องค์การเภสัชกรรม แจงละเอียดยิบ หากไทยเข้าร่วม CPTTP เสียประโยชน์ 3 ด้าน กระทบสิทธิบัตรและยา อุตสาหกรรมยาถูกทำลาย กระทบการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ และการจัดซื้อ-จัดจ้างโดยรัฐ

โดยองค์การเภสัชกรรม ได้จัดทำข้อโต้แย้งต่าง ๆ ที่เป็นข้อกังวล โดยชี้ให้เห็นถึงข้อเสีย 3 ด้าน รวม 8 ข้อ ดังนี้
ประการแรก กระทบด้านสิทธิบัตรและยา ได้แก่
1. การใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร (CL) โดยรัฐ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงยา มีขอบเขตของการใช้ลดลง ไม่สามารถใช้กรณี Public non-commercial use (การใช้งานสาธารณะที่ไม่ใช่เชิงพาณิชย์) เหมือนที่ผ่านมา เพราะจะสุ่มเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องโดยกระบวนการอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ กระทบต่อการเข้าถึงยาของประชาชน
2. การจำหน่ายยา Generic ช้าลงและยากขึ้น เนื่องจากต้องมีกระบวนการเชื่อมโยงการทะเบียนยา และกระบวนการสิทธิบัตร รวมถึงกระบวนการอุทธรณ์ ทำให้ยา Generic เข้าสู่ตลาดได้ช้าลง
3. ไทยไม่ได้ประโยชน์ในด้านราคายาจากการลดภาษีศุลกากร เนื่องจากแหล่งวัตถุดิบยาของไทยอยู่นอกประเทศสมาชิก CPTPP
4. ต้องเปิดตลาดของการจัดซื้อ-จัดจ้างภาครัฐ ให้กับอุตสาหกรรมจากต่างประเทศ ให้เข้ามาแข่งขันอย่างเท่าเทียม รัฐจึงไม่สามารถใช้นโยบายบัญชีนวัตกรรมไทย หรือระเบียบพัสดุ ในการส่งเสริมอุตสาหกรรมยาในประเทศได้ ผู้ผลิตยาอาจต้องปรับเปลี่ยนสถานะจาก "ผู้ผลิต" เป็น "ผู้นำเข้ายาจากต่างประเทศ" อุตสาหกรรมยาในประเทศจะถูกทำลาย และไทยจะไม่สามารถพึ่งพาตนเองด้านยาได้ โดยเฉพาะเมื่อเกิดวิกฤตด้านสาธารณสุข

ภาพจาก Denis Costille / Shutterstock.com
1. การเข้าร่วม CPTPP จะทำให้ไทยต้องเข้าเป็นภาคีในสนธิสัญญาคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ (UPOV1991) ซึ่งเพิ่มอำนาจการผูกขาดสายพันธุ์พืชใหม่เป็น 20-25 ปี ห้ามเกษตรกรเก็บพันธุ์พืชไปปลูกต่อ รวมทั้งขยายอำนาจการผูกขาดจากเดิมเฉพาะสายพันธุ์พืชไปยังผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ ส่งผลกระทบต่อการผูกขาดยา ผ่านการผูกขาดสายพันธุ์พืชด้วย และกระทบต่อการพัฒนาขีดความสามารถของนักปรับปรุงพันธุ์รายย่อยและเกษตรกร ซึ่งรวมถึงเกษตรกรผู้ปลูกสมุนไพร ส่งผลต่อต้นทุนการเพาะปลูกและราคาสมุนไพร การแข่งขันและการต่อยอด การค้นคว้าวิจัยต่าง ๆ
2. การเข้าร่วม CPTPP ยังทำให้ไทยต้องเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาบูดาเปสต์ (Budapest Treaty) ว่าด้วยการยอมรับระหว่างประเทศในการฝากเก็บจุลชีพเพื่อการจดสิทธิบัตร และต้องแก้กฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อกลไกการแบ่งปันผลประโยชน์ ทั้งในเรื่องทรัพยากรจุลชีพ และการคุ้มครองพืชท้องถิ่นในประเทศไทย
ประการที่ 3 คือ กระทบต่อการจัดซื้อ-จัดจ้างโดยรัฐ ได้แก่
1. ในการกำหนดมูลค่าขั้นต่ำ และการขอเวลาปรับตัวในการเปิดตลาดจัดซื้อ-จัดจ้างโดยรัฐ ตามที่กรมเจรจาฯ แจ้งนั้น เรายังไม่ทราบว่าจะสามารถกำหนดได้ที่มูลค่าเท่าใด และจะได้รับการผ่อนผันหรือไม่ เนื่องจากไทยตามเข้าร่วมภายหลัง ดังนั้น หากการเจรจาขอผ่อนผันในประเด็นอ่อนไหวต่าง ๆ ไม่ได้ ไทยไม่ควรเข้าร่วมภาคี
2. การยกเลิกสิทธิพิเศษของรัฐวิสาหกิจ
ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจขององค์การเภสัชกรรม
ทำให้ไม่สามารถดำเนินภารกิจเชิงสังคมในการรองรับนโยบายด้านยา เวชภัณฑ์
และวัคซีนที่จำเป็นต่อระบบสาธารณสุขของประเทศได้ เช่น
การเกิดโรคระบาดโควิด-19

ภาพจาก Burnsten / Shutterstock.com
ขอบคุณข้อมูลจาก กรุงเทพธุรกิจ