ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2560 ปรับโครงสร้างครั้งนี้ช่วยเสียภาษีน้อยลง แต่มนุษย์เงินเดือนจะต้องเริ่มเสียภาษีที่เงินเดือนเท่าไรกัน ลองมาดู
มนุษย์เงินเดือนได้เฮกันดัง ๆ เมื่อคณะรัฐมนตรีไฟเขียวปรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2560 ซึ่งมีทั้งเพิ่มวงเงินหักค่าใช้จ่ายส่วนตัวเป็น 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท เพิ่มค่าลดหย่อนทั้งส่วนตัว คู่สมรส บุตร รวมทั้งปรับอัตราภาษีในช่วงอัตราร้อยละ 30-35 ที่จากเดิมมีรายได้สุทธิ 4,000,001 บาทขึ้นไปต้องเสียภาษี 35% ปรับเป็นต้องมีรายได้สุทธิ 5,000,001 บาทขึ้นไป (อ่านข่าว ปรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2560 ค่าลดหย่อนเพียบ เงินเดือน 26,000 ถึงเสียภาษี)
กรณีโสด หรือสมรสแต่แยกยื่นภาษี
- ใช้ค่าลดหย่อนส่วนตัวเพียงอย่างเดียว : จะต้องเริ่มเสียภาษีที่เงินเดือนมากกว่า 25,833 บาท
- มีบุตร 1 คน : จะต้องเริ่มเสียภาษีที่เงินเดือนมากกว่า 28,333 บาท
- มีบุตร 2 คน : จะต้องเริ่มเสียภาษีที่เงินเดือนมากกว่า 30,833 บาท
- มีบุตร 3 คน : จะต้องเริ่มเสียภาษีที่เงินเดือนมากกว่า 33,333 บาท
- มีบุตร 4 คน : จะต้องเริ่มเสียภาษีที่เงินเดือนมากกว่า 35,833 บาท
กรณีคู่สมรสมีเงินได้และรวมยื่นภาษี
- ใช้ค่าลดหย่อนส่วนตัวและคู่สมรสเพียงอย่างเดียว : จะต้องเริ่มเสียภาษีที่เงินเดือนมากกว่า 39,166 บาท
- มีบุตร 1 คน : จะต้องเริ่มเสียภาษีที่เงินเดือนมากกว่า 44,166 บาท
- มีบุตร 2 คน : จะต้องเริ่มเสียภาษีที่เงินเดือนมากกว่า 49,166 บาท
- มีบุตร 3 คน : จะต้องเริ่มเสียภาษีที่เงินเดือนมากกว่า 54,166 บาท
- มีบุตร 4 คน : จะต้องเริ่มเสียภาษีที่เงินเดือนมากกว่า 59,166 บาท
คราวนี้มาดูว่าสำหรับคนโสดที่มีเงินเดือนมากกวา 25,833 บาท จะต้องเสียภาษีประมาณเท่าไร (ในที่นี้คำนวณเบื้องต้นจากรายได้สุทธิโดยหักค่าใช้จ่ายส่วนตัวไม่เกิน 100,000 บาท และหักค่าลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้ 60,000 บาท)
ส่วนใครที่มีค่าลดหย่อนอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น ประกันชีวิต, กองทุน LTF-RMF, ค่าเลี้ยงดูบิดา-มารดา, เงินบริจาคต่าง ๆ ฯลฯ ก็จะมีอัตราเงินเดือนเริ่มต้นเสียภาษี กับจำนวนภาษีที่ต้องจ่ายลดลงจากตัวเลขดังกล่าว โดยการปรับโครงสร้างภาษีครั้งนี้จะใช้สำหรับการยื่นแบบภาษีในปี 2561
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
กรมสรรพากร, เฟซบุ๊ก กรมสรรพากร (Revenue Department)