น้ำมันอยู่ที่ใครมากที่สุด มาอัปเดต 10 อันดับประเทศที่เป็นเจ้าของทรัพยากรที่มีค่านี้ พร้อมกับหาคำตอบว่า สมบัติชิ้นนี้ สร้างความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจภายในประเทศอย่างไร
หนึ่งในทรัพยากรที่มีค่าอันดับต้น ๆ ของโลกคือ น้ำมัน ด้วยเป็นเชื้อเพลิงและวัตถุดิบสำคัญที่คอยขับเคลื่อนอุตสาหกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการคมนาคมขนส่ง การผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งสร้างเม็ดเงินมหาศาลให้แต่ละประเทศ และทำให้เศรษฐกิจโลกเติบโต ว่ากันว่า ใครที่มีน้ำมันมากที่สุด ย่อมมีความได้เปรียบทางด้านเศรษฐกิจ และเป็นอภิมหาเศรษฐีโลก
แล้วประเทศใดล่ะที่มีน้ำมันมากที่สุดในโลก ? จากรายงาน BP Statistical Review Of World Energy 2019 ได้รวบรวมข้อมูลประเทศที่มีปริมาณน้ำมันสำรองที่พิสูจน์แล้ว (Proved Reserve) ประจำปี 2018 เอาไว้ มาดูกันว่า 10 ประเทศที่มีน้ำมันสำรองมากที่สุดในโลก มีประเทศใดบ้าง และทรัพยากรอันมีค่านี้ ได้เปลี่ยนแปลงสภาพเศรษฐกิจของประเทศนั้น ๆ อย่างไร
1. เวเนซุเอลา
ปริมาณน้ำมันสำรอง 303,300 ล้านบาร์เรล
แม้เวเนซุเอลาจะมีปริมาณน้ำมันสำรองมากที่สุด และมีรายได้จากการส่งออกน้ำมันเป็นหลัก โดยคิดเป็นมูลค่ากว่า 90% ของรายได้จากการส่งออก หรือคิดเป็น 40% ของรายได้รัฐ แต่ทรัพยากรอันมีค่านี้กลับไม่ได้ช่วยให้คุณภาพชีวิตของประชาชนในทุกวันนี้ดีขึ้น เพราะการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่ผิดพลาดมาหลายสิบปี ผนวกกับยังมีปัญหาการเมืองในประเทศเรื่อยมา นำมาซึ่งวิกฤตทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง
หนำซ้ำในปี 2019 สหรัฐฯ ยังประกาศคว่ำบาตรบริษัทน้ำมันแห่งชาติของเวเนซุเอลา เพื่อตัดรายได้จากการส่งออกน้ำมัน เป็นการตอบโต้การเลือกตั้งประธานาธิบดีของเวเนซุเอลาเมื่อปี 2018 ที่ไม่โปร่งใส ตามมาด้วยการที่กลุ่ม OPEC มีมติให้ประเทศสมาชิกปรับลดปริมาณการผลิตน้ำมันดิบ ก็ยิ่งซ้ำเติมให้ประเทศเวเนซุเอลาอยู่ในสภาพย่ำแย่มากขึ้น จากประเทศเศรษฐีน้ำมันที่ร่ำรวยกลับกลายเป็นประเทศที่ยากจน ประชาชนอดอยาก จนแทบจะเรียกได้ว่า น้ำมันกลายเป็นสิ่งไร้ค่าสำหรับพวกเขาไปแล้ว
- วิกฤตเวเนซุเอลา ! บทเรียนแสนสาหัส ฝันร้ายของประชานิยม
2. ซาอุดีอาระเบีย
ปริมาณน้ำมันสำรอง 297,700 ล้านบาร์เรล
3. แคนาดา
ปริมาณน้ำมันสำรอง 167,800 ล้านบาร์เรล
น้ำมัน เป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของแคนาดา สร้างรายได้คิดเป็น 11% ของ GDP ในปี 2018 โดยมีประเทศสหรัฐอเมริกาและทวีปยุโรป เป็นคู่ค้าสำคัญ ปัจจุบัน อุตสาหกรรมการผลิตน้ำมันดิบประสบภาวะชะลอตัว เนื่องจากราคาน้ำมันดิบทั่วโลกตกต่ำ ขณะที่ต้นทุนการผลิตในแคนาดายังคงสูง ทำให้บริษัทผลิตน้ำมันเอกชนหลายรายประสบภาวะขาดทุน จนต้องเคลื่อนย้ายแท่นขุดเจาะไปยังสหรัฐอเมริกา เพื่อลดต้นทุนการผลิต และส่งออกน้ำมันได้ง่ายขึ้น ขณะเดียวกัน ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องการสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งรัฐบาลแคนาดาเข้มงวดมากขึ้นด้วย
4. อิหร่าน
ปริมาณน้ำมันสำรอง 155,600 ล้านบาร์เรล
การค้นพบบ่อน้ำมันแห่งใหม่ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ ช่วงปลายปี 2019 อาจทำให้อิหร่านมีปริมาณน้ำมันสำรองเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม เนื่องจากน้ำมันที่พบใหม่ มีจำนวนถึง 5.3 หมื่นล้านบาร์เรล หรือคิดเป็นราว 34% ของปริมาณน้ำมันสำรองที่มีอยู่ อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์ความขัดแย้งที่มีต่อสหรัฐอเมริกา ไม่ว่าจะเป็นกรณีการฝืนข้อตกลงนิวเคลียร์ปี 2015 หรือมาตรการตอบโต้ที่มีต่อการลอบสังหารนายพลคาเซ็ม สุเลมานี ผู้นำอันดับ 2 ของอิหร่าน เมื่อต้นปี 2020 ทำให้ตอนนี้ อิหร่านมีรายได้จากการส่งออกน้ำมันลดลง
5. อิรัก
ปริมาณน้ำมันสำรอง 147,200 ล้านบาร์เรล
เศรษฐกิจของอิรักพึ่งพาการส่งออกน้ำมันดิบเป็นหลัก โดยคิดเป็น 90% ของรายได้ของประเทศ จึงต้องเพิ่มกำลังการผลิตและการส่งออก โดยในปี 2018 สามารถเพิ่มกำลังผลิตน้ำมันดิบได้เฉลี่ย 4.6 ล้านบาร์เรล/วัน มากที่สุดเป็นอันดับ 3 ของภูมิภาคตะวันออกกลาง พร้อมกับติดตั้งทุ่นรับน้ำมันดิบในอ่าวเปอร์เซียเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มปริมาณการส่งออก ส่งผลให้ปี 2018 มีรายได้รวม 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
6. รัสเซีย
ปริมาณน้ำมันสำรอง 106,200 ล้านบาร์เรล
แหล่งน้ำมันของรัสเซียส่วนใหญ่อยู่ที่ไซบีเรียตะวันตก ภาคกลาง และทางตะวันตกของประเทศ ด้วยกำลังการผลิตที่มากถึง 11.4 ล้านบาร์เรล/วัน ในปี 2018 และการที่มีต้นทุนทางการผลิตที่ต่ำที่สุดในโลก ทำให้รัสเซียได้เปรียบประเทศผู้ผลิตน้ำมันอื่น ๆ จนกลายเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ของทวีปยุโรป และทวีปเอเชีย โดยเฉพาะประเทศจีน สร้างรายได้มากกว่า 1.3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือคิดเป็น 11.4% ของรายได้ทั้งหมด ซึ่งจากการที่ไม่ได้เป็นสมาชิกกลุ่ม OPEC ทำให้รัสเซียสามารถกำหนดปริมาณการผลิตน้ำมันดิบได้ด้วยตนเอง และอาจส่งผลให้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้ผลิตน้ำมันดิบรายใหญ่ของโลก ภายหลังกลุ่ม OPEC มีมติปรับลดปริมาณการผลิตน้ำมันดิบ เพื่อประคองราคาน้ำมันดิบไม่ให้ตกต่ำทั่วโลก
7. คูเวต
ปริมาณน้ำมันสำรอง 101,500 ล้านบาร์เรล
คูเวต มีฐานะทางเศรษฐกิจดีและร่ำรวยจากการส่งออกน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ จึงมีการลงทุนจากภาครัฐเพื่อพัฒนาภาคอุตสาหกรรมเพิ่มผลผลิตอยู่เสมอ โดยในปี 2019 บริษัทน้ำมันแห่งชาติคูเวตทำข้อตกลงร่วมมือกับบริษัทฮัลลิเบอร์ตัน ซึ่งเป็นบริษัทผู้ให้บริการขุดเจาะน้ำมันของสหรัฐฯ รายใหญ่ที่สุดของโลก เพื่อขุดเจาะน้ำมันนอกชายฝั่ง เพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันดิบ ส่งผลให้หากคูเวตมีศักยภาพในการผลิตน้ำมันดิบมากขึ้นไปอีก ก็จะทำให้เศรษฐกิจภายในประเทศเติบโตมากยิ่งขึ้น
8. สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์
ปริมาณน้ำมันสำรอง 97,800 ล้านบาร์เรล
หลังจากขุดเจอน้ำมันเมื่อ 30 ปีก่อน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ก็ร่ำรวยจากการส่งออกน้ำมัน จนกลายเป็นประเทศที่เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยรายได้จากการส่งออกน้ำมันคิดเป็น 30% ของ GDP สร้างมูลค่าการส่งออกได้มากกว่า 5.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2018 อย่างไรก็ตาม ในการจัดอันดับประเทศที่มีปริมาณน้ำมันสำรองในปี 2020 สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์จะแซงคูเวตขึ้นไปแน่นอน เพราะเมื่อปลายปี 2019 เพิ่งค้นพบบ่อน้ำมันดิบแห่งใหม่ ปริมาณ 7,000 ล้านบาร์เรล ทำให้ปริมาณน้ำมันสำรองเพิ่มขึ้นเป็น 104,800 บาร์เรล
9. สหรัฐอเมริกา
ปริมาณน้ำมันสำรอง 61,200 ล้านบาร์เรล
10. ลิเบีย
ปริมาณน้ำมันสำรอง 48,400 ล้านบาร์เรล
ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ส่งผลกระทบต่อการผลิตและส่งออกน้ำมันของประเทศลิเบีย หลังจากสงครามกลางเมืองยังคงยืดเยื้อ นับตั้งแต่นายมูอัมมาร์ กัดดาฟี ถูกโค่นอำนาจเมื่อปี 2554 ซึ่งล่าสุด จากความพยายามในการก่อรัฐประหารของกองกำลังกบฏต่อรัฐบาล รวมถึงการเข้ามาแทรกแซงของรัฐบาลตุรกี จนมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก บริษัทน้ำมันแห่งชาติของรัฐบาลลิเบีย จึงประกาศปิดท่าเรือส่งออกน้ำมัน 5 แห่ง เพื่อแก้ไขสถานการณ์ ส่งผลให้ลิเบียสูญเสียการผลิตน้ำมันดิบในปริมาณ 800,000 บาร์เรล/วัน จากกำลังการผลิตทั้งหมดของลิเบีย 1.2 ล้านบาร์เรล/วัน หรือคิดเป็นมูลค่าราว 55 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งหากสถานการณ์ความขัดแย้งนี้ยังคงดำเนินต่อไป จะทำให้อัตราแลกเปลี่ยนของลิเบียร่วงลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินต่างประเทศ สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น
ในส่วนของประเทศไทยนั้น BP Statistical Review Of World Energy 2019 ระบุว่า มีปริมาณน้ำมันสำรองประมาณ 300 ล้านบาร์เรล แต่มีศักยภาพในการผลิตน้ำมันดิบได้เฉลี่ย 228,000 บาร์เรล/วัน ขณะที่ความต้องการใช้น้ำมันสูงถึงราว ๆ 1,478,000 บาร์เรล/วัน เท่ากับว่าไทยผลิตน้ำมันได้เพียง 20% ของปริมาณที่ต้องการใช้ จึงต้องนำเข้าปิโตรเลียมจากต่างประเทศอีกกว่า 80% เพื่อทดแทนส่วนที่ขาดไป ขณะเดียวกัน ก็ยังคงต้องสำรวจและพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิต รองรับปริมาณการใช้งานภายในประเทศที่มากขึ้น
* หมายเหตุ : อัปเดตข้อมูลล่าสุดวันที่ 12 มีนาคม 2563
ข้อมูลจาก
BP Statistical Review Of World Energy 2019, OPEC, กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ, worldstoexports, ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในรัสเซีย, กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน
แล้วประเทศใดล่ะที่มีน้ำมันมากที่สุดในโลก ? จากรายงาน BP Statistical Review Of World Energy 2019 ได้รวบรวมข้อมูลประเทศที่มีปริมาณน้ำมันสำรองที่พิสูจน์แล้ว (Proved Reserve) ประจำปี 2018 เอาไว้ มาดูกันว่า 10 ประเทศที่มีน้ำมันสำรองมากที่สุดในโลก มีประเทศใดบ้าง และทรัพยากรอันมีค่านี้ ได้เปลี่ยนแปลงสภาพเศรษฐกิจของประเทศนั้น ๆ อย่างไร
1. เวเนซุเอลา
ปริมาณน้ำมันสำรอง 303,300 ล้านบาร์เรล
แม้เวเนซุเอลาจะมีปริมาณน้ำมันสำรองมากที่สุด และมีรายได้จากการส่งออกน้ำมันเป็นหลัก โดยคิดเป็นมูลค่ากว่า 90% ของรายได้จากการส่งออก หรือคิดเป็น 40% ของรายได้รัฐ แต่ทรัพยากรอันมีค่านี้กลับไม่ได้ช่วยให้คุณภาพชีวิตของประชาชนในทุกวันนี้ดีขึ้น เพราะการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่ผิดพลาดมาหลายสิบปี ผนวกกับยังมีปัญหาการเมืองในประเทศเรื่อยมา นำมาซึ่งวิกฤตทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง
หนำซ้ำในปี 2019 สหรัฐฯ ยังประกาศคว่ำบาตรบริษัทน้ำมันแห่งชาติของเวเนซุเอลา เพื่อตัดรายได้จากการส่งออกน้ำมัน เป็นการตอบโต้การเลือกตั้งประธานาธิบดีของเวเนซุเอลาเมื่อปี 2018 ที่ไม่โปร่งใส ตามมาด้วยการที่กลุ่ม OPEC มีมติให้ประเทศสมาชิกปรับลดปริมาณการผลิตน้ำมันดิบ ก็ยิ่งซ้ำเติมให้ประเทศเวเนซุเอลาอยู่ในสภาพย่ำแย่มากขึ้น จากประเทศเศรษฐีน้ำมันที่ร่ำรวยกลับกลายเป็นประเทศที่ยากจน ประชาชนอดอยาก จนแทบจะเรียกได้ว่า น้ำมันกลายเป็นสิ่งไร้ค่าสำหรับพวกเขาไปแล้ว
- วิกฤตเวเนซุเอลา ! บทเรียนแสนสาหัส ฝันร้ายของประชานิยม
2. ซาอุดีอาระเบีย
ปริมาณน้ำมันสำรอง 297,700 ล้านบาร์เรล
ข้อมูลจาก BP เผยว่า ซาอุดีอาระเบีย สามารถผลิตน้ำมันดิบได้ถึง 12.3 ล้านบาร์เรล/วัน ในปี 2018 ทำให้เป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันดิบรายใหญ่อันดับ 2 ของโลก ที่สร้างรายได้จากการส่งออกมากที่สุด ด้วยมูลค่ากว่า 1.8 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทว่าในเดือนมีนาคม 2020 ซาอุดีอาระเบียเปิดฉากสงครามราคาน้ำมันกับรัสเซีย เนื่องจากรัสเซียชาติพันธมิตรกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน OPEC ไม่ปรับลดกำลังการผลิต 1.5 ล้านบาร์เรล/วัน ตามข้อตกลงใหม่ เพื่อพยุงราคาน้ำมันไม่ให้ตกต่ำ หลังโรค COVID-19 กระทบต่ออุปสงค์น้ำมันทั่วโลก
ซาอุฯ จึงตอบโต้ด้วยการปรับลดราคาขายน้ำมันดิบอย่างเป็นทางการ (OSP) ให้กับทุกทวีป เพื่อชิงส่วนแบ่งค้าน้ำมันจากรัสเซีย พร้อมกับประกาศเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันเต็มสูบ ตั้งแต่เดือนเมษายน 2020 เป็นต้นไป เหตุการณ์นี้ผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกทันที ทั้งดัชนีตลาดหุ้นที่ร่วงลง ราคาทองคำตลาดโลกพุ่งสูงขึ้น หรือผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ร่วงต่ำสุดเป็นประวัติการณ์
3. แคนาดา
ปริมาณน้ำมันสำรอง 167,800 ล้านบาร์เรล
น้ำมัน เป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของแคนาดา สร้างรายได้คิดเป็น 11% ของ GDP ในปี 2018 โดยมีประเทศสหรัฐอเมริกาและทวีปยุโรป เป็นคู่ค้าสำคัญ ปัจจุบัน อุตสาหกรรมการผลิตน้ำมันดิบประสบภาวะชะลอตัว เนื่องจากราคาน้ำมันดิบทั่วโลกตกต่ำ ขณะที่ต้นทุนการผลิตในแคนาดายังคงสูง ทำให้บริษัทผลิตน้ำมันเอกชนหลายรายประสบภาวะขาดทุน จนต้องเคลื่อนย้ายแท่นขุดเจาะไปยังสหรัฐอเมริกา เพื่อลดต้นทุนการผลิต และส่งออกน้ำมันได้ง่ายขึ้น ขณะเดียวกัน ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องการสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งรัฐบาลแคนาดาเข้มงวดมากขึ้นด้วย
4. อิหร่าน
ปริมาณน้ำมันสำรอง 155,600 ล้านบาร์เรล
การค้นพบบ่อน้ำมันแห่งใหม่ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ ช่วงปลายปี 2019 อาจทำให้อิหร่านมีปริมาณน้ำมันสำรองเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม เนื่องจากน้ำมันที่พบใหม่ มีจำนวนถึง 5.3 หมื่นล้านบาร์เรล หรือคิดเป็นราว 34% ของปริมาณน้ำมันสำรองที่มีอยู่ อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์ความขัดแย้งที่มีต่อสหรัฐอเมริกา ไม่ว่าจะเป็นกรณีการฝืนข้อตกลงนิวเคลียร์ปี 2015 หรือมาตรการตอบโต้ที่มีต่อการลอบสังหารนายพลคาเซ็ม สุเลมานี ผู้นำอันดับ 2 ของอิหร่าน เมื่อต้นปี 2020 ทำให้ตอนนี้ อิหร่านมีรายได้จากการส่งออกน้ำมันลดลง
5. อิรัก
ปริมาณน้ำมันสำรอง 147,200 ล้านบาร์เรล
เศรษฐกิจของอิรักพึ่งพาการส่งออกน้ำมันดิบเป็นหลัก โดยคิดเป็น 90% ของรายได้ของประเทศ จึงต้องเพิ่มกำลังการผลิตและการส่งออก โดยในปี 2018 สามารถเพิ่มกำลังผลิตน้ำมันดิบได้เฉลี่ย 4.6 ล้านบาร์เรล/วัน มากที่สุดเป็นอันดับ 3 ของภูมิภาคตะวันออกกลาง พร้อมกับติดตั้งทุ่นรับน้ำมันดิบในอ่าวเปอร์เซียเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มปริมาณการส่งออก ส่งผลให้ปี 2018 มีรายได้รวม 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
6. รัสเซีย
ปริมาณน้ำมันสำรอง 106,200 ล้านบาร์เรล
แหล่งน้ำมันของรัสเซียส่วนใหญ่อยู่ที่ไซบีเรียตะวันตก ภาคกลาง และทางตะวันตกของประเทศ ด้วยกำลังการผลิตที่มากถึง 11.4 ล้านบาร์เรล/วัน ในปี 2018 และการที่มีต้นทุนทางการผลิตที่ต่ำที่สุดในโลก ทำให้รัสเซียได้เปรียบประเทศผู้ผลิตน้ำมันอื่น ๆ จนกลายเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ของทวีปยุโรป และทวีปเอเชีย โดยเฉพาะประเทศจีน สร้างรายได้มากกว่า 1.3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือคิดเป็น 11.4% ของรายได้ทั้งหมด ซึ่งจากการที่ไม่ได้เป็นสมาชิกกลุ่ม OPEC ทำให้รัสเซียสามารถกำหนดปริมาณการผลิตน้ำมันดิบได้ด้วยตนเอง และอาจส่งผลให้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้ผลิตน้ำมันดิบรายใหญ่ของโลก ภายหลังกลุ่ม OPEC มีมติปรับลดปริมาณการผลิตน้ำมันดิบ เพื่อประคองราคาน้ำมันดิบไม่ให้ตกต่ำทั่วโลก
7. คูเวต
ปริมาณน้ำมันสำรอง 101,500 ล้านบาร์เรล
คูเวต มีฐานะทางเศรษฐกิจดีและร่ำรวยจากการส่งออกน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ จึงมีการลงทุนจากภาครัฐเพื่อพัฒนาภาคอุตสาหกรรมเพิ่มผลผลิตอยู่เสมอ โดยในปี 2019 บริษัทน้ำมันแห่งชาติคูเวตทำข้อตกลงร่วมมือกับบริษัทฮัลลิเบอร์ตัน ซึ่งเป็นบริษัทผู้ให้บริการขุดเจาะน้ำมันของสหรัฐฯ รายใหญ่ที่สุดของโลก เพื่อขุดเจาะน้ำมันนอกชายฝั่ง เพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันดิบ ส่งผลให้หากคูเวตมีศักยภาพในการผลิตน้ำมันดิบมากขึ้นไปอีก ก็จะทำให้เศรษฐกิจภายในประเทศเติบโตมากยิ่งขึ้น
8. สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์
ปริมาณน้ำมันสำรอง 97,800 ล้านบาร์เรล
หลังจากขุดเจอน้ำมันเมื่อ 30 ปีก่อน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ก็ร่ำรวยจากการส่งออกน้ำมัน จนกลายเป็นประเทศที่เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยรายได้จากการส่งออกน้ำมันคิดเป็น 30% ของ GDP สร้างมูลค่าการส่งออกได้มากกว่า 5.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2018 อย่างไรก็ตาม ในการจัดอันดับประเทศที่มีปริมาณน้ำมันสำรองในปี 2020 สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์จะแซงคูเวตขึ้นไปแน่นอน เพราะเมื่อปลายปี 2019 เพิ่งค้นพบบ่อน้ำมันดิบแห่งใหม่ ปริมาณ 7,000 ล้านบาร์เรล ทำให้ปริมาณน้ำมันสำรองเพิ่มขึ้นเป็น 104,800 บาร์เรล
9. สหรัฐอเมริกา
ปริมาณน้ำมันสำรอง 61,200 ล้านบาร์เรล
ถึงแม้สหรัฐอเมริกาจะมีปริมาณน้ำมันสำรองเป็นอันดับ 9 ของโลก และน้อยกว่าซาอุฯ ถึง 3 เท่า แต่กลับเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันอันดับ 1 ของโลก ด้วยปริมาณ 15.3 ล้านบาร์เรล/วัน นั่นเพราะการใช้เทคโนโลยีการขุดน้ำมันแบบใหม่ที่ช่วยให้ขุดน้ำมันจากชั้นหินดินดาน หรือ "เชลออยล์" ได้
อีกทั้งมีแหล่งผลิตน้ำมันขนาดใหญ่ภายในประเทศมากมาย ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ Midland ในมลรัฐเท็กซัส ชายแดนระหว่างรัฐเท็กซัส-รัฐหลุยส์เซียน่า และทางตะวันออกเฉียงใต้ของนิวเม็กซิโก จนแคนาดาสนใจ อยากย้ายแท่นขุดเจาะมาตั้งฐานการผลิต ทั้งหมดนี้ช่วยให้สหรัฐฯ มีรายได้จากการส่งออกน้ำมัน 4.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2018
10. ลิเบีย
ปริมาณน้ำมันสำรอง 48,400 ล้านบาร์เรล
ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ส่งผลกระทบต่อการผลิตและส่งออกน้ำมันของประเทศลิเบีย หลังจากสงครามกลางเมืองยังคงยืดเยื้อ นับตั้งแต่นายมูอัมมาร์ กัดดาฟี ถูกโค่นอำนาจเมื่อปี 2554 ซึ่งล่าสุด จากความพยายามในการก่อรัฐประหารของกองกำลังกบฏต่อรัฐบาล รวมถึงการเข้ามาแทรกแซงของรัฐบาลตุรกี จนมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก บริษัทน้ำมันแห่งชาติของรัฐบาลลิเบีย จึงประกาศปิดท่าเรือส่งออกน้ำมัน 5 แห่ง เพื่อแก้ไขสถานการณ์ ส่งผลให้ลิเบียสูญเสียการผลิตน้ำมันดิบในปริมาณ 800,000 บาร์เรล/วัน จากกำลังการผลิตทั้งหมดของลิเบีย 1.2 ล้านบาร์เรล/วัน หรือคิดเป็นมูลค่าราว 55 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งหากสถานการณ์ความขัดแย้งนี้ยังคงดำเนินต่อไป จะทำให้อัตราแลกเปลี่ยนของลิเบียร่วงลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินต่างประเทศ สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น
ในส่วนของประเทศไทยนั้น BP Statistical Review Of World Energy 2019 ระบุว่า มีปริมาณน้ำมันสำรองประมาณ 300 ล้านบาร์เรล แต่มีศักยภาพในการผลิตน้ำมันดิบได้เฉลี่ย 228,000 บาร์เรล/วัน ขณะที่ความต้องการใช้น้ำมันสูงถึงราว ๆ 1,478,000 บาร์เรล/วัน เท่ากับว่าไทยผลิตน้ำมันได้เพียง 20% ของปริมาณที่ต้องการใช้ จึงต้องนำเข้าปิโตรเลียมจากต่างประเทศอีกกว่า 80% เพื่อทดแทนส่วนที่ขาดไป ขณะเดียวกัน ก็ยังคงต้องสำรวจและพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิต รองรับปริมาณการใช้งานภายในประเทศที่มากขึ้น
* หมายเหตุ : อัปเดตข้อมูลล่าสุดวันที่ 12 มีนาคม 2563
ข้อมูลจาก
BP Statistical Review Of World Energy 2019, OPEC, กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ, worldstoexports, ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในรัสเซีย, กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน