กรมบัญชีกลาง ชี้แจงจ่ายเงินเดือนข้าราชการ 2 รอบ จะเริ่มในเดือนมกราคม 2567 เป็นแบบสมัครใจ พร้อมตอบข้อสงสัย ต้องทำอย่างไรบ้าง
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
จากกรณีมติ ครม. เห็นชอบการแบ่งจ่ายเงินเดือนข้าราชการออกเป็น 2 งวด โดยนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ให้เหตุผลว่า เพื่อให้ข้าราชการจะต้องได้ไม่ไปกู้หนี้ยืมสิน จนนำมาซึ่งกระแสวิพากษ์วิจารณ์จำนวนมาก รวมถึงเกิดคำถามมากมายถึงความชัดเจนในเรื่องนี้นั้น
ล่าสุด (31 ตุลาคม 2566) กรมบัญชีกลาง ได้ชี้แจงถึงรายละเอียดเงื่อนไข และวิธีการจ่ายเงินเดือนข้าราชการ 2 งวด โดยระบุว่า การจ่ายเงินเดือนแบบ 2 งวดนั้น จะครอบคลุมข้าราชการและลูกจ้างประจำ 230 หน่วยงาน ที่อยู่ในระบบ e-Payroll ของกรมบัญชีกลาง ส่วนหน่วยงานอื่นที่ไม่อยู่ในระบบ e-Payroll ของกรมบัญชีกลาง เช่น อปท. เทศบาล อบต. จะไม่เข้าเงื่อนไขดังกล่าว รวมถึงข้าราชการบำนาญ ก็ไม่ได้รวมอยู่ในโครงการนี้
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
โดยการจ่ายเงินเดือน 2 งวด จะเป็นแบบสมัครใจ สามารถเลือกได้ว่าจะรับ 1 รอบต่อเดือน หรือ 2 รอบต่อเดือน ซึ่งหากใครที่มีความประสงค์จะรับ 2 รอบ จะต้องยื่นแบบแสดงความประสงค์ ภายในวันที่ 1-15 ธันวาคม 2566 และจะเริ่มจ่ายแบบ 2 งวด ในเดือนมกราคม 2567
สรุปเงื่อนไขและวิธีจ่ายเงินเดือนข้าราชการ 2 รอบ
- เป็นแบบสมัครใจ ข้าราชการสามารถเลือกได้ว่าจะรับ 1 รอบแบบเดิม (ไม่ต้องยื่นแบบ) หรือ 2 รอบต่อเดือน (ต้องยื่นแบบ)
- ลูกจ้างประจำ จะเริ่มได้เงินค่าจ้างแบบ 2 รอบ ในเดือนมีนาคม 2567 โดยจะต้องยื่นแบบแสดงความประสงค์ ภายในวันที่ 1-15 กุมภาพันธ์ 2567 แต่หากจะรับค่าจ้าง 1 รอบแบบเดิม ก็ไม่ต้องยื่นแบบฯ
- หากเลือกรับเงินเดือน 2 รอบ รอบแรกจะได้รับเงินเดือนในวันที่16 ของทุกเดือน หากตรงกับวันหยุด ก็จะเลื่อนขึ้นมาเป็นวันทำการก่อนวันที่ 16 และรอบที่ 2 จะได้รับในวันทำการ 3 วันสุดท้ายของเดือน เช่น
ภาพจาก กรมบัญชีกลาง
- สามารถเปลี่ยนใจได้ว่าจะรับแบบ 1 รอบ หรือ 2 รอบ ได้ปีละ 1 ครั้ง คือในช่วงวันที่ 1-15 ธันวาคม ของทุกปี
- ข้าราชการและลูกจ้างประจำ สามารถยื่นแบบแสดงความประสงค์รับเงินเดือน 2 รอบ ได้ที่ส่วนราชการของตนเอง โดยส่วนราชการจะบันทึกลงระบบ e-Payroll ดังนั้นไม่ต้องส่งแบบฯ มาที่กรมบัญชีกลาง
- ข้าราชการบรรจุใหม่สามารถเลือกได้ว่าจะรับเงินเดือน 1 หรือ 2 รอบ
- การหักเงินเดือน สมทบกองทุนบำเหน็จบำนานข้าราชการ หรือ กบข., กองทุนสำรองเลี้ยงชีพสำหรับลูกจ้างประจำ จะหักจ่าย 2 รอบ หรือครึ่งหนึ่งของเงินที่หักจากการจ่ายเงินเดือนรอบเดียว โดยกรมบัญชีกลางจะคำนวณให้หมด
- หนี้ กยศ. หนี้ธนาคาร หนี้บุคคลที่ 3 หักจ่ายรอบเดียว เดือนละครั้ง
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก ภาพจาก เฟซบุ๊ก กรมบัญชีกลาง The Comptroller General’s Department
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
ล่าสุด (31 ตุลาคม 2566) กรมบัญชีกลาง ได้ชี้แจงถึงรายละเอียดเงื่อนไข และวิธีการจ่ายเงินเดือนข้าราชการ 2 งวด โดยระบุว่า การจ่ายเงินเดือนแบบ 2 งวดนั้น จะครอบคลุมข้าราชการและลูกจ้างประจำ 230 หน่วยงาน ที่อยู่ในระบบ e-Payroll ของกรมบัญชีกลาง ส่วนหน่วยงานอื่นที่ไม่อยู่ในระบบ e-Payroll ของกรมบัญชีกลาง เช่น อปท. เทศบาล อบต. จะไม่เข้าเงื่อนไขดังกล่าว รวมถึงข้าราชการบำนาญ ก็ไม่ได้รวมอยู่ในโครงการนี้
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
โดยการจ่ายเงินเดือน 2 งวด จะเป็นแบบสมัครใจ สามารถเลือกได้ว่าจะรับ 1 รอบต่อเดือน หรือ 2 รอบต่อเดือน ซึ่งหากใครที่มีความประสงค์จะรับ 2 รอบ จะต้องยื่นแบบแสดงความประสงค์ ภายในวันที่ 1-15 ธันวาคม 2566 และจะเริ่มจ่ายแบบ 2 งวด ในเดือนมกราคม 2567
สรุปเงื่อนไขและวิธีจ่ายเงินเดือนข้าราชการ 2 รอบ
- เป็นแบบสมัครใจ ข้าราชการสามารถเลือกได้ว่าจะรับ 1 รอบแบบเดิม (ไม่ต้องยื่นแบบ) หรือ 2 รอบต่อเดือน (ต้องยื่นแบบ)
- ลูกจ้างประจำ จะเริ่มได้เงินค่าจ้างแบบ 2 รอบ ในเดือนมีนาคม 2567 โดยจะต้องยื่นแบบแสดงความประสงค์ ภายในวันที่ 1-15 กุมภาพันธ์ 2567 แต่หากจะรับค่าจ้าง 1 รอบแบบเดิม ก็ไม่ต้องยื่นแบบฯ
- หากเลือกรับเงินเดือน 2 รอบ รอบแรกจะได้รับเงินเดือนในวันที่16 ของทุกเดือน หากตรงกับวันหยุด ก็จะเลื่อนขึ้นมาเป็นวันทำการก่อนวันที่ 16 และรอบที่ 2 จะได้รับในวันทำการ 3 วันสุดท้ายของเดือน เช่น
ภาพจาก กรมบัญชีกลาง
- สามารถเปลี่ยนใจได้ว่าจะรับแบบ 1 รอบ หรือ 2 รอบ ได้ปีละ 1 ครั้ง คือในช่วงวันที่ 1-15 ธันวาคม ของทุกปี
- ข้าราชการและลูกจ้างประจำ สามารถยื่นแบบแสดงความประสงค์รับเงินเดือน 2 รอบ ได้ที่ส่วนราชการของตนเอง โดยส่วนราชการจะบันทึกลงระบบ e-Payroll ดังนั้นไม่ต้องส่งแบบฯ มาที่กรมบัญชีกลาง
- ข้าราชการบรรจุใหม่สามารถเลือกได้ว่าจะรับเงินเดือน 1 หรือ 2 รอบ
- การหักเงินเดือน สมทบกองทุนบำเหน็จบำนานข้าราชการ หรือ กบข., กองทุนสำรองเลี้ยงชีพสำหรับลูกจ้างประจำ จะหักจ่าย 2 รอบ หรือครึ่งหนึ่งของเงินที่หักจากการจ่ายเงินเดือนรอบเดียว โดยกรมบัญชีกลางจะคำนวณให้หมด
- หนี้ กยศ. หนี้ธนาคาร หนี้บุคคลที่ 3 หักจ่ายรอบเดียว เดือนละครั้ง
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก ภาพจาก เฟซบุ๊ก กรมบัญชีกลาง The Comptroller General’s Department