แบงก์ชาติ ออกแนวทางช่วยลูกหนี้ เปลี่ยนการคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระแบบใหม่ เริ่มใช้ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2563 เป็นธรรมกับลูกหนี้มากขึ้น ผิดนัดแล้วไม่ต้องเป็นหนี้หัวโต
วันที่ 8 พฤษภาคม 2563 นางธัญญนิตย์ นิยมการ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน 2 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า นับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2563 การคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้แบบใหม่ของสถาบันการเงินเริ่มใช้ไปแล้ว เป็นการคิดบนฐานของเงินต้นของค่างวดที่ผิดนัดชำระจริง
การปรับปรุงในครั้งนี้ ช่วยให้เป็นธรรมมากขึ้น ช่วยลดภาระของประชาชน รวมทั้งลดโอกาสที่ลูกหนี้จะไม่สามารถชำระหนี้คืนได้ และเป็นแนวปฏิบัติที่ดีที่ต่างประเทศใช้กัน โดยประชาชนจะได้รับสิทธิ์การปรับปรุง การคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้แบบใหม่อัตโนมัติ โดยไม่ต้องไปขอแก้ไขสัญญา
เปรียบเทียบแนวทางเดิมกับแนวทางใหม่
แนวทางเดิม คือ ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้จะคิดบนฐานของ "เงินต้นคงค้างทั้งหมด" สมมติว่าเรากู้ซื้อบ้าน 20 ปี จำนวน 240 งวด ในช่วง 2 ปีแรก ผ่อนชำระดีมาโดยตลอด งวดที่ 25 มีปัญหาผ่อนชำระไม่ได้ สถาบันการเงินจะคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้บนฐานของเงินต้นคงค้างทั้งหมด หมายถึงเงินต้นในค่างวดที่ 25 ถึงงวดที่ 240 ทั้งหมด
แนวทางใหม่ คือ การคำนวณที่คิดบนฐานของ "เงินต้นในค่างวดที่มีการผิดนัดชำระ" เท่านั้น โดยไม่รวมเงินต้นในค่างวดตามสัญญาในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง พูดง่าย ๆ คือ คิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระเฉพาะเงินต้นในงวดที่ 25 เท่านั้น โดยจะไม่รวมเงินต้นในงวดที่ 26 ถึงงวดที่ 240
หลักคิดสำคัญในเรื่องนี้คือ การกำหนดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ ต้องคำนึงถึงความเสียหายจริงที่เกิดขึ้นกับเจ้าหนี้ (credit risk) และความสามารถในการจ่ายของลูกหนี้ไปด้วยกัน ถ้าสูงเกินไป อาจเป็นต้นตอที่ทำให้ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ได้ (affordability risk)
"การปรับปรุงครั้งนี้นอกจากจะทำให้เป็นธรรมมากขึ้น
และช่วยลดภาระจ่ายของประชาชนแล้ว
จะทำให้ประชาชนเชื่อมั่นมากขึ้นด้วยว่าระบบการธนาคารของไทยมีแนวปฏิบัติที่โปร่งใส
ตรงไปตรงมา ซึ่งหมายความว่าการดำเนินธุรกิจของสถาบันการเงินจะมั่นคงขึ้นในระยะยาว" นางธัญญนิตย์ กล่าว
ผิดนัดชำระหนี้ก่อน 1 พฤษภาคม 2563 จะได้ใช้แนวทางใหม่หรือไม่
สำหรับการผิดนัดชำระหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 1 พฤษภาคม 2563 สถาบันการเงินสามารถนำหลักการคำนวณดอกเบี้ยผิดนัดแบบใหม่มาใช้ประกอบการพิจารณายกเว้น หรือผ่อนปรนดอกเบี้ยปรับผิดนัดชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ได้ตามสมควร
หากประชาชนมีข้อสงสัยหรือไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถร้องเรียนได้ที่ ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงินของแบงก์ชาติ โทร. 1213
![ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้แบบใหม่ ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้แบบใหม่]()
![ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้แบบใหม่ ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้แบบใหม่]()

วันที่ 8 พฤษภาคม 2563 นางธัญญนิตย์ นิยมการ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน 2 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า นับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2563 การคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้แบบใหม่ของสถาบันการเงินเริ่มใช้ไปแล้ว เป็นการคิดบนฐานของเงินต้นของค่างวดที่ผิดนัดชำระจริง
การปรับปรุงในครั้งนี้ ช่วยให้เป็นธรรมมากขึ้น ช่วยลดภาระของประชาชน รวมทั้งลดโอกาสที่ลูกหนี้จะไม่สามารถชำระหนี้คืนได้ และเป็นแนวปฏิบัติที่ดีที่ต่างประเทศใช้กัน โดยประชาชนจะได้รับสิทธิ์การปรับปรุง การคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้แบบใหม่อัตโนมัติ โดยไม่ต้องไปขอแก้ไขสัญญา

เปรียบเทียบแนวทางเดิมกับแนวทางใหม่
แนวทางเดิม คือ ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้จะคิดบนฐานของ "เงินต้นคงค้างทั้งหมด" สมมติว่าเรากู้ซื้อบ้าน 20 ปี จำนวน 240 งวด ในช่วง 2 ปีแรก ผ่อนชำระดีมาโดยตลอด งวดที่ 25 มีปัญหาผ่อนชำระไม่ได้ สถาบันการเงินจะคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้บนฐานของเงินต้นคงค้างทั้งหมด หมายถึงเงินต้นในค่างวดที่ 25 ถึงงวดที่ 240 ทั้งหมด
แนวทางใหม่ คือ การคำนวณที่คิดบนฐานของ "เงินต้นในค่างวดที่มีการผิดนัดชำระ" เท่านั้น โดยไม่รวมเงินต้นในค่างวดตามสัญญาในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง พูดง่าย ๆ คือ คิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระเฉพาะเงินต้นในงวดที่ 25 เท่านั้น โดยจะไม่รวมเงินต้นในงวดที่ 26 ถึงงวดที่ 240

หลักคิดสำคัญในเรื่องนี้คือ การกำหนดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ ต้องคำนึงถึงความเสียหายจริงที่เกิดขึ้นกับเจ้าหนี้ (credit risk) และความสามารถในการจ่ายของลูกหนี้ไปด้วยกัน ถ้าสูงเกินไป อาจเป็นต้นตอที่ทำให้ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ได้ (affordability risk)

ผิดนัดชำระหนี้ก่อน 1 พฤษภาคม 2563 จะได้ใช้แนวทางใหม่หรือไม่
สำหรับการผิดนัดชำระหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 1 พฤษภาคม 2563 สถาบันการเงินสามารถนำหลักการคำนวณดอกเบี้ยผิดนัดแบบใหม่มาใช้ประกอบการพิจารณายกเว้น หรือผ่อนปรนดอกเบี้ยปรับผิดนัดชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ได้ตามสมควร
หากประชาชนมีข้อสงสัยหรือไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถร้องเรียนได้ที่ ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงินของแบงก์ชาติ โทร. 1213


>> อ่านข้อมูลและติดตามสถานการณ์ COVID-19 << ได้ที่นี่