
อัตราค่า พ.ร.บ. รถเก๋ง มีค่าใช้จ่าย หรือคนมีรถต้องจ่าย อัตราค่า พ.ร.บ. รถเก๋ง เท่าไหร่ วันนี้เรามีบทความเรื่องนี้มาฝาก
รถยนต์ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของคนรุ่นใหม่เลยทีเดียว ดังนั้นจึงไม่แปลกที่มักจะเห็นรถใหม่ป้ายแดงแล่นกันเกลื่อนถนน โดยเฉพาะรถเก๋งอีโคคาร์ที่กำลังฮิตและนับวันจะมีเยอะขึ้นเรื่อย ๆ แต่รู้หรือไม่ครับ ว่าในแต่ละปีเราต้องต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ กันอยู่เป็นประจำ ซึ่งหากคุณเป็นมือใหม่ หรืออยากได้ข้อมูลของการต่อ พ.ร.บ. วันนี้เรานำเรื่องน่ารู้ของ “อัตราค่า พ.ร.บ. รถเก๋ง” มาบอกต่อกัน
ซึ่งนอกจาก อัตราค่า พ.ร.บ. รถเก๋ง แล้ว เรายังรวมอัตราค่าต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ มาฝากด้วย อัตราค่า พ.ร.บ. รถเก๋ง และรถประเภทอื่น ๆ จะราคาเท่าไหร่บ้าง ลองไปดูกันเลย
อัตราค่า พ.ร.บ. รถเก๋ง และรถประเภทอื่น ๆ
อัตราเบี้ยราคา พ.ร.บ. ที่กฎหมายกำหนด ของรถแต่ละประเภท (รวมภาษี 7% แล้ว)
รถยนต์นั่งไม่เกิน 7 คน (รถเก๋ง) เบี้ยรวม = 645.21 บาท
รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน ไม่เกิน 15 ที่นั่ง รถตู้ เบี้ยรวม = 1,182.35 บาท
รถยนต์โดยสารเกิน 15 คน ไม่เกิน 20 ที่นั่ง เบี้ยรวม = 2,203.13 บาท
รถยนต์โดยสารเกิน 20 คน ไม่เกิน 40 ที่นั่ง เบี้ยรวม = 3,437.91 บาท
รถยนต์โดยสารเกิน 40 ที่นั่ง เบี้ยรวม = 4,017.85 บาท
รถยนต์บรรทุกไม่เกิน 3 ตัน (ปิคอัพ) เบี้ยรวม = 967.28 บาท
รถยนต์บรรทุกเกิน 3 ตัน ถึง 6 ตัน เบี้ยรวม = 1,310.75 บาท
รถยนต์บรรทุกเกิน 6 ตัน ถึง 12 ตัน เบี้ยรวม = 1,408.12 บาท
รถยนต์บรรทุกเกิน 12 ตัน เบี้ยรวม = 1,826.49 บาท
ทั้งนี้เมื่อไปต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ กับตัวแทนประกันต่าง ๆ ก็จะมีส่วนลดทำให้ราคาถูกกว่าที่กฎหมายกำหนด แน่นอนส่วนจะลดมากลดน้อยก็แล้วแต่ประกัน
อัตราค่า พ.ร.บ. รถเก๋ง นักขับหน้าใหม่หลาย ๆ ท่านอาจโยนภาระนี้ให้ไฟแนนซ์จัดการ และเสียค่าบริการตั้งแต่ 100-500 บาทเลยทีเดียว แต่การต่อ พ.ร.บ.รถยนต์และการต่อทะเบียนรถ นั้นทำปีละครั้งหากมีเอกสารพร้อม รู้ขั้นตอนแล้ว ไปทำที่ขนส่งไม่เกิน 1 ชม. ก็เสร็จ ส่วนผู้ไม่มีเวลาก็จัดการต่อได้ในเว็บไซต์ของกรมการขนส่ง www.dlte-serv.in.th รับรองคุ้มค่ากว่าที่จะไปเสียเงินรับบริการแน่นอนครับ