How to วางแผนเรื่องเงินและชีวิตให้มั่นคงและมั่งคั่ง ด้วยพีระมิดทางการเงิน

          วางแผนการเงินง่ายกว่าที่คิด ด้วยพีระมิดทางการเงิน (Financial Pyramid) เริ่มต้นจากการสร้างฐานให้มั่นคงไปทีละขั้น เพื่อก้าวสู่ความมั่งคั่งในวันข้างหน้า
พีระมิดทางการเงิน

          เคยสงสัยไหมว่า เราควรเก็บเงินให้ได้เท่าไรถึงพอใช้ในยามฉุกเฉิน หรือจะนำเงินไปลงทุนอะไรกับสินทรัพย์อะไรดี เพราะเดี๋ยวนี้มีทางเลือกมากมาย ทั้งกองทุนรวม หุ้น ทองคำ ประกันสะสมทรัพย์ ประกันชีวิต ฯลฯ ใครเป็นมือใหม่อาจสับสนเลือกไม่ถูก แต่ไม่ต้องกังวลไปค่ะ แค่ลองมาศึกษาวิธีวางแผนทางการเงินตามหลัก "พีระมิดทางการเงิน (Financial Pyramid)" ก็จัดการกับปัญหานี้ได้ และนี่ยังเป็นตัวชี้วัดด้วยว่า ตัวเราเองเตรียมพร้อมเรื่องการเงินได้ดีพอหรือยัง 

พีระมิดทางการเงิน คืออะไร

พีระมิดทางการเงิน

          พีระมิดทางการเงิน หรือสามเหลี่ยมทางการเงิน (Financial Pyramid) เป็นแนวทางวางแผนการเงินที่เรียงลำดับความสำคัญก่อน-หลัง หลักการก็คือ ต้องสร้างรากฐานด้านล่างให้มีความมั่นคงก่อน เปรียบเสมือนการสร้างบ้านต้องมีเสาเข็มที่แข็งแกร่ง จากนั้นเมื่อมีเงินเหลือจึงค่อยวางแผนต่อยอดความมั่งคั่งในชั้นต่อ ๆ ไปจนถึงด้านบนสุด ซึ่งในระหว่างทางก็ควรวางแผนจัดการเรื่องภาษีควบคู่ไปด้วย ทีนี้เราลองมาไล่เรียงทีละขั้นกันดีกว่า

1. จัดการสภาพคล่อง (Cash Flow Management)

          สถานะการเงินจะมั่นคงได้ต้องเริ่มจากจัดการสภาพคล่อง ในที่นี้หมายถึงการวางแผนค่าใช้จ่ายและหนี้สิน ด้วยการจดบันทึกรายรับ-รายจ่ายในแต่ละเดือน และแบ่งออกเป็นหมวดหมู่เพื่อให้เห็นสภาพคล่องทางการเงินของตัวเอง ดังนี้
  • ค่าใช้จ่าย : เช่น เงินที่ใช้ในชีวิตประจำวัน (ค่าอาหาร ค่าเดินทาง) ค่าใช้จ่ายเพื่อความบันเทิง (ช้อปปิ้ง ดูหนัง) ส่วนนี้ไม่ควรเกิน 50-60% ของรายได้ทั้งเดือน
     
  • หนี้สิน : เช่น ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ หรือหนี้สินอื่น ๆ รวมแล้วไม่ควรเกิน 40% ของรายได้ทั้งเดือน
     
  • เงินออม : ควรแบ่งเงินอย่างน้อย 5-10% มาเก็บเป็นเงินสำรองฉุกเฉินให้ได้ประมาณ 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน เพราะหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เช่น ตกงานกะทันหัน คนในครอบครัวล้มป่วย ต้องซ่อมบ้าน ซ่อมรถ หรือจำเป็นต้องใช้เงินก้อน อย่างน้อยก็ยังพอหมุนเงินได้ในชั่วระยะเวลาหนึ่งโดยไม่ต้องกู้เงินให้เสียดอกเบี้ย
          อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ปรับลดค่าใช้จ่ายลงได้ หรือเคลียร์หนี้สินให้เหลือน้อยลง ก็สามารถนำเงินที่เหลือมาเก็บไว้ในส่วนของเงินออมเพิ่มได้อีก 

2. ปกป้องความเสี่ยง (Protection)

พีระมิดทางการเงิน

          เงินสำรองฉุกเฉินที่เก็บไว้อาจไม่เพียงพอที่จะครอบคลุมกับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ รวมทั้งการเจ็บป่วย ฉะนั้นจึงควรถ่ายโอนความเสี่ยงไว้กับประกันภัยประเภทต่าง ๆ จะได้ไม่ต้องสูญเสียเงินก้อนใหญ่ และไม่กระทบต่อเงินออมที่อุตส่าห์เก็บหอมรอมริบมา 

          สำหรับประกันภัยที่ควรมีติดตัวไว้ก็อย่างเช่น ประกันภัยรถยนต์ ประกันอัคคีภัย ประกันอุบัติเหตุ ประกันสุขภาพ ประกันโรคร้ายแรง รวมถึงประกันชีวิตที่จำเป็นมาก ๆ กับคนที่เป็นหัวหน้าครอบครัว หรือมีภาระต้องผ่อนบ้าน ผ่อนรถ เพราะถ้าเราจากไปก่อนพวกเขา อย่างน้อยครอบครัวก็ยังได้เงินก้อนมาเป็นค่าใช้จ่ายหรือปลดหนี้สินที่มี  

          ทั้งนี้ หากมีงบประมาณไม่มาก แต่อยากได้ความคุ้มครองสูง ๆ ก็ควรเลือกทำประกันชีวิตควบการลงทุน หรือยูนิตลิงค์ ที่ให้ทุนประกันสูงประมาณ 200 เท่าของเบี้ยประกันภัยที่จ่าย เช่น จ่ายเบี้ยประกันชีวิต 1 แสนบาท สามารถให้ความคุ้มครองชีวิตได้สูงถึง 20 ล้านบาทเลยทีเดียว

3. ออมเงินและลงทุน (Savings and Investment)

          เมื่อรากฐานมั่นคงคือมีทั้งเงินออมและแผนป้องกันความเสี่ยง คราวนี้ก็ถึงเวลาสร้างความมั่งคั่งด้วยการลงทุนเพิ่มผลตอบแทนแล้วล่ะ โดยควรกำหนดเป้าหมายในการออมและลงทุนก่อน เพื่อเลือกวิธีที่เหมาะสมกับเป้าหมายและระยะเวลา คือ
  • เป้าหมายระยะสั้น เช่น ต้องการเก็บเงินและลงทุนไม่เกิน 1-2 ปี ไว้เป็นทุนการศึกษา ซื้อของที่อยากได้ หรือไปท่องเที่ยว ควรเลือกลงทุนแบบไม่เสี่ยงและเงินต้นไม่หาย เช่น เงินฝาก สลากออมทรัพย์ กองทุนรวมตลาดเงิน เป็นต้น
     
  • เป้าหมายระยะกลาง เช่น เก็บเงินแต่งงาน ซื้อรถ ซื้อบ้าน ในระยะเวลา 3 ปีขึ้นไป ควรลงทุนที่มีความเสี่ยงมากขึ้น เพื่อหวังผลตอบแทนที่มากขึ้น เช่น กองทุนรวมผสม กองทุนรวมหุ้น 
     
  • เป้าหมายระยะยาว ที่ต้องใช้ระยะเวลา 10 ปีขึ้นไป อย่างวางแผนเกษียณ ก็สามารถจัดพอร์ตลงทุนที่มีความเสี่ยงปานกลางไปจนถึงความเสี่ยงสูงได้ เช่น ลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) หุ้นสามัญ ทองคำ หรือประกันชีวิตควบการลงทุนที่ให้ทั้งความคุ้มครองชีวิตควบคู่ไปกับการลงทุนในกองทุนรวม ซึ่งเราสามารถจ่ายเบี้ยประกันเพิ่มเติม (Top up) นอกเหนือจากเบี้ยประกันประจำปี เพื่อเพิ่มเงินลงทุนให้พอร์ตเติบโตในระยะยาว

4. วางแผนภาษี (Tax Planning)

          การบริหารจัดการภาษีจะไม่ได้อยู่ที่ขั้นใดขั้นหนึ่งของพีระมิด แต่ควรทำไปพร้อมกันทุกขั้น โดยศึกษาวิธีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพื่อวางแผนล่วงหน้าว่าเราต้องเสียภาษีในปีนั้นมาก-น้อยแค่ไหน และใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีต่าง ๆ ได้อย่างเต็มที่ ไม่ต้องเสียภาษีมากเกินจำเป็น อีกทั้งมีเงินเหลือนำไปออมหรือลงทุนส่วนอื่น ๆ ได้มากขึ้นด้วย 

          สำหรับตัวช่วยลดหย่อนภาษีสำหรับบุคคลธรรมดานั้นมีอยู่หลายกลุ่ม ทั้งค่าลดหย่อนส่วนตัว ค่าลดหย่อนบุตร ประกันสังคม ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินบริจาค ฯลฯ

5. ส่งต่อความมั่งคั่ง (Wealth Transfer)

พีระมิดทางการเงิน

         เราคงไม่อยากให้ทรัพย์สินที่อุตส่าห์เก็บมาทั้งชีวิตตกหล่นหรือสูญหายไป ดังนั้น ในยอดสูงสุดของพีระมิด จึงแนะนำให้ส่งต่อความมั่งคั่งเหล่านี้ด้วยการวางแผนมรดก โดยทำพินัยกรรมระบุว่ามีทรัพย์สินอะไรอยู่บ้าง มีเงินออมและลงทุนไว้ที่ไหนบ้าง และต้องการมอบให้ใคร เพื่อความมั่นใจว่าสมบัติทั้งหมดจะถูกจัดสรรไปตามความประสงค์ของเรา 

          สำหรับพีระมิดทางการเงินที่กล่าวมาก็เป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยให้ตรวจสอบตัวเองว่าได้บริหารจัดการเรื่องเงินให้มีทั้งความมั่นคงและความมั่งคั่งครบถ้วนหรือยัง ซึ่งตรงนี้ไม่ใช่แผนตายตัว สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมของแต่ละคน 

          ทว่าหากไม่แน่ใจว่าจะออมเงินอย่างไร ลงทุนแบบไหน หรือปกป้องความเสี่ยงด้วยวิธีใด อยากให้ลองมาศึกษา "ประกันชีวิตควบการลงทุน" (ยูนิตลิงค์) ดูค่ะ เพราะเป็นประกันชีวิตที่รวมหลักการพีระมิดทางการเงินทุกข้อมาไว้ในผลิตภัณฑ์เดียว ได้ทั้งออมเงินและลงทุนในกองทุนรวมเพื่อสร้างผลตอบแทนในอนาคต ปกป้องความเสี่ยงกรณีเสียชีวิต ใช้ลดหย่อนภาษีได้ รวมทั้งสามารถส่งต่อความมั่งคั่งให้คนข้างหลังในวันที่จากโลกนี้ไปแล้ว  

"โตเกียว บียอนด์" ประกันชีวิตควบการลงทุนมิติใหม่ 
ที่ออกแบบมาเพื่อการลงทุนโดยเฉพาะ

โตเกียว บียอนด์

          ถ้าถามว่าประกันชีวิตควบการลงทุนแผนไหนที่ให้สิทธิประโยชน์อย่างคุ้มค่า นาทีนี้คงต้องยกให้ "โตเกียว บียอนด์ (Tokio Beyond)" จากโตเกียวมารีนประกันชีวิต ประกันชีวิตควบการลงทุนแผนแรกในประเทศไทยที่ออกแบบมาเพื่อการลงทุนโดยเฉพาะ จึงมีความแตกต่างจากประกันชีวิตควบการลงทุนทั่วไป โดยมี 6 จุดเด่นที่น่าสนใจ คือ

1. ไม่มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการประกันภัย สำหรับเบี้ยประกันภัยหลักเพื่อความคุ้มครอง (RPP)

          โดยปกติเบี้ยประกันชีวิตควบการลงทุนในช่วงปีแรก ๆ จะถูกหักบางส่วนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการประกันภัย ค่าการประกันภัย ค่าธรรมเนียมการรักษากรมธรรม์ ค่าธรรมเนียมการบริหารกรมธรรม์ ฯลฯ ส่วนที่เหลือถึงนำไปลงทุนในกองทุนรวมเพื่อสร้างผลตอบแทน 

          แต่สำหรับแผนโตเกียว บียอนด์ ดีกว่าแผนอื่น ๆ เนื่องจากไม่หักค่าใช้จ่ายในการดำเนินการประกันภัย และไม่เก็บค่าธรรมเนียมการรักษากรมธรรม์ ทำให้มีเงินเหลือมาลงทุนได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยตั้งแต่ปีแรก ๆ เมื่อลงทุนได้เร็วขึ้น กรมธรรม์ของเราก็จะมีมูลค่าสูงขึ้น มีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่มากกว่าแผนประกันควบการลงทุนตัวอื่น ๆ ที่ต้องถูกหักค่าใช้จ่ายค่ะ

โตเกียว บียอนด์

2. เลือกวงเงินคุ้มครองชีวิตได้สูงสุด 200 เท่าของเบี้ยประกันภัยหลักเพื่อความคุ้มครอง

          เราสามารถกำหนดได้ว่าเบี้ยประกันที่จ่ายไปนั้น จะให้แบ่งสัดส่วนเพื่อคุ้มครองชีวิตหรือลงทุนเท่าไร ในกรณีต้องการความคุ้มครองสูงก็สามารถเลือกทุนประกันชีวิตหรือจำนวนเงินเอาประกันภัยที่สูงได้ตั้งแต่ 5-200 เท่าของเบี้ยประกันภัยหลักเพื่อความคุ้มครอง เช่น หากจ่ายเบี้ยประกันภัยหลักเพื่อความคุ้มครอง 100,000 บาท จะสามารถเลือกทุนประกันชีวิตได้ตั้งแต่ 500,000 บาท ไปจนถึงสูงสุด 20 ล้านบาท (ขึ้นอยู่กับเพศและอายุของผู้ทำประกัน) โดยยิ่งเลือกความคุ้มครองชีวิตสูงเท่าไร สัดส่วนเงินลงทุนก็จะน้อยลง

          ในขณะเดียวกัน ผู้ทำประกันยังสามารถแนบสัญญาเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ สัญญาเพิ่มเติมโรคร้ายแรง หรือสัญญาเพิ่มเติมอื่น ๆ เพื่อป้องกันความเสี่ยงได้อย่างครอบคลุมทั้งเรื่องชีวิตและสุขภาพ

3. จัดพอร์ตการลงทุนได้เองตามไลฟ์สไตล์

          สำหรับเบี้ยประกันในส่วนที่จะนำไปลงทุนขึ้นอยู่กับเราว่าต้องการลงทุนในกองทุนรวมใดตามความเสี่ยงที่ยอมรับได้ โดยเลือกได้จากกองทุนที่ได้รับการคัดสรรจากบริษัทมาแล้ว และจะกระจายความเสี่ยงด้วยการลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุน DCA (Dollar Cost Average) หรือหากปีไหนต้องการปรับเปลี่ยนพอร์ตการลงทุนก็สับเปลี่ยนกองทุนได้ตามต้องการโดยไม่มีค่าธรรมเนียม อีกทั้งยังสามารถถอนเงินจากพอร์ตลงทุนมาใช้ได้ในยามฉุกเฉินด้วยค่ะ (เงื่อนไขเป็นไปตามที่กำหนด) 

4. ปรับลด หยุดพักชำระเบี้ย หรือเพิ่มเงินลงทุนในพอร์ต (Top up) ได้

          จุดเด่นอีกข้อของประกันชีวิตควบการลงทุนโตเกียว บียอนด์ คือ สามารถปรับเปลี่ยนทุนประกันชีวิตให้สอดคล้องกับความต้องการของแต่ละช่วงชีวิตได้ เช่น คนที่มีอายุมากขึ้นอาจต้องการความคุ้มครองชีวิตลดลงก็สามารถปรับลดในส่วนของทุนประกันชีวิต เพื่อให้มีเงินลงทุนเพิ่มขึ้น หรือแม้กระทั่งหยุดพักชำระเบี้ยประกันภัยชั่วคราวได้ (ภายหลังชำระเบี้ยประกันภัยหลักเพื่อความคุ้มครองครบ 2 ปี และตราบเท่าที่มูลค่ารับซื้อคืนหน่วยลงทุนมีพอหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามตารางค่าธรรมเนียมกรมธรรม์) แต่ยังได้รับความคุ้มครองอย่างต่อเนื่อง ตรงนี้ช่วยให้วางแผนชีวิตง่ายขึ้น โดยไม่ต้องกลัวว่าจะชำระเบี้ยระยะยาวไม่ไหว 

          นอกจากนี้ ถ้าต้องการเพิ่มเงินลงทุนให้กับพอร์ตกองทุนของตัวเองก็สามารถจ่ายเบี้ยประกันส่วนลงทุนเพิ่มเติมจากค่าเบี้ยประกันที่ต้องจ่ายทุกปี  (Top up) โดยเพิ่มขั้นต่ำ 12,000 บาทต่อครั้ง เพื่อให้พอร์ตเติบโตอย่างต่อเนื่อง

5. รับโบนัสพิเศษ 0.25% ต่อปี

          ในกรณีที่ชำระเบี้ยประกันภัยหลักเพื่อความคุ้มครองเป็นปีที่ 10 และก่อนหน้านั้นไม่เคยลดจำนวนเบี้ยประกันฯ ไม่เคยถอนเงินจากการขายคืนหน่วยลงทุน เราจะได้รับโบนัสพิเศษ 0.25% ต่อปี ของมูลค่ารับซื้อคืนหน่วยลงทุนของเบี้ยประกันภัยหลักเพื่อความคุ้มครอง ตั้งแต่ปีที่ชำระเบี้ยปีที่ 10 เป็นต้นไป ทุกปี ทั้งนี้ เป็นไปตามเงื่อนไขกรมธรรม์นะคะ

6. คุ้มครองถึงอายุครบ 99 ปี

          แผนโตเกียว บียอนด์ สามารถสมัครได้ตั้งแต่อายุแรกเกิดจนถึง 70 ปี และให้ความคุ้มครองชีวิตไปยาว ๆ จนถึงอายุครบ 99 ปี หรือตราบเท่าที่มูลค่ารับซื้อคืนหน่วยลงทุนมีพอหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามตารางค่าธรรมเนียมกรมธรรม์ และเมื่อครบกำหนดสัญญาจะได้รับเงินคืนจากมูลค่ารับซื้อคืนหน่วยการลงทุน ณ วันที่ประเมินราคาวันแรก ถัดจากวันครบกำหนดสัญญา 

          แต่ในกรณีที่เสียชีวิตก่อนอายุ 99 ปี ผู้รับผลประโยชน์ที่ระบุไว้ในกรมธรรม์จะได้รับจำนวนเงินเอาประกันภัย บวกด้วยมูลค่ารับซื้อคืนหน่วยลงทุน จึงมั่นใจได้ว่าเราจะมีหลักประกันที่มั่นคงเพื่อคนในครอบครัว 

โตเกียว บียอนด์

          จะเห็นได้ว่า แผนประกันชีวิตควบการลงทุนโตเกียว บียอนด์ มีความคุ้มค่าและให้ผลประโยชน์กับผู้ถือกรมธรรม์ประเภทยูนิตลิงก์มากกว่าที่เคย เหมาะกับคนที่ต้องการเก็บเงินเพื่ออนาคต หรือคนที่มองหาความคุ้มครองให้เป็นหลักประกันสำหรับคนในครอบครัว รวมทั้งคนที่เตรียมตัวเข้าสู่วัยเกษียณ ซึ่งต้องการปกป้องความเสี่ยงให้กับชีวิต พร้อมกับลงทุนสร้างผลตอบแทนไปด้วย 

          นอกจากนี้ เบี้ยประกันภัยในส่วนความคุ้มครองชีวิตสามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 100,000 บาท/ปี (ตามกฎเกณฑ์กรมสรรพากรกำหนด) และเมื่อเราต้องจากโลกนี้ไปก็สามารถส่งต่อมรดกไปยังผู้รับประโยชน์ที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ได้โดยตรง ถือว่าตอบโจทย์ครบทั้งเสริมความมั่นคงให้ชีวิตและสร้างความมั่งคั่งตามหลักการพีระมิดทางการเงินได้ดีทีเดียว 

          ใครสนใจแผนประกันชีวิตควบการลงทุนโตเกียว บียอนด์ สามารถอ่านรายละเอียดและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ tokiomarine.com หรือโทร. 0-2650-1400 โดยควรทำความเข้าใจในเรื่องความคุ้มครอง เงื่อนไขต่าง ๆ และข้อยกเว้นให้ชัดเจน เพื่อผลประโยชน์สูงสุด และขอย้ำว่าการลงทุนมีความเสี่ยง ผลตอบแทนที่ได้รับจะขึ้นอยู่กับผลการดำเนินงานของกองทุน ดังนั้น ควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุนด้วยนะคะ
เรื่องที่คุณอาจสนใจ
How to วางแผนเรื่องเงินและชีวิตให้มั่นคงและมั่งคั่ง ด้วยพีระมิดทางการเงิน อัปเดตล่าสุด 27 ตุลาคม 2566 เวลา 09:16:07 4,109 อ่าน
TOP