ผู้ว่าการ ธปท. ไม่สนับสนุนคริปโต ใช้ชำระเงินตามกฎหมาย มีเหตุผล 3 อย่างคือ ราคาผันผวน มีความเสี่ยงด้านไซเบอร์ และใช้ฟอกเงินได้ แต่ก็เตรียมพร้อมโครงการซีบีดีซี เพื่อรับมือในอนาคต
ช่วงนี้กระแสการใช้คริปโทเคอร์เรนซี หรือสินทรัพย์แบบดิจิทัล เริ่มมีมากขึ้น และเริ่มได้รับความสนใจจากบรรดานักลงทุนในปัจจุบัน ส่วนหลายคนก็คิดว่าในอนาคตข้างหน้าเป็นไปได้ไหมที่จะใช้คริปโตในการใช้จ่ายผ่านระบบเศรษฐกิจ เพื่อเข้าสู่ยุคไร้เงินสดอย่างเต็มตัว
ล่าสุด วันที่ 15 กันยายน 2564 เดลินิวส์ออนไลน์ รายงานว่า นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยในงานสัมมนาหัวข้อ The Future of Financial System อนาคตโลกการเงิน ว่า ตอนนี้มีกระแสชักชวนการลงทุนหรือภัยการเงินดิจิทัลต่าง ๆ จำนวนมาก แต่ประชาชนหลายคนก็ไม่มีความเข้าใจ จึงเกิดความเสี่ยงที่จะถูกหลอกลวงได้ ดังนั้น จึงอยากเตือนประชาชนใช้ความระมัดระวังต่อเรื่องนี้เป็นพิเศษ เช่น การถือครองลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัลต้องระมัดระวังความเสี่ยง หรือถ้ามีคนส่งข้อความผ่าน SMS, เว็บไซต์, อีเมล ต้องระวังการกดลิงก์ เพราะอาจจะถูกดูดข้อมูลส่วนตัวไปให้มิจฉาชีพได้
ในโลกอนาคต ระบบการเงินจะเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ซึ่ง ธปท. จะมีบทบาทและให้ความสำคัญในอนาคต ทั้งเรื่องข้อมูล ทำอย่างไรถึงใช้ได้เต็มประสิทธิภาพและสะดวก การแข่งขันกว้างขึ้น มีการแข่งขันจากผู้เล่นใหม่ ๆ ที่ไม่ใช่ธนาคาร และการสร้างโครงสร้างพื้นฐานให้ผู้เล่นปัจจุบันและผู้เล่นใหม่เข้ามาหลากหลายมากขึ้น สามารถต่อยอดนวัตกรรมได้ เช่น คริปโทเคอร์เรนซี
จากเรื่องดังกล่าวทำให้ ธปท. ต้องเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง จึงได้ทำโครงการซีบีดีซี (CBDC) ขึ้นมา โดยกำลังศึกษาใช้กับประชาชนทั่วไป เพื่อเป็นทางเลือกให้ประชาชนใช้เงินดิจิทัล เนื่องจากปัจจุบัน ธปท. ไม่ได้สนับสนุนให้ใช้คริปโตมาชำระเงินในกฎหมาย เนื่องจากมีราคาผันผวน มีความเสี่ยงด้านไซเบอร์ และอาจถูกใช้ในการฟอกเงินได้
ขณะเดียวกันระบบการเงินไทยจะไม่เหมือนเดิม จะมีผู้เล่นจากอุตสาหกรรมอื่นที่ไม่เกี่ยวกับการเงินข้ามช่องทาง ต่างชาติ ผู้เล่นใหม่อาจไม่มีตัวตน ธุรกิจเชื่อมต่อบล็อกเชน และมีเรื่องดิจิทัลเข้าถึงแบบทุกที่ ทุกเวลา ทุกอุปกรณ์ อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางต่างประเทศก็เพิ่มโจทย์มาว่า ไม่ว่าจะอย่างไร เรื่องสิ่งแวดล้อมก็ต้องเป็นสิ่งที่คำนึงด้วย
ทั้งนี้ CDBC ย่อมาจาก Central Bank Digital Currency คือ สกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลางแต่ละประเทศ การใช้งานไม่ต่างจากเงินสด และเป็นเงินของรัฐ เพียงอยู่ในรูปแบบดิจิทัลที่ไม่ต้องการพิมพ์เงินเท่านั้น
ขอบคุณข้อมูลจาก เดลินิวส์ออนไลน์
ช่วงนี้กระแสการใช้คริปโทเคอร์เรนซี หรือสินทรัพย์แบบดิจิทัล เริ่มมีมากขึ้น และเริ่มได้รับความสนใจจากบรรดานักลงทุนในปัจจุบัน ส่วนหลายคนก็คิดว่าในอนาคตข้างหน้าเป็นไปได้ไหมที่จะใช้คริปโตในการใช้จ่ายผ่านระบบเศรษฐกิจ เพื่อเข้าสู่ยุคไร้เงินสดอย่างเต็มตัว
ล่าสุด วันที่ 15 กันยายน 2564 เดลินิวส์ออนไลน์ รายงานว่า นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยในงานสัมมนาหัวข้อ The Future of Financial System อนาคตโลกการเงิน ว่า ตอนนี้มีกระแสชักชวนการลงทุนหรือภัยการเงินดิจิทัลต่าง ๆ จำนวนมาก แต่ประชาชนหลายคนก็ไม่มีความเข้าใจ จึงเกิดความเสี่ยงที่จะถูกหลอกลวงได้ ดังนั้น จึงอยากเตือนประชาชนใช้ความระมัดระวังต่อเรื่องนี้เป็นพิเศษ เช่น การถือครองลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัลต้องระมัดระวังความเสี่ยง หรือถ้ามีคนส่งข้อความผ่าน SMS, เว็บไซต์, อีเมล ต้องระวังการกดลิงก์ เพราะอาจจะถูกดูดข้อมูลส่วนตัวไปให้มิจฉาชีพได้
ในโลกอนาคต ระบบการเงินจะเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ซึ่ง ธปท. จะมีบทบาทและให้ความสำคัญในอนาคต ทั้งเรื่องข้อมูล ทำอย่างไรถึงใช้ได้เต็มประสิทธิภาพและสะดวก การแข่งขันกว้างขึ้น มีการแข่งขันจากผู้เล่นใหม่ ๆ ที่ไม่ใช่ธนาคาร และการสร้างโครงสร้างพื้นฐานให้ผู้เล่นปัจจุบันและผู้เล่นใหม่เข้ามาหลากหลายมากขึ้น สามารถต่อยอดนวัตกรรมได้ เช่น คริปโทเคอร์เรนซี
จากเรื่องดังกล่าวทำให้ ธปท. ต้องเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง จึงได้ทำโครงการซีบีดีซี (CBDC) ขึ้นมา โดยกำลังศึกษาใช้กับประชาชนทั่วไป เพื่อเป็นทางเลือกให้ประชาชนใช้เงินดิจิทัล เนื่องจากปัจจุบัน ธปท. ไม่ได้สนับสนุนให้ใช้คริปโตมาชำระเงินในกฎหมาย เนื่องจากมีราคาผันผวน มีความเสี่ยงด้านไซเบอร์ และอาจถูกใช้ในการฟอกเงินได้
ขณะเดียวกันระบบการเงินไทยจะไม่เหมือนเดิม จะมีผู้เล่นจากอุตสาหกรรมอื่นที่ไม่เกี่ยวกับการเงินข้ามช่องทาง ต่างชาติ ผู้เล่นใหม่อาจไม่มีตัวตน ธุรกิจเชื่อมต่อบล็อกเชน และมีเรื่องดิจิทัลเข้าถึงแบบทุกที่ ทุกเวลา ทุกอุปกรณ์ อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางต่างประเทศก็เพิ่มโจทย์มาว่า ไม่ว่าจะอย่างไร เรื่องสิ่งแวดล้อมก็ต้องเป็นสิ่งที่คำนึงด้วย
ทั้งนี้ CDBC ย่อมาจาก Central Bank Digital Currency คือ สกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลางแต่ละประเทศ การใช้งานไม่ต่างจากเงินสด และเป็นเงินของรัฐ เพียงอยู่ในรูปแบบดิจิทัลที่ไม่ต้องการพิมพ์เงินเท่านั้น