ก่อนตัดสินใจเลือกทำธุรกิจแฟรนไชส์ ต้องทำความเข้าใจและเลือกประเภทธุรกิจ โดยเปรียบเทียบข้อดีและข้อจำกัดก่อนตัดสินใจลงทุน
แต่ใช่ว่าทุกแฟรนไชส์จะประสบความสำเร็จราบรื่น อีกทั้งแต่ละแฟรนไชส์มีกฎเกณฑ์และระบบการดำเนินธุรกิจที่แตกต่างกัน ดังนั้น กระปุกดอทคอม มีคำแนะนำจาก K-Expert ธนาคารกสิกรไทย เอาไว้พิจารณาก่อนตัดสินใจเลือกทำธุรกิจแฟรนไชส์ ว่าจำเป็นต้องทำความเข้าใจอะไรบ้าง
ธุรกิจแฟรนไชส์ เป็นรูปแบบธุรกิจที่ใช้วิธีการขายสิทธิ์ดำเนินงานหรือเครื่องหมายการค้าให้กับผู้ที่สนใจ สำหรับผู้ที่ขายสิทธิ์นี้หรือเจ้าของเครื่องหมายการค้า (แบรนด์) เรียกว่า Franchisor และผู้ได้รับสิทธิ์หรือตัวเรา เรียกว่า Franchisee โดยที่ผู้รับสิทธิ์จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเพื่อแลกกับการได้รับสิทธิ์ในการดำเนินธุรกิจ
1. การเรียนรู้กระบวนการทำธุรกิจภายใต้เครื่องหมายการค้า ผู้รับสิทธิ์จะได้รับการฝึกฝนทักษะที่จำเป็นเกี่ยวกับธุรกิจนั้น ๆ เช่น การทำอาหารและเครื่องดื่ม การบริหารจัดการร้านค้า หรือความรู้ความเข้าใจด้านบัญชี เป็นต้น
2. สิทธิ์ในการขายสินค้าและบริการที่ตกลงกัน เช่น สิทธิ์การขายผลิตภัณฑ์ภายใต้เครื่องหมายการค้าของแฟรนไชส์
3. การสนับสนุนต่าง ๆ เช่น การฝึกอบรมพนักงาน หรือทำบัญชี เป็นต้น
1. ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ (Franchise Fee) ซึ่งอาจเปรียบได้กับค่าธรรมเนียมแรกเข้า เพื่อแลกกับเครื่องหมายการค้า ความรู้ เทคนิคการบริหารธุรกิจจากแฟรนไชส์ซอร์
2. ค่าธรรมเนียมสิทธิ์ (Royalty Fee) เป็นค่าตอบแทนที่คิดเป็นสัดส่วนต่อเดือนหรือต่อปี เช่น คิดจากยอดสั่งซื้อ ยอดขาย หรือผลกำไรจากการดำเนินธุรกิจ
1. ขาดไอเดีย มีธุรกิจจำนวนมากที่ขายสิทธิ์ให้กับผู้ที่สนใจ เช่น ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม เป็นต้น ดังนั้น หากยังไม่แน่ใจ อาจจะเริ่มต้นด้วยการมองหาธุรกิจที่ประสบความสำเร็จปัจจุบัน
2. ขาดประสบการณ์ กว่าที่เจ้าของธุรกิจต่าง ๆ นั้นจะเปิดสิทธิ์ให้ผู้ที่สนใจ จะต้องดำเนินธุรกิจมาจนประสบความสำเร็จหรือเป็นที่รู้จักก่อน การซื้อแฟรนไชส์จึงเปรียบเสมือนการถ่ายโอนประสบการณ์ของผู้ที่ประสบความสำเร็จมาสู่ผู้ที่ต้องการเริ่มต้นทำธุรกิจ
3. ขาดเงินทุน ปัจจุบันสถาบันการเงินมักมีสินเชื่อรองรับกับผู้ที่ต้องการเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์ โดยเฉพาะผู้ลงทุนที่มีเงินจำกัดจึงสามารถเริ่มต้นธุรกิจได้ไม่ยาก โดยไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์ในการทำธุรกิจมาก่อน
1. เลือกจากความชอบ ถึงแม้ว่าธุรกิจแฟรนไชส์มีระบบการดำเนินงานที่ดี ช่วยประหยัดเวลาในการลองผิดลองถูก แต่ผู้ลงทุนก็จำเป็นต้องทุ่มเทเวลาให้กับการดำเนินธุรกิจภายใต้ระบบแฟรนไชส์ซึ่งเปรียบเสมือนธุรกิจตนเอง ดังนั้น ผู้ซื้อจึงจำเป็นต้องมีความชื่นชอบและสนใจในตัวธุรกิจนั้น ๆ
1. ติดต่อโดยตรงกับธุรกิจนั้น ๆ เช่น หากพบธุรกิจที่ตนเองสนใจสามารถสอบถามโดยตรงกับบริษัทที่เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น
2. ติดต่อกับสถาบันการเงิน โดยส่วนใหญ่สถาบันการเงินมักมีเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ในการอนุมัติสินเชื่อให้กับธุรกิจแฟรนไชส์ ดังนั้น การค้นหาธุรกิจผ่านสถาบันการเงินเป็นการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของผู้ขายสิทธิ์แฟรนไชส์ได้ในระดับหนึ่ง
ทั้งนี้ สถาบันการเงินจะอนุมัติสินเชื่อให้กับบุคคลที่มีคุณสมบัติตามเงื่อนไขและต้องได้รับสิทธิ์แฟรนไชส์เรียบร้อยแล้ว
2. ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ทำการสอบถามรายละเอียดค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บครั้งแรก สัดส่วนการแบ่งผลตอบแทน เป็นต้น
3. เงื่อนไขการดำเนินงานต้องชัดเจน การตรวจสอบรายละเอียดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิ์ในการขายผลิตภัณฑ์และบริการ การสั่งซื้อวัตถุดิบ ระยะเวลาของสัญญา เป็นต้น จะช่วยให้แฟรนไชส์ซีเข้าใจเงื่อนไขและปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
4. การสนับสนุนต่าง ๆ โดยเฉพาะแฟรนไชส์ขนาดใหญ่ที่มีระบบการดำเนินงานซับซ้อน การเริ่มต้นธุรกิจในช่วงต้น ผู้ลงทุนจำเป็นต้องได้รับการฝึกทักษะที่จำเป็น ตลอดจนการวิเคราะห์และการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นภายหลังดำเนินธุรกิจ หรือในบางครั้งแฟรนไชส์ซอร์อาจช่วยสนับสนุนการหาทำเลที่เหมาะสม ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้แฟรนไชส์ซีนั้นประสบความสำเร็จ
นอกจากการศึกษารายละเอียดดังกล่าว ผู้ลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์ควรเข้าเยี่ยมชมกิจการ เพื่อศึกษารายละเอียดกระบวนการจัดการร้านค้า หรือหาโอกาสทดลองซื้อสินค้าและบริการของแฟรนไชส์ที่สนใจ เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ
ถึงแม้ว่าแฟรนไชส์จะมีระบบที่ดี ช่วยทำให้ผู้ลงทุนประสบความสำเร็จและเป็นเจ้าของธุรกิจได้อย่างราบรื่น แต่ผู้ลงทุนหรือนักธุรกิจแฟรนไชส์จำเป็นต้องทำความเข้าใจและจัดแบ่งเวลาในการทำธุรกิจให้ดี เพราะการเตรียมความพร้อมที่ดีย่อมช่วยเพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จได้ง่ายขึ้น
การเริ่มต้นธุรกิจโดยขาดประสบการณ์ หรือมีความเชี่ยวชาญแต่ขาดเงินทุน อาจเป็นอุปสรรคของหลาย ๆ คน การหาตัวช่วยอย่าง "แฟรนไชส์" ถือเป็นทางเลือกเพื่อแก้ข้อจำกัดดังกล่าวได้ดี เพราะเป็นธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมาก่อน มีระบบการจัดการที่ดี ช่วยย่นระยะเวลาการลองผิดลองถูกในช่วงเริ่มต้นธุรกิจได้ ซึ่งเปรียบเสมือนการซื้อความเชี่ยวชาญมาดำเนินการต่อ อีกทั้งยังได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากธนาคาร
แต่ใช่ว่าทุกแฟรนไชส์จะประสบความสำเร็จราบรื่น อีกทั้งแต่ละแฟรนไชส์มีกฎเกณฑ์และระบบการดำเนินธุรกิจที่แตกต่างกัน ดังนั้น กระปุกดอทคอม มีคำแนะนำจาก K-Expert ธนาคารกสิกรไทย เอาไว้พิจารณาก่อนตัดสินใจเลือกทำธุรกิจแฟรนไชส์ ว่าจำเป็นต้องทำความเข้าใจอะไรบ้าง
ทำความรู้จักธุรกิจแฟรนไชส์
ธุรกิจแฟรนไชส์ เป็นรูปแบบธุรกิจที่ใช้วิธีการขายสิทธิ์ดำเนินงานหรือเครื่องหมายการค้าให้กับผู้ที่สนใจ สำหรับผู้ที่ขายสิทธิ์นี้หรือเจ้าของเครื่องหมายการค้า (แบรนด์) เรียกว่า Franchisor และผู้ได้รับสิทธิ์หรือตัวเรา เรียกว่า Franchisee โดยที่ผู้รับสิทธิ์จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเพื่อแลกกับการได้รับสิทธิ์ในการดำเนินธุรกิจ
สิทธิ์อะไรบ้างที่ได้รับจากแฟรนไชส์ซอร์
1. การเรียนรู้กระบวนการทำธุรกิจภายใต้เครื่องหมายการค้า ผู้รับสิทธิ์จะได้รับการฝึกฝนทักษะที่จำเป็นเกี่ยวกับธุรกิจนั้น ๆ เช่น การทำอาหารและเครื่องดื่ม การบริหารจัดการร้านค้า หรือความรู้ความเข้าใจด้านบัญชี เป็นต้น
2. สิทธิ์ในการขายสินค้าและบริการที่ตกลงกัน เช่น สิทธิ์การขายผลิตภัณฑ์ภายใต้เครื่องหมายการค้าของแฟรนไชส์
3. การสนับสนุนต่าง ๆ เช่น การฝึกอบรมพนักงาน หรือทำบัญชี เป็นต้น
ค่าธรรมเนียมที่ผู้รับสิทธิ์ต้องจ่าย
1. ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ (Franchise Fee) ซึ่งอาจเปรียบได้กับค่าธรรมเนียมแรกเข้า เพื่อแลกกับเครื่องหมายการค้า ความรู้ เทคนิคการบริหารธุรกิจจากแฟรนไชส์ซอร์
2. ค่าธรรมเนียมสิทธิ์ (Royalty Fee) เป็นค่าตอบแทนที่คิดเป็นสัดส่วนต่อเดือนหรือต่อปี เช่น คิดจากยอดสั่งซื้อ ยอดขาย หรือผลกำไรจากการดำเนินธุรกิจ
ทั้งนี้ แต่ละแฟรนไชส์อาจมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกัน ดังนั้น ก่อนตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์ต้องสอบถามและตรวจสอบเงื่อนไขต่าง ๆ ให้ครบถ้วน
ใครบ้างที่เหมาะกับการเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์ ?
1. ขาดไอเดีย มีธุรกิจจำนวนมากที่ขายสิทธิ์ให้กับผู้ที่สนใจ เช่น ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม เป็นต้น ดังนั้น หากยังไม่แน่ใจ อาจจะเริ่มต้นด้วยการมองหาธุรกิจที่ประสบความสำเร็จปัจจุบัน
2. ขาดประสบการณ์ กว่าที่เจ้าของธุรกิจต่าง ๆ นั้นจะเปิดสิทธิ์ให้ผู้ที่สนใจ จะต้องดำเนินธุรกิจมาจนประสบความสำเร็จหรือเป็นที่รู้จักก่อน การซื้อแฟรนไชส์จึงเปรียบเสมือนการถ่ายโอนประสบการณ์ของผู้ที่ประสบความสำเร็จมาสู่ผู้ที่ต้องการเริ่มต้นทำธุรกิจ
3. ขาดเงินทุน ปัจจุบันสถาบันการเงินมักมีสินเชื่อรองรับกับผู้ที่ต้องการเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์ โดยเฉพาะผู้ลงทุนที่มีเงินจำกัดจึงสามารถเริ่มต้นธุรกิจได้ไม่ยาก โดยไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์ในการทำธุรกิจมาก่อน
เลือกแฟรนไชส์อย่างไรดี ?
1. เลือกจากความชอบ ถึงแม้ว่าธุรกิจแฟรนไชส์มีระบบการดำเนินงานที่ดี ช่วยประหยัดเวลาในการลองผิดลองถูก แต่ผู้ลงทุนก็จำเป็นต้องทุ่มเทเวลาให้กับการดำเนินธุรกิจภายใต้ระบบแฟรนไชส์ซึ่งเปรียบเสมือนธุรกิจตนเอง ดังนั้น ผู้ซื้อจึงจำเป็นต้องมีความชื่นชอบและสนใจในตัวธุรกิจนั้น ๆ
2. เลือกจากเทรนด์ ปัจจุบันพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การเลือกธุรกิจที่มีแนวโน้มเติบโตโดดเด่นในอนาคต ย่อมช่วยเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จมากขึ้น โดยอาจมองหาจากแฟรนไชส์ที่เป็นที่นิยมของลูกค้าอย่างต่อเนื่องก็ได้
3. เลือกจากงบประมาณ โดยแบ่งตามมูลค่าเงินลงทุน เช่น
ทั้งนี้ ผู้ลงทุนสามารถขอสินเชื่อแฟรนไชส์ได้สูงสุดถึง 80% ของมูลค่าเงินลงทุนที่แฟรนไชส์ระบุ ตัวอย่าง เช่น มูลค่าเงินลงทุน 1,000,000 บาท ผู้ลงทุนอาจสามารถขอสินเชื่อได้สูงสุด 800,000 บาท ส่วนที่เหลือผู้ลงทุนจำเป็นต้องใช้เงินลงทุนของตนเอง นอกจากนั้นแล้ว ผู้ลงทุนจำเป็นต้องมีเงินทุนของตนเองเพื่อสำรองไว้ใช้หมุนเวียนในธุรกิจด้วย
รู้ได้อย่างไรว่าธุรกิจไหนขายสิทธิ์แฟรนไชส์ ?
1. ติดต่อโดยตรงกับธุรกิจนั้น ๆ เช่น หากพบธุรกิจที่ตนเองสนใจสามารถสอบถามโดยตรงกับบริษัทที่เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น
2. ติดต่อกับสถาบันการเงิน โดยส่วนใหญ่สถาบันการเงินมักมีเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ในการอนุมัติสินเชื่อให้กับธุรกิจแฟรนไชส์ ดังนั้น การค้นหาธุรกิจผ่านสถาบันการเงินเป็นการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของผู้ขายสิทธิ์แฟรนไชส์ได้ในระดับหนึ่ง
ทั้งนี้ สถาบันการเงินจะอนุมัติสินเชื่อให้กับบุคคลที่มีคุณสมบัติตามเงื่อนไขและต้องได้รับสิทธิ์แฟรนไชส์เรียบร้อยแล้ว
เช็กให้ชัวร์ก่อนตัดสินใจ
หลังจากที่เลือกประเภทธุรกิจที่สนใจแล้ว ผู้ลงทุนจำเป็นต้องสอบถามรายละเอียดต่าง ๆ เพื่อทำความเข้าใจเงื่อนไขและใช้เปรียบเทียบก่อนตัดสินใจเลือกแฟรนไชส์ เช่น
1. ประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจของแฟรนไชส์ซอร์ เพราะหากเจ้าของสิทธิ์มีประสบการณ์และมีความชำนาญ ย่อมช่วยถ่ายทอดความรู้และเพิ่มโอกาสให้แฟรนไซส์ซีนั้นประสบความสำเร็จตามไปด้วย
3. เงื่อนไขการดำเนินงานต้องชัดเจน การตรวจสอบรายละเอียดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิ์ในการขายผลิตภัณฑ์และบริการ การสั่งซื้อวัตถุดิบ ระยะเวลาของสัญญา เป็นต้น จะช่วยให้แฟรนไชส์ซีเข้าใจเงื่อนไขและปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
4. การสนับสนุนต่าง ๆ โดยเฉพาะแฟรนไชส์ขนาดใหญ่ที่มีระบบการดำเนินงานซับซ้อน การเริ่มต้นธุรกิจในช่วงต้น ผู้ลงทุนจำเป็นต้องได้รับการฝึกทักษะที่จำเป็น ตลอดจนการวิเคราะห์และการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นภายหลังดำเนินธุรกิจ หรือในบางครั้งแฟรนไชส์ซอร์อาจช่วยสนับสนุนการหาทำเลที่เหมาะสม ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้แฟรนไชส์ซีนั้นประสบความสำเร็จ
นอกจากการศึกษารายละเอียดดังกล่าว ผู้ลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์ควรเข้าเยี่ยมชมกิจการ เพื่อศึกษารายละเอียดกระบวนการจัดการร้านค้า หรือหาโอกาสทดลองซื้อสินค้าและบริการของแฟรนไชส์ที่สนใจ เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ
ถึงแม้ว่าแฟรนไชส์จะมีระบบที่ดี ช่วยทำให้ผู้ลงทุนประสบความสำเร็จและเป็นเจ้าของธุรกิจได้อย่างราบรื่น แต่ผู้ลงทุนหรือนักธุรกิจแฟรนไชส์จำเป็นต้องทำความเข้าใจและจัดแบ่งเวลาในการทำธุรกิจให้ดี เพราะการเตรียมความพร้อมที่ดีย่อมช่วยเพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จได้ง่ายขึ้น
K-Expert Action
- ศึกษารายละเอียดเงื่อนไขและสอบถามข้อมูลจากผู้มีประสบการณ์ ก่อนตัดสินใจเลือกแฟรนไชส์ที่ตรงกับความต้องการ
- เลือกทำเลให้เหมาะกับธุรกิจแฟรนไชส์ที่เลือกทำช่วยเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จมากขึ้น
ขอขอบคุณข้อมูลจาก