่าการลงทุนกับอะไรก็ตามควรต้องใช้ความคิดและเติมความรู้ให้แน่นก่อนตัดสินใจลงทุน รวมทั้งอย่าลงทุนกับสิ่งที่ใหญ่เกินตัว ค่อย ๆ เดินไปบนเส้นทางธุรกิจอย่างพอเพียงแต่เน้นกินอยู่กับมันยาว ๆ ไปจนกว่าจะสบโอกาสขยายธุรกิจก็น่าจะเวิร์กกว่านะคะ