ผู้ปกครองท่านใดมีสิทธิรับเงินสงเคราะห์บุตรของประกันสังคม และเงินอุดหนุนบุตร ทีเดียว 2 เด้ง 600 บาท และ 800 บาท รวม 1,400 บาทต่อเดือน เช็กคุณสมบัติเลย
การมีลูกสักคนคงหลีกเลี่ยงไม่ได้กับค่าใช้จ่ายจำนวนมากที่ตามมา แต่ก็ยังได้ผ่อนคลายและเบาลงมากเพราะมีเงินสงเคราะห์บุตรของประกันสังคม และเงินอุดหนุนบุตร ของโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ซึ่งหลายคนยังสงสัยว่าแตกต่างกันอย่างไร โดยสิ่งที่เหมือนกันคือ เป็นการให้เงินช่วยเหลือเด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 6 ขวบ เช่นเดียวกัน แต่มีข้อแตกต่างตรงที่เป็นคนละโครงการกัน ให้ความช่วยเหลือคนละกลุ่ม และจำนวนเงินที่ได้รับแตกต่างกัน ดังนี้
- เงินสงเคราะห์บุตร เป็นของกองทุนประกันสังคม กระทรวงแรงงาน จะให้สิทธิแก่ผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 ในระบบประกันสังคม ซึ่งต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนวันที่ได้รับสิทธิ์ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 เป็นต้นไป จะได้รับเดือนละ 800 บาท
- เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด มีกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นหน่วยงานหลักในการดูแล จะให้สิทธิ์กับเด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจน โดยสมาชิกในครอบครัว มีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่า 100,000 บาท/คน/ปี และไม่ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ ซึ่งจะได้เดือนละ 600 บาท
ผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 ที่ส่งเงินสมทบครบ 12 เดือน ภายใน 36 เดือน และมีบุตรแรกเกิดจนถึงอายุ 6 ขวบ สามารถยื่นขอรับเงินสงเคราะห์บุตรได้เลย
นอกจากนี้ ยังมีสิทธิได้รับเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด ถ้าผู้ประกันตนอยู่ในครอบครัวยากจน สมาชิกในครอบครัวมีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่า 100,000 บาท/คน/ปี และมีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์รับเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด ก็ลงทะเบียนขอรับเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดได้ด้วย
เท่ากับว่าผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือทั้ง 2 ทาง ไม่ว่าจะเป็นเงินสงเคราะห์บุตร และเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด รวมจะได้รับเงินช่วยเหลือเดือนละ 1,400 บาท ต่อบุตร 1 คน
สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยลงทะเบียนขอรับเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด ให้ตรวจสอบคุณสมบัติของตัวเองและบุตรดูก่อนว่าสามารถลงทะเบียนได้หรือไม่
- ต้องมีสัญชาติไทย
- พ่อแม่ของเด็กต้องมีสัญชาติไทย หรือคนใดคนหนึ่งมีสัญชาติไทย
- เด็กเกิดตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2558 เป็นต้นไป จนครบ 6 ปีบริบูรณ์
- อาศัยอยู่กับผู้ปกครองที่อยู่ในครัวเรือนที่มีรายได้น้อย
- ไม่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของหน่วยงานของรัฐ หรือเอกชน
- มีสัญชาติไทย
- เป็นบุคคลที่รับเด็กแรกเกิดไว้ในอุปการะ (ไม่ใช่พ่อแม่ก็ได้)
- เด็กแรกเกิดต้องอาศัยรวมอยู่ด้วย
- อยู่ในครอบครัวที่มีรายได้น้อย คือ สมาชิกในครัวเรือนที่อาศัยอยู่ติดต่อกันมาไม่น้อยกว่า 180 วันในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา มีรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 100,000 บาทต่อคนต่อปี (นำรายได้รวมทั้งครัวเรือน 1 ปี มาหารด้วยจำนวนสมาชิกในครัวเรือน)
- มีประกันสังคม หรือไม่มี ก็สามารถลงทะเบียนได้
- รับราชการก็สามารถลงทะเบียนได้
- หากเคยลงทะเบียนไว้แล้วในปีก่อนหน้า ไม่ต้องมาลงทะเบียนใหม่ โดยจะได้รับโอนเงินต่อเนื่องจนบุตรมีอายุ 6 ปีบริบูรณ์
- ยังไม่เคยลงทะเบียนมาก่อน หรือเพิ่งคลอดบุตรในช่วงปลายปี 2563 ก็สามารถมาลงทะเบียนได้เลยตามสถานที่รับลงทะเบียนต่อไปนี้
- กรุงเทพมหานคร : ลงทะเบียนได้ที่สำนักงานเขตในพื้นที่ที่พักอาศัยอยู่
- เมืองพัทยา : ลงทะเบียนได้ที่ศาลาว่าการเมืองพัทยา
- ส่วนภูมิภาค : ลงทะเบียนที่สำนักงานเทศบาล หรือที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลตามภูมิลำเนา
1. เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 หรือมาตรา 39 โดยไม่รวมผู้ประกันตนมาตรา 40
2. จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทดแทน
3. ต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ยกเว้น บุตรบุญธรรม หรือบุตรซึ่งยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น
4. บุตรมีอายุตั้งแต่แรกเกิด จนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จำนวนคราวละไม่เกิน 3 คน เว้นแต่ผู้ประกันตนเป็นผู้ทุพพลภาพหรือถึงแก่ความตาย ในขณะที่บุตรมีอายุแรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จะมีสิทธิ์ได้รับประโยชน์ทดแทนต่อจนอายุ 6 ปีบริบูรณ์
การมีลูกสักคนคงหลีกเลี่ยงไม่ได้กับค่าใช้จ่ายจำนวนมากที่ตามมา แต่ก็ยังได้ผ่อนคลายและเบาลงมากเพราะมีเงินสงเคราะห์บุตรของประกันสังคม และเงินอุดหนุนบุตร ของโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ซึ่งหลายคนยังสงสัยว่าแตกต่างกันอย่างไร โดยสิ่งที่เหมือนกันคือ เป็นการให้เงินช่วยเหลือเด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 6 ขวบ เช่นเดียวกัน แต่มีข้อแตกต่างตรงที่เป็นคนละโครงการกัน ให้ความช่วยเหลือคนละกลุ่ม และจำนวนเงินที่ได้รับแตกต่างกัน ดังนี้
- เงินสงเคราะห์บุตร เป็นของกองทุนประกันสังคม กระทรวงแรงงาน จะให้สิทธิแก่ผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 ในระบบประกันสังคม ซึ่งต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนวันที่ได้รับสิทธิ์ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 เป็นต้นไป จะได้รับเดือนละ 800 บาท
- เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด มีกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นหน่วยงานหลักในการดูแล จะให้สิทธิ์กับเด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจน โดยสมาชิกในครอบครัว มีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่า 100,000 บาท/คน/ปี และไม่ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ ซึ่งจะได้เดือนละ 600 บาท
ผู้ประกันตนจะรับเงินสงเคราะห์บุตร และเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด ทั้ง 2 อย่างได้ไหม ?
ผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 ที่ส่งเงินสมทบครบ 12 เดือน ภายใน 36 เดือน และมีบุตรแรกเกิดจนถึงอายุ 6 ขวบ สามารถยื่นขอรับเงินสงเคราะห์บุตรได้เลย
นอกจากนี้ ยังมีสิทธิได้รับเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด ถ้าผู้ประกันตนอยู่ในครอบครัวยากจน สมาชิกในครอบครัวมีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่า 100,000 บาท/คน/ปี และมีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์รับเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด ก็ลงทะเบียนขอรับเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดได้ด้วย
เท่ากับว่าผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือทั้ง 2 ทาง ไม่ว่าจะเป็นเงินสงเคราะห์บุตร และเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด รวมจะได้รับเงินช่วยเหลือเดือนละ 1,400 บาท ต่อบุตร 1 คน
ใครลงทะเบียนเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดได้บ้าง ?
สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยลงทะเบียนขอรับเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด ให้ตรวจสอบคุณสมบัติของตัวเองและบุตรดูก่อนว่าสามารถลงทะเบียนได้หรือไม่
เด็กแรกเกิดที่มีสิทธิรับเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด
- ต้องมีสัญชาติไทย
- พ่อแม่ของเด็กต้องมีสัญชาติไทย หรือคนใดคนหนึ่งมีสัญชาติไทย
- เด็กเกิดตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2558 เป็นต้นไป จนครบ 6 ปีบริบูรณ์
- อาศัยอยู่กับผู้ปกครองที่อยู่ในครัวเรือนที่มีรายได้น้อย
- ไม่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของหน่วยงานของรัฐ หรือเอกชน
ผู้ปกครองที่มีสิทธิลงทะเบียนเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด
- มีสัญชาติไทย
- เป็นบุคคลที่รับเด็กแรกเกิดไว้ในอุปการะ (ไม่ใช่พ่อแม่ก็ได้)
- เด็กแรกเกิดต้องอาศัยรวมอยู่ด้วย
- อยู่ในครอบครัวที่มีรายได้น้อย คือ สมาชิกในครัวเรือนที่อาศัยอยู่ติดต่อกันมาไม่น้อยกว่า 180 วันในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา มีรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 100,000 บาทต่อคนต่อปี (นำรายได้รวมทั้งครัวเรือน 1 ปี มาหารด้วยจำนวนสมาชิกในครัวเรือน)
- มีประกันสังคม หรือไม่มี ก็สามารถลงทะเบียนได้
- รับราชการก็สามารถลงทะเบียนได้
ลงทะเบียนอุดหนุนเด็กแรกเกิดที่ไหน ?
- หากเคยลงทะเบียนไว้แล้วในปีก่อนหน้า ไม่ต้องมาลงทะเบียนใหม่ โดยจะได้รับโอนเงินต่อเนื่องจนบุตรมีอายุ 6 ปีบริบูรณ์
- ยังไม่เคยลงทะเบียนมาก่อน หรือเพิ่งคลอดบุตรในช่วงปลายปี 2563 ก็สามารถมาลงทะเบียนได้เลยตามสถานที่รับลงทะเบียนต่อไปนี้
- กรุงเทพมหานคร : ลงทะเบียนได้ที่สำนักงานเขตในพื้นที่ที่พักอาศัยอยู่
- เมืองพัทยา : ลงทะเบียนได้ที่ศาลาว่าการเมืองพัทยา
- ส่วนภูมิภาค : ลงทะเบียนที่สำนักงานเทศบาล หรือที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลตามภูมิลำเนา
คุณสมบัติผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์บุตรจากประกันสังคม ?
1. เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 หรือมาตรา 39 โดยไม่รวมผู้ประกันตนมาตรา 40
2. จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทดแทน
3. ต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ยกเว้น บุตรบุญธรรม หรือบุตรซึ่งยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น
4. บุตรมีอายุตั้งแต่แรกเกิด จนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จำนวนคราวละไม่เกิน 3 คน เว้นแต่ผู้ประกันตนเป็นผู้ทุพพลภาพหรือถึงแก่ความตาย ในขณะที่บุตรมีอายุแรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จะมีสิทธิ์ได้รับประโยชน์ทดแทนต่อจนอายุ 6 ปีบริบูรณ์