ธนาคารแห่งประเทศไทย เผย ปัญหาหนี้ครัวเรือนของไทยสูงเป็นอันดับ 2 ของเอเชีย ชี้เป็นหนี้ตั้งแต่อายุยังน้อย เกษียณแล้วก็ยังใช้หนี้ไม่หมด
นอกจากนี้ ปัญหาหนี้ครัวเรือนของไทยก็ยังสูงเป็นอันดับที่สองของเอเชีย รองจากประเทศเกาหลีใต้อีกด้วย ซึ่งคนไทยเป็นหนี้ตั้งแต่อายุยังน้อย ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ ของคนไทยอายุ 30 ปี มีหนี้ 1 ใน 5 ของกลุ่มคนอายุ 29 ปี เป็นหนี้เสีย (NPLs) โดยจากคนไทย 21 ล้านคน ที่มีหนี้กว่า 3 ล้านคน หรือ 15.9 เปอร์เซ็นต์ เป็นหนี้เสีย
เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2562 เฟซบุ๊ก ธนาคารแห่งประเทศไทย - Bank of
Thailand เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์หนี้ครัวเรือนไทยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
ระบุว่า หนี้ครัวเรือนต่อ GDP ของไทย เพิ่มขึ้นกว่า 25 เปอร์เซ็นต์ ภายใน
10 ปี จากปี พ.ศ. 2552 ค่า GDP อยู่ที่ 53.3 เปอร์เซ็นต์ เพิ่มขึ้นเป็น 78.6
เปอร์เซ็นต์ของ GDP ในปี 2561
นอกจากนี้ ปัญหาหนี้ครัวเรือนของไทยก็ยังสูงเป็นอันดับที่สองของเอเชีย รองจากประเทศเกาหลีใต้อีกด้วย ซึ่งคนไทยเป็นหนี้ตั้งแต่อายุยังน้อย ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ ของคนไทยอายุ 30 ปี มีหนี้ 1 ใน 5 ของกลุ่มคนอายุ 29 ปี เป็นหนี้เสีย (NPLs) โดยจากคนไทย 21 ล้านคน ที่มีหนี้กว่า 3 ล้านคน หรือ 15.9 เปอร์เซ็นต์ เป็นหนี้เสีย
ทั้งนี้ คนไทยอายุ 60-69 ปี
มีหนี้เฉลี่ย 453,438 บาทต่อราย และคนไทยอายุ 70-79 ปี มีหนี้เฉลี่ย
287,932 บาทต่อราย ทำให้คนไทยเป็นหนี้นานขึ้น
แม้เกษียณแล้วก็ยังใช้หนี้ไม่หมด