มีผลตี 5 พรุ่งนี้
เวลาได้ยินข่าวนี้ทีไร ใครมีรถขับต้องรีบเช็กเกย์น้ำมันและกระเป๋าตังค์ทันที ว่าเอาไงดีว้า แต่พอเลี้ยวเข้าปั๊ม จะควักเงินจ่ายค่าน้ำมัน ก็มักจะมีเสียงบ่น "น้ำมันแพงจัง" ดังขึ้น พร้อมกับการเปรียบเทียบ "เฮ้อ..ทำไมราคาน้ำมันบ้านเราไม่ถูกเหมือนที่มาเลเซียบ้างนะ"
จริงสิ ! เคยสงสัยไหมว่า ทำไมคนถึงมักจะนึกเปรียบเทียบราคาน้ำมันไทยกับมาเลเซีย ทั้งที่ไทยก็อยู่ติดประเทศอื่นอีก ทั้ง ลาว กัมพูชา พม่า ก็น่าจะราคาเท่า ๆ กันทั้งหมดหรือไม่ ทำไมมาเลเซียถึงถูกกว่าไทยถึง 10 บาทได้ไง
เอาเป็นว่าถ้าใครยังคาใจประเด็นนี้อยู่ และอยากรู้คำตอบ ก็ลองตามกระปุกดอทคอมมาค้นหาความจริงไปด้วยกันว่ามีเหตุผลอะไรที่ทำให้ราคาน้ำมันของทั้งสองประเทศแตกต่างกัน

และนอกจากเรื่องค่าใช้จ่ายในกระบวนการกลั่นที่ทำให้น้ำมันสำเร็จรูปมีราคาแพงกว่าน้ำมันดิบแล้ว ยังมีปัจจัยหลัก ๆ อีก 6 ข้อที่มีผลโดยตรงต่อราคาน้ำมันสำเร็จรูปของไทยและมาเลเซีย อย่างที่เราจะเล่าให้ฟัง...
1. ไทยผลิตน้ำมันได้น้อยกว่ามาเลเซีย

ถึงแม้ประเทศไทยจะมีแหล่งน้ำมันดิบที่สามารถขุดเจาะน้ำมันและกลั่นได้เอง แต่ก็ไม่เพียงพอกับปริมาณความต้องการใช้ในประเทศ โดยข้อมูลจาก BP Statistical Review of World Energy 2019 (ที่มา) ระบุว่า ไทยสามารถผลิตน้ำมันดิบได้เฉลี่ย 228,000 บาร์เรล/วัน (แบ่งเป็นน้ำมันดิบ 129,000 บาร์เรล และคอนเดนเสท 99,000 บาร์เรล : ที่มา) ดูตัวเลขเหมือนจะเยอะใช่ไหม แต่อย่าลืมว่าเราต้องนำน้ำมันดิบไปกลั่นอีกนะถึงนำมาใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งหลังจากกลั่นแล้วจะเหลือน้ำมันที่ใช้ได้จริงน้อยลงไปอีก ขณะที่ปริมาณน้ำมันสำรองของไทยก็มีเพียงแค่ 300 ล้านบาร์เรลเท่านั้น
กลับกัน ถ้าเราไปดูตัวเลขของมาเลเซียจะพบว่า มาเลเซียสามารถผลิตน้ำมันดิบได้ถึง 646,000 บาร์เรล/วันโดยเฉลี่ย มากกว่าไทยถึง 3 เท่า และยังมีปริมาณน้ำมันสำรองถึง 3,000 ล้านบาร์เรล มากกว่าไทยตั้ง 10 เท่า นั่นจึงทำให้ประเทศมาเลเซียมีน้ำมันเหลือใช้สบาย ๆ แถมยังสามารถส่งออกสร้างรายได้ให้ประเทศ จึงไม่น่าแปลกใจที่น้ำมันในมาเลเซียจะขายถูกกว่าบ้านเรา
2. คนไทยใช้น้ำมันมากกว่ามาเลเซีย

นอกจากความสามารถในการผลิตน้ำมันไม่เท่ากันแล้ว ปริมาณการใช้น้ำมันในประเทศยังแตกต่างกันอีกต่างหาก โดยประเทศมาเลเซีย มีประชากรประมาณ 32 ล้านคน เฉลี่ยใช้น้ำมันวันละ 814,000 บาร์เรล และยังมีปริมาณน้ำมันสำรองในประเทศอยู่มาก น้ำมันที่เขาผลิตได้จึงเพียงพอต่อความต้องการใช้
ในขณะที่ไทยเรามีประชากรเกือบ 70 ล้านคน มากกว่ามาเลเซีย 2 เท่า ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันภายในประเทศสูงถึงเฉลี่ยวันละ 1,478,000 บาร์เรล แต่เราผลิตได้เพียง 2 แสนกว่าบาร์เรล หรือแค่ 20% ของปริมาณที่ใช้ในแต่ละวันเท่านั้นเอง เมื่อมีไม่พอใช้ก็ต้องนำเข้าจากต่างประเทศอีกกว่า 80% เพื่อทดแทนส่วนที่ขาดไป และอย่างที่ทราบว่าราคาน้ำมันตลาดโลกขึ้น-ลง ผันผวนตามสถานการณ์ตลอดทั้งปีเลย ต้นทุนราคาน้ำมันที่ไทยนำเข้ามาจึงไม่นิ่ง ถ้าช่วงไหนราคาน้ำมันโลกพุ่งสูง ต้นทุนน้ำมันไทยก็สูงตามไปด้วย
สรุปง่าย ๆ ก็คือ มาเลเซีย ผลิตน้ำมันได้เยอะ มีปริมาณน้ำมันสำรองมาก แต่ใช้น้อยกว่าที่มี ต่างจากประเทศไทยที่ผลิตน้ำมันได้น้อย ปริมาณน้ำมันสำรองน้อย แต่จำนวนประชากรมากกว่า ใช้น้ำมันมากกว่า จึงต้องนำเข้าน้ำมันปริมาณมาก ทำให้ต้นทุนน้ำมันของไทยแพงกว่ามาเลเซียนั่นเอง
3. น้ำมันไทยต้องจ่ายภาษี-มาเลเซีย ไม่เก็บภาษี
อีกจุดที่ไทย-มาเลเซียไม่เหมือนกันก็คือ โครงสร้างราคาน้ำมัน โดยราคาน้ำมันขายปลีกที่มาเลเซีย จะคิดจากราคาหน้าโรงกลั่นสิงคโปร์ บวกค่าพรีเมียม ค่าการตลาดต่าง ๆ แต่ไม่มีเก็บภาษีเพิ่มเติม (ยกเว้นน้ำมันเบนซิน Ron 97 ที่เก็บภาษี 6%)
ยกตัวอย่างราคาน้ำมันเบนซิน 95 (Ron 95) ในมาเลเซียวันที่ 11 ตุลาคม 2562 ราคาขายหน้าโรงกลั่นอยู่ที่ลิตรละประมาณ 12-13 บาท บวกกับค่าการตลาดอีกประมาณ 0.32 ริงกิต/ลิตร (คิดเป็นเงินไทยประมาณ 2-3 บาท) ทำให้ราคาขายปลีกอยู่ที่ลิตรละ 2.08 ริงกิต หรือประมาณ 15.17 บาท
สำหรับประเทศไทย หลังจากนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศซึ่งมีต้นทุนสูงมาแล้ว จะต้องนำมาบวกค่ากองทุน ค่าการตลาด และภาษีอีก 3 ส่วน คือ ภาษีสรรพสามิต, ภาษีเทศบาล และภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น ลองดูตัวอย่างโครงสร้างราคาขายปลีกน้ำมันของวันที่ 11 ตุลาคม 2562

- น้ำมันเบนซิน (ULG) ราคาขายหน้าโรงกลั่น 15.3567 บาท แต่ราคาขายปลีกลิตรละ 34.66 บาท ในจำนวนนี้เป็นค่าภาษี 9.4175 บาท คิดเป็น 27% ของราคาขายปลีกหน้าปั๊ม
- น้ำมันดีเซล (H-Diesel) ราคาขายหน้าโรงกลั่น 15.3955 บาท แต่ราคาขายปลีกลิตรละ 25.69 บาท ในจำนวนนี้เป็นเงินภาษี 8.2697 บาท คิดเป็น 32% ของราคาขายปลีกหน้าปั๊ม
4. ไทยเก็บเงินเข้ากองทุนฯ–มาเลเซียมีรัฐช่วยอุดหนุน

โดยปัจจุบัน (ตามประกาศ กบง. วันที่ 17 กันยายน 2562) มีการเก็บเงินเข้ากองทุนฯ จากน้ำมันเบนซิน แก๊สโซฮอล์ 91, 95 น้ำมันดีเซลหมุนช้า แต่สำหรับแก๊สโซฮอล์ E20 E85 น้ำมันดีเซล B10, B20 ไม่ต้องจ่ายเงินเข้ากองทุน แต่ได้รับเงินชดเชยจากกองทุน เพื่อพยุงราคาน้ำมันไว้ ตามอัตรานี้

5. คุณภาพน้ำมันเบนซิน 95 ของไทยดีกว่า
อย่างไรก็ตาม มาเลเซียก็จะมีแผนจะนำน้ำมันเบนซิน 95 มาตรฐานยูโร 4 มาใช้ในปี 2563 เช่นกัน ซึ่งอาจส่งผลให้ราคาน้ำมันเบนซินในประเทศมาเลเซียปรับขึ้นก็เป็นได้
นอกจากนี้ น้ำมันเบนซินไทย เป็นแก๊สโซฮอล์มีหลายเกรด ไม่สามารถเทียบกับของมาเลเซียได้
6. ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน


คำตอบก็คือน้ำมันดิบที่ไทยผลิตได้จากแต่ละแหล่งนั้น มีคุณสมบัติต่างกัน บางส่วนมีคุณภาพไม่เหมาะกับมาตรฐานของประเทศ ไม่คุ้มค่าที่จะนำมากลั่นเอง แต่อาจเป็นที่ต้องการของต่างประเทศ เราจึงส่งออกเพื่อสร้างรายได้เข้ามาแทน ซึ่งหลายประเทศที่ขุดเจอน้ำมันดิบไม่ตรงกับความต้องการในประเทศก็ส่งออกแบบนี้เหมือนกัน
แล้วน้ำมันดิบที่ไทยนำเข้ามาล่ะ ? ...จริง ๆ แล้วเป็นคนละชนิดกับน้ำมันที่ส่งออกนะ เพราะน้ำมันดิบที่ไทยนำเข้ามาจะเหมาะกับการกลั่นและใช้ประโยชน์ในประเทศมากกว่า เมื่อนำมากลั่นจนได้น้ำมันสำเร็จรูปแต่ละชนิดแล้ว จะมีน้ำมันบางชนิดที่กลั่นได้เกินความต้องการใช้ในประเทศ เพราะในการกลั่นเราควบคุมตัวเลขเป๊ะ ๆ ไม่ได้ว่าต้องได้น้ำมันเบนซินเท่าไร ดีเซลเท่าไร หากผลิตได้มากเกินกว่าที่คนไทยใช้ ก็ต้องนำน้ำมันส่วนเกินส่งออกไปขายอีกทีเพื่อสร้างรายได้เข้าประเทศอีกทาง

- รัฐบาลไม่มีงบประมาณชดเชยราคาน้ำมัน กรณีราคาน้ำมันในตลาดโลกผันผวน
- ราคาน้ำมันเบนซินลดลง จากลิตรละ 34-36 บาท อาจจะเหลือลิตรละ 17-19 บาทเท่านั้น (ข้อมูลเดือนตุลาคม 2562) เพราะไม่ต้องเสียภาษีและส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง แต่ถ้าราคาตลาดโลกปรับสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว รัฐจะไม่สามารถพยุงราคาไว้ชั่วคราวได้
- ราคาน้ำมันดีเซลลอยตัว ภาคขนส่งต้องได้รับผลกระทบแน่นอน เพราะตอนนี้ยังนำเงินจากกองทุนน้ำมันฯ มาอุดหนุนน้ำมันดีเซลไม่ให้ขายเกินลิตรละ 30 บาท แต่หากยกเลิกกองทุนน้ำมันฯ ก็จะไม่มีเงินส่วนนี้ช่วยพยุงราคา เมื่อราคาน้ำมันตลาดโลกปรับตัวสูง เราก็ต้องปล่อยให้ราคาน้ำมันดีเซลในประเทศลอยตัวไปตามกลไกของตลาดโลก
- แก๊สโซฮอล์ E20 และ E85 ขึ้นราคา โดย E20 อาจปรับขึ้นประมาณ 1-2 บาท/ลิตร และ E85 มีโอกาสขึ้นอีกราว ๆ 6-8 บาท/ลิตร เพราะไม่มีเงินจากกองทุนน้ำมันฯ มาชดเชยให้เราใช้แก๊สโซฮอล์ราคาถูกเหมือนทุกวันนี้ ส่วนน้ำมันชนิดอื่นที่เคยจ่ายเงินเข้ากองทุน ก็จะมีราคาถูกลง
- ราคาสินค้า-อาหารมีแนวโน้มแพงขึ้น ตามการปรับขึ้นของราคาน้ำมันดีเซล และก๊าซ LPG ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ในภาคขนส่งและอุตสาหกรรม ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น และอาจนำไปสู่ภาวะเงินเฟ้อได้เลย
- ไทยต้องนำเข้าน้ำมันเพิ่มขึ้น เพราะเมื่อน้ำมันบางชนิดมีราคาถูกลง โดยเฉพาะเบนซิน คนจะยิ่งใช้น้ำมันฟุ่มเฟือยขึ้น หรือคนที่เคยใช้แก๊สโซฮอล์อาจเปลี่ยนกลับมาใช้น้ำมันเบนซินที่ถูกกว่าแทนก็ได้ และเราต้องสูญเสียเงินอีกมหาศาลเพื่อนำเข้าน้ำมันมาเพิ่มอีก เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการ
- คนใช้พลังงานทดแทนน้อยลง ทำให้เกษตรกรที่เพาะปลูกพืชเพื่อนำมาผลิตแก๊สโซฮอล์ หรือไบโอดีเซลสูญเสียรายได้ รวมทั้งอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ใช้พลังงานทดแทนก็มีแนวโน้มที่ยอดขายจะตกลง เพราะเติมน้ำมันเบนซินถูกกว่า
- เงินภาษีที่นำมาพัฒนาประเทศหายไปส่วนหนึ่งจากการเลิกเก็บภาษีน้ำมัน รู้ไหมว่าในปีงบประมาณ 2561 กรมสรรพสามิตสามารถจัดเก็บภาษีน้ำมันได้ 224,883.12 ล้านบาท (ที่มา) ซึ่งเป็นเงินจำนวนไม่น้อยเลย จึงมีความเป็นไปได้ที่รัฐอาจจะเรียกเก็บภาษีจากสินค้าและบริการอื่น ๆ ทดแทนส่วนที่ขาดหายไป