ปลัดกระทรวงการคลังชี้ คอนโดไม่ควรเสียภาษีในลักษณะเชิงพาณิชย์ ล้านละ 3,000 บาทต่อปี หากเป็นการปล่อยเช่าเพื่ออยู่อาศัย เร่งชี้แจงทุกฝ่ายให้เข้าใจถูกต้องตรงกัน
![ภาษีคอนโด ภาษีคอนโด]()

วันที่ 25 ธันวาคม 2562 สำนักข่าว TNN ช่อง 16 รายงานว่า นายประสงค์ พูนธเนศ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ขณะนี้มีความกังวลจากประชาชนต้องเสียภาษีที่ดิน โดยเฉพาะผู้ที่ถือครองคอนโดมิเนียม ซึ่งได้รับหนังสือแจ้งให้ไปเสียภาษี ระบุว่า ต้องเสียภาษีในลักษณะที่ดินอื่น ๆ หรือเชิงพาณิชย์ ถ้าไม่ต้องการเสียภาษีเชิงพาณิชย์ต้องไปแจ้งว่าเป็นบ้านที่พักอาศัย ทั้งนี้หากถูกระบุว่าเป็นประเภทอื่น ๆ ต้องเสียภาษีล้านละ 3,000 บาทต่อปี แต่ถ้าเป็นบ้านพักอาศัยหลังแรกได้รับการยกเว้นภาษี แต่ถ้าเป็นหลังที่ 2 เป็นต้นไป จะเสียภาษีล้านละ 200 บาทต่อปี
อย่างไรก็ตาม กระทรวงการคลังรับทราบความกังวลของประชาชนผู้เสียภาษีแล้ว และได้มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ไปหารือกับ กทม. และกระทรวงมหาดไทย เพื่อหาทางออกดังกล่าว เพราะมองว่าคอนโดมิเนียมทุกห้องไม่ควรต้องเสียภาษีในลักษณะเชิงพาณิชย์ แม้จะมีการนำไปให้เช่าต่อเพื่ออยู่อาศัยก็ตาม ส่วนกรณีผู้ถือครองที่ดินจำนวนมาก เช่น เป็นหมื่นไร่ แสนไร่ มีการตีความว่าต้องเสียภาษีในเชิงพาณิชย์หากนำไปปล่อยเช่า โดยมองว่ากรณีดังกล่าว หากให้เช่าที่ดินเพื่อไปใช้ในทางเกษตร ควรคิดภาษีในอัตราของที่ดินเกษตร ไม่ใช่ที่ดินเพื่อพาณิชย์

โดยในการเก็บภาษีอยากให้ดูการใช้ประโยชน์สุดท้ายของที่ดินมากกว่า ว่าเป็นการใช้ที่ดินเพื่ออยู่อาศัย หรือเกษตร ส่วนสิ่งปลูกสร้างให้ดูกฎหมายขออนุญาตสิ่งปลูกสร้างระบุถึงวัตถุประสงค์ในการขออนุญาตไว้อย่างชัดเจนว่าเป็นที่พักอาศัย หรือเชิงพาณิชย์ให้เช่า เช่น หอพัก, อพาร์ตเมนต์ หรือโรงแรม ดังนั้น หากพบคอนโดมิเนียมใช้ผิดประเภท นำไปทำโรงแรม นำไปทำหอพักให้เช่า ต้องให้แจ้งเปลี่ยนวัตถุประสงค์การใช้ เพื่อเสียภาษีให้ถูกต้อง
ทั้งนี้ เจตนารมณ์ของกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนำมาใช้คือ ต้องการให้ใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์ และความสะดวก ต้องไม่สร้างภาระกับผู้เสียภาษีและผู้เก็บภาษี ดังนั้น ในระหว่างที่เลื่อนการจัดเก็บภาษีจากเดือนเมษายน 2563 เป็นเดือนสิงหาคม 2563 จึงขอให้กระทรวงการคลังไปทำความเข้าใจกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกครั้ง
แม้ว่า กทม. จะเปิดให้เจ้าของคอนโดมิเนียมไปแจ้งได้ว่าเป็นที่พักอาศัย เพื่อจะได้ไม่ต้องเสียภาษีเชิงพาณิชย์ แต่ไม่อยากไปเพิ่มขั้นตอนให้ยุ่งยาก เพราะคอนโดมิเนียม หากเป็นการปล่อยเช่าเพื่อพักอาศัย ต้องเสียภาษีในอัตราของที่อยู่อาศัย ยกเว้นนำไปใช้วัตถุประสงค์อื่น เช่น โรงแรม หรือหอพัก ต้องแจ้งขอเปลี่ยนประเภท
ในส่วนของกฎหมายคอนโดมิเนียมนั้น ไม่อนุญาตให้ดำเนินการเชิงพาณิชย์ ดังนั้น ในการเก็บภาษีน่าจะชัดเจน ยกเว้นหากนำไปเป็นร้านอาหาร หรือร้านสะดวกซื้อ ตรงนี้สามารถเก็บภาษีในเชิงพาณิชย์ได้อยู่แล้ว โดยขณะนี้มีความสับสบในเรื่องการเก็บภาษีดังกล่าวพอสมควร ดังนั้น กระทรวงการคลังต้องเร่งชี้แจงเพื่อให้ผู้เสียภาษี รวมทั้งผู้ที่ต้องทำหน้าที่เก็บภาษี คือ กทม. และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เข้าใจให้ถูกต้องตรงกัน
ทั้งนี้ เจตนารมณ์ของกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนำมาใช้คือ ต้องการให้ใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์ และความสะดวก ต้องไม่สร้างภาระกับผู้เสียภาษีและผู้เก็บภาษี ดังนั้น ในระหว่างที่เลื่อนการจัดเก็บภาษีจากเดือนเมษายน 2563 เป็นเดือนสิงหาคม 2563 จึงขอให้กระทรวงการคลังไปทำความเข้าใจกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกครั้ง
แม้ว่า กทม. จะเปิดให้เจ้าของคอนโดมิเนียมไปแจ้งได้ว่าเป็นที่พักอาศัย เพื่อจะได้ไม่ต้องเสียภาษีเชิงพาณิชย์ แต่ไม่อยากไปเพิ่มขั้นตอนให้ยุ่งยาก เพราะคอนโดมิเนียม หากเป็นการปล่อยเช่าเพื่อพักอาศัย ต้องเสียภาษีในอัตราของที่อยู่อาศัย ยกเว้นนำไปใช้วัตถุประสงค์อื่น เช่น โรงแรม หรือหอพัก ต้องแจ้งขอเปลี่ยนประเภท
ในส่วนของกฎหมายคอนโดมิเนียมนั้น ไม่อนุญาตให้ดำเนินการเชิงพาณิชย์ ดังนั้น ในการเก็บภาษีน่าจะชัดเจน ยกเว้นหากนำไปเป็นร้านอาหาร หรือร้านสะดวกซื้อ ตรงนี้สามารถเก็บภาษีในเชิงพาณิชย์ได้อยู่แล้ว โดยขณะนี้มีความสับสบในเรื่องการเก็บภาษีดังกล่าวพอสมควร ดังนั้น กระทรวงการคลังต้องเร่งชี้แจงเพื่อให้ผู้เสียภาษี รวมทั้งผู้ที่ต้องทำหน้าที่เก็บภาษี คือ กทม. และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เข้าใจให้ถูกต้องตรงกัน

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก