
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
กทม. ชงงบ คสช. 2 หมื่นล้าน สร้างสะพานแทนถนนเลียบแม่น้ำ โดยมีทั้งหมด 4 สะพานด้วยกัน ประเดิม เกียกกาย เพื่อรองรับรัฐสภาแห่งใหม่
วันนี้ (21 มิถุนายน 2557) เว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจ เปิดเผยว่า แหล่งข่าวจากรุงเทพมหานคร (กทม.) ระบุว่า หลังจากที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีนโยบายแก้ไขปัญหาจราจรในพื้นที่กรุงเทพฯ โดยมีแนวคิดที่จะสร้างถนนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยานั้น ทาง กทม. มองว่าเกิดขึ้นได้ยาก ซึ่งล่าสุดทาง กทม. มีแนวคิดที่จะนำโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาทั้ง 4 แห่ง ให้ คสช. พิจารณา โดยค่าก่อสร้างรวม 23,250 ล้านบาท มีผลการศึกษาเสร็จเรียบร้อยแล้ว รอแค่งบประมาณก่อสร้างเท่านั้น
สำหรับโครงการทั้ง 4 แห่ง มีดังนี้..

วงเงิน 10,500 ล้านบาท เป็นค่าก่อสร้าง 4,500 ล้านบาท ค่าเวนคืน 6,000 ล้านบาท เป็นโครงการที่อยากจะให้เร่งรัด เพื่อรองรับอาคารรัฐสภาแห่งใหม่บริเวณเกียกกายที่กำลังก่อสร้างในแผน จะแล้วเสร็จปลายปี 2558 ซึ่งโครงการออกแบบเป็นสะพานยกระดับและถนนต่อเชื่อมยกระดับขนาด 4-6 ช่องจราจร
เริ่มต้นตรงบริเวณทางรถไฟสายใต้ ตัดตรงข้าม ถนนจรัญสนิทวงศ์ ซอย 93-95 ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ผ่านวัดแก้วฟ้าจุฬามณี รัฐสภาแห่งใหม่ ผ่าน ถนนสามเสน ถนนทหาร ถนนเตชะวณิช ถนนประดิพัทธ์ วกเข้า ถนนเทอดดำริ และเลี้ยวออกทางด่วนขั้นที่ 2 บริเวณ ถนนพระรามที่ 6 เข้า ถนนกำแพงเพชร ผ่านตลาด อ.ต.ก.ตลาดนัดจตุจักร มาบรรจบกับ ถนนพหลโยธินด้านกรมการขนส่งทางบก

สะพานดังกล่าว จะมีระยะทาง 1.3 กม. เป็นสะพาน 4 ช่องจราจร วงเงิน 6,600 ล้านบาท มีค่าก่อสร้าง 600-700 ล้านบาท ที่เหลือเป็นค่าเวนคืนที่ดิน เพราะพาดผ่านที่ดินกลางเมือง มีจุดเริ่มต้น ถนนจันทน์ ซอย 42 ผ่าน ถนนเจริญกรุง ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามาบรรจบ ถนนเจริญนครซอย 24 มีเวนคืนที่ดิน 200-300 หลังคาเรือน จุดเวนคืนใหญ่ อาทิ ฝั่ง ถนนเจริญกรุง จะเฉือนที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์กว่า 4 ไร่ ด้านหลังโรงแรมชาเทรียม ที่เช่าระยะยาวของ บจ.แลนด์มาร์ค ดีเวลล็อปเม้นท์ ธุรกิจของตระกูลเตชะอุบล

จุดเริ่มต้นฝั่ง ถนนลาดหญ้าระหว่างซอยเจริญรัถ 18 กับซอยลาดหญ้า 17 ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเชื่อมกับฝั่งพระนครบริเวณ ถนนมหาพฤฒาราม ใกล้โรงเรียนสตรีมหาพฤฒาราม 2.36 กม. วงเงิน 5,300 ล้านบาท มีเวนคืน 12.1 ไร่ อาคาร 50 หลัง จ่ายค่าชดเชยประมาณ 300 ล้านบาท ที่เหลือเป็นค่าก่อสร้าง

สร้างอยู่บนแนว ถนนราชวงศ์ และ ถนนท่าดินแดง มีจุดเริ่มต้นอยู่บริเวณถนนทรงวาด วิ่งตาม ถนนราชวงศ์-ท่าเรือราชวงศ์ ท่าเรือดินแดง-ถนนท่าดินแดง สิ้นสุดที่ปากซอยท่าดินแดง 17 ความยาว 480 เมตร ซึ่งโครงการนี้จะไม่มีเวนคืนที่ดิน โดยลดขนาดสะพานเหลือ 2 ช่องจราจร ค่าก่อสร้างประมาณ 850 ล้านบาท
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
