
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
คลังเตรียมออกประกาศ 2 ฉบับปลายปีนี้ เพื่อนำร่องตั้งนาโนไฟแนนซ์ภายในจังหวัด แต่ต้องเป็นสินเชื่อเพื่ออาชีพเท่านั้น โดยมีวงเงินแค่ 100,000 บาทต่อราย และคาดว่าจะออกประกาศเพื่อเปิดให้ผู้ประกอบการมายื่นขอใบอนุญาตได้ในต้นปี 2557
เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2556 นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ภายในสิ้นปีนี้จะสามารถออกประกาศที่เกี่ยวข้องกับสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์และเปิดให้ผู้ประกอบการมายื่นขอใบอนุญาตได้ ไม่ว่าจะเป็นธนาคารพาณิชย์หรือนอนแบงก์ก็ได้ แต่คาดว่าธนาคารพาณิชย์คงไม่สนใจ เนื่องจากจะถูกตรวจสอบจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพิ่มมากขึ้น
ทั้งนี้ การอนุญาตให้ประกอบกิจการนาโนไฟแนนซ์ จะต้องจัดตั้งเป็นบริษัทสินเชื่อรายย่อย (บย.) ทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ 10 ล้านบาท โดยสามารถปล่อยสินเชื่อได้เฉพาะในจังหวัดที่ตั้งอยู่เท่านั้น ซึ่งเงินที่ใช้ปล่อยกู้จะต้องเป็นเงินทุนตัวเองและรับความเสี่ยงเอง ไม่สามารถรับฝากเงินได้ โดย บย.สามารถปล่อยสินเชื่อได้ไม่เกิน 100,000 บาทต่อราย และต้องเป็นสินเชื่อเพื่ออาชีพเท่านั้น จะให้สินเชื่ออุปโภคบริโภคไม่ได้ หากตรวจพบว่าฝ่าฝืนจะถูกเพิกถอนใบอนุญาตทันที ซึ่งขณะนี้กำลังพิจารณาให้ ธปท. เป็นผู้ดำเนินการกำกับดูแล
สำหรับประกาศที่เตรียมออกมามี 2 ฉบับ ได้แก่


ด้าน นายอานุภาพ คูวินิชกุล ผู้อํานวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ภายในไตรมาส 1-2 ปี 2557 ธปท. น่าจะสามารถเปิดให้ผู้ที่ต้องการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนาโนไฟแนนซ์มาลงทะเบียนได้ โดยเชื่อว่าโครงการนี้จะไม่ส่งผลต่อการปล่อยสินเชื่อของแบงก์พาณิชย์หรือแบงก์รัฐให้ลดลง เนื่องจากเป็นคนละกลุ่มเป้าหมาย
ส่วน นายฐากร ปิยะพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อยุธยา แคปปิตอล เซอร์วิสเซส จำกัด กล่าวว่า บริษัทกำลังศึกษารายละเอียดของธุรกิจนาโนไฟแนนซ์ในทุกด้าน เบื้องต้นเห็นว่า 36 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ถือว่าค่อนข้างจูงใจ แต่ยังต้องดูเงื่อนไขความคุ้มค่าด้านต้นทุนการเงิน การตั้งสำรอง และการบริหารจัดการ หากบริษัทจะเข้าไปทำก็มีธุรกิจ "ศรีสวัสดิ์เงินติดล้อ" ที่เจาะตลาดนี้อยู่แล้ว ซึ่งสามารถต่อยอดเข้าไปได้
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
