ตอบคำถามที่หลายคนสงสัย เติมน้ำมัน 1 ลิตร มีค่าอะไรบ้าง ทำไมราคาน้ำมันไทยถึงแพง กว่าจะมาถึงปั๊ม ต้องผ่านอะไรมาบ้าง ?
ในภาวะที่ราคาน้ำมันตลาดโลกสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกระทบมาถึงราคาขายปลีกน้ำมันในไทยที่แพงขึ้นตามไปด้วย แต่เรื่องนี้ก็นำมาด้วยการถกเถียงในสังคมว่า ทำไมราคาน้ำมันไทยถึงได้มีราคาสูงถึงขนาดนี้ ยิ่งเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย หรือเมียนมา ที่ราคาน้ำมันถูกกว่าไทยมากด้วยแล้ว ยิ่งเกิดข้อสงสัยว่าเป็นเพราะอะไร ทำไมคนไทยถึงเติมน้ำมันแพงกว่าประเทศอื่น กระปุกดอทคอม จึงจะมาคลายข้อสงสัยนี้ ให้ทุกคนได้เข้าใจกันชัด ๆ
เติมน้ำมัน 1 ลิตร ต้องจ่ายค่าอะไรบ้าง
- ภาษีสรรพสามิต เนื่องจากรัฐมองว่าน้ำมันเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย จึงต้องมีการเก็บภาษีสรรพสามิต เพื่อนำเงินมาพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ ซึ่งน้ำมันแต่ละชนิดจะมีอัตราเรียกเก็บที่แตกต่างกันไป
- ภาษีเทศบาล เรียกเก็บเพื่อเป็นเงินอุดหนุนและดูแลในพื้นที่ที่มีโรงกลั่นตั้งอยู่
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม คิดเพิ่มจากราคาขายส่งและขายปลีก เช่นเดียวกับสินค้าอื่น ๆ ทั่วไป ซึ่งปัจจุบันเก็บอยู่ที่ 7%
3. เงินกองทุน : ประกอบด้วย 2 ส่วน
- เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อเป็นเงินสำรองไว้ใช้ในยามที่ราคาน้ำมันมีความผันผวน คือเมื่อราคาน้ำมันตลาดโลกสูงเกินไป ก็จะใช้เงินส่วนนี้เข้ามาพยุงราคาขายปลีกในประเทศไว้นั่นเอง ซึ่งน้ำมันแต่ละชนิดจะมีอัตราเรียกเก็บที่แตกต่างกัน
- เงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อนำไปส่งเสริมด้านพลังงานทดแทนในประเทศ โดยน้ำมันทุกชนิดโดนเก็บเท่ากันในอัตรา 0.10 บาท/ลิตร
4. ค่าการตลาด : คือส่วนที่เป็นเหมือนกำไรของธุรกิจค้าส่ง-ค้าปลีกน้ำมัน ซึ่งผู้ประกอบการสามารถกำหนดเองได้อย่างเสรี แต่ถึงอย่างนั้นก็มีกลไกตลาดเข้ามาควบคุมเช่นกัน เพราะหากผู้ค้ารายใดปรับค่าการตลาดสูงจนเกินไป ก็มีโอกาสที่จะขายน้ำมันไม่ได้ จากการที่ปั๊มอื่นมีราคาขายที่ถูกกว่า
ดังนั้น จึงทำให้ราคาสุดท้ายหน้าปั๊มของน้ำมันดีเซล ขายอยู่ที่ 28.49 บาท/ลิตร
สรุปโครงสร้างราคาน้ำมันในประเทศไทย (ข้อมูล ณ วันที่ 29 เมษายน 2562)
ทำไมราคาน้ำมันในมาเลเซียถูกกว่าไทย
เมื่อเปรียบเทียบราคาน้ำมันในอาเซียนแล้ว จะพบว่าประเทศเพื่อนบ้านข้าง ๆ ของเราอย่างมาเลเซีย กลับมีราคาน้ำมันถูกกว่าไทยถึง 10 กว่าบาท โดยน้ำมันในมาเลเซีย เฉลี่ยแล้วจะถูกว่าไทยประมาณ 50-60% ทั้งที่ราคาต้นทุนน้ำมันดิบ ราคาหน้าโรงกลั่น และค่าการตลาดของผู้ค้าของไทยและมาเลเซีย ไม่ได้แตกต่างกันเลย
แต่สิ่งที่ทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันของไทยแพงกว่านั้น เป็นเพราะว่าไทยเป็นประเทศผู้นำเข้าน้ำมันดิบ โดยน้ำมันที่ใช้ในประเทศกว่า 87% จำเป็นต้องนำเข้ามาทั้งนั้น มีเพียง 13% ที่ผลิตเองได้ ต่างจากมาเลเซียที่เป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ในภูมิภาค และมีรายได้หลักมาจากการส่งออกน้ำมันดิบ
เห็นได้จากปริมาณสำรองน้ำมันของมาเลเซียที่มีถึง 3,800 ล้านบาร์เรล แต่ไทยมีแค่ 500 ล้านบาร์เรลเท่านั้น จึงต้องนำเข้าน้ำมันมากกว่าส่งออก ทำให้โครงสร้างราคาน้ำมันของทั้ง 2 ประเทศมีความแตกต่างกันนั่นเอง เมื่อมาเลเซียผลิตน้ำมันและส่งออกได้มากกว่าไทยหลายเท่า รัฐจึงนำเงินเข้ามาอุดหนุนภาษีน้ำมัน ทำให้คนมาเลเซียไม่ต้องเสียภาษีน้ำมัน เป็นเหตุให้ราคาขายปลีกน้ำมันในมาเลเซียยิ่งถูกลงไปอีก
อย่างไรก็ดี หากมองในภาพรวมแล้ว ราคาน้ำมันไทยเทียบกับประเทศอื่นในอาเซียน ก็มีทั้งประเทศที่ถูกกว่าและแพงกว่าไทย ซึ่งน้ำมันไทยไม่ได้แพงกว่าทุกประเทศอย่างที่หลายคนเข้าใจ
ทำไมไทยไม่อุดหนุนราคาน้ำมัน เหมือนประเทศอื่นบ้าง
หากไทยปรับโครงสร้างราคาน้ำมันให้เหมือนมาเลเซีย โดยยกเลิกการเก็บภาษีต่าง ๆ ถึงแม้จะทำให้คนไทยใช้น้ำมันถูกลงกว่าครึ่งก็จริง แต่สิ่งที่จะตามมาคือ รัฐบาลขาดรายได้จำนวนมหาศาลเพื่อใช้ในการพัฒนาประเทศ และต้องอย่าลืมว่าไทยเป็นประเทศผู้นำเข้าน้ำมันดิบ หากปล่อยให้ราคาน้ำมันถูกจนเกินไป คนก็จะใช้อย่างไม่รู้คุณค่า ทำให้ต้องนำเข้าน้ำมันมากขึ้น ซึ่งยิ่งนำเข้ามามากเท่าไหร่ ก็จะส่งผลให้ไทยเสียดุลการค้ามากเท่านั้น ซึ่งจะมีผลต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย
นอกจากนี้ การที่ไทยไม่ใช่ผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องเจอกับความผันผวนของราคาน้ำมันในตลาดโลก เพราะฉะนั้น หากเราไม่มีเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองไว้ หากเกิดเหตุการณ์ที่ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นมาก ๆ เราก็จะไม่มีเงินสำรองเพื่อช่วยรักษาสมดุลของราคาน้ำมันในประเทศ จนอาจทำให้เกิดวิกฤตราคาน้ำมันก็เป็นได้
สุดท้ายเชื่อว่าทุกคนคงอยากใช้น้ำมันในราคาถูกที่สุดอยู่แล้ว แต่ก็ต้องเข้าใจ ราคาน้ำมัน มีปัจจัยหลายตัวมาเกี่ยวข้อง และก็ไม่ใช่แค่ประเทศไทยที่มีปัญหาน้ำมันแพง แต่หลาย ๆ ประเทศก็ประสบปัญหานี้ไม่แพ้กันเลย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
เติมน้ำมัน 1 ลิตร ต้องจ่ายค่าอะไรบ้าง
ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าราคาน้ำมันขายปลีกหน้าปั๊มน้ำมันนั้น ไม่ใช่ราคาหน้าโรงกลั่น แต่เป็นราคาที่ผ่านผู้เกี่ยวข้องถึง 4 กลุ่มด้วยกัน ได้แก่ โรงกลั่นน้ำมัน, ผู้ค้าน้ำมันขายส่ง, ปั๊มขายปลีกน้ำมัน และรัฐบาลที่ทำหน้าที่เก็บภาษี เพราะฉะนั้น ราคาน้ำมัน 1 ลิตรที่ขายในหน้าปั๊ม จึงประกอบด้วยค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ดังนี้
1. ราคาหน้าโรงกลั่น : เป็นส่วนที่ผู้ประกอบการโรงกลั่น จะได้รับเงินส่วนนี้ไป ซึ่งไทยอ้างอิงจากราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นตามตลาดสิงคโปร์ เนื่องจากเป็นตลาดกลางในภูมิภาคนี้ ซึ่งเป็นราคาที่คิดจากต้นทุนเนื้อน้ำมันดิบ บวกด้วยค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของโรงกลั่นเข้าไป เช่น ค่าการกลั่น ต้นทุนค่าขนส่ง เป็นต้น
2. ภาษี : เป็นส่วนที่รัฐบาลเรียกเก็บเพิ่มเติมจากราคาน้ำมัน เพื่อนำไปเป็นรายได้ในการพัฒนาประเทศ ประกอบด้วย ภาษีสรรพสามิต, ภาษีเทศบาล และภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
- ภาษีเทศบาล เรียกเก็บเพื่อเป็นเงินอุดหนุนและดูแลในพื้นที่ที่มีโรงกลั่นตั้งอยู่
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม คิดเพิ่มจากราคาขายส่งและขายปลีก เช่นเดียวกับสินค้าอื่น ๆ ทั่วไป ซึ่งปัจจุบันเก็บอยู่ที่ 7%
3. เงินกองทุน : ประกอบด้วย 2 ส่วน
- เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อเป็นเงินสำรองไว้ใช้ในยามที่ราคาน้ำมันมีความผันผวน คือเมื่อราคาน้ำมันตลาดโลกสูงเกินไป ก็จะใช้เงินส่วนนี้เข้ามาพยุงราคาขายปลีกในประเทศไว้นั่นเอง ซึ่งน้ำมันแต่ละชนิดจะมีอัตราเรียกเก็บที่แตกต่างกัน
- เงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อนำไปส่งเสริมด้านพลังงานทดแทนในประเทศ โดยน้ำมันทุกชนิดโดนเก็บเท่ากันในอัตรา 0.10 บาท/ลิตร
4. ค่าการตลาด : คือส่วนที่เป็นเหมือนกำไรของธุรกิจค้าส่ง-ค้าปลีกน้ำมัน ซึ่งผู้ประกอบการสามารถกำหนดเองได้อย่างเสรี แต่ถึงอย่างนั้นก็มีกลไกตลาดเข้ามาควบคุมเช่นกัน เพราะหากผู้ค้ารายใดปรับค่าการตลาดสูงจนเกินไป ก็มีโอกาสที่จะขายน้ำมันไม่ได้ จากการที่ปั๊มอื่นมีราคาขายที่ถูกกว่า
ตัวอย่าง การคำนวณราคาน้ำมันดีเซล (วันที่ 29 เมษายน 2562) ที่มีราคาขายปลีก 28.49 บาท/ลิตร ว่ามาจากส่วนประกอบอะไรบ้าง
- ราคาหน้าโรงกลั่น 17.5954 บาท
- ภาษีสรรพสามิต 5.9800 บาท
- ภาษีเทศบาล 0.5980 บาท
- กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง 0.2 บาท
- กองทุนอนุรักษ์พลังงาน 0.1 บาท
- ภาษี VAT ราคาขายส่ง 1.7131 บาท
- ภาษี VAT ราคาขายปลีก 0.1507 บาท
- ค่าการตลาด 2.1528 บาท
- ภาษีสรรพสามิต 5.9800 บาท
- ภาษีเทศบาล 0.5980 บาท
- กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง 0.2 บาท
- กองทุนอนุรักษ์พลังงาน 0.1 บาท
- ภาษี VAT ราคาขายส่ง 1.7131 บาท
- ภาษี VAT ราคาขายปลีก 0.1507 บาท
- ค่าการตลาด 2.1528 บาท
สรุปโครงสร้างราคาน้ำมันในประเทศไทย (ข้อมูล ณ วันที่ 29 เมษายน 2562)
ภาพจาก สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
ทำไมราคาน้ำมันในมาเลเซียถูกกว่าไทย
เมื่อเปรียบเทียบราคาน้ำมันในอาเซียนแล้ว จะพบว่าประเทศเพื่อนบ้านข้าง ๆ ของเราอย่างมาเลเซีย กลับมีราคาน้ำมันถูกกว่าไทยถึง 10 กว่าบาท โดยน้ำมันในมาเลเซีย เฉลี่ยแล้วจะถูกว่าไทยประมาณ 50-60% ทั้งที่ราคาต้นทุนน้ำมันดิบ ราคาหน้าโรงกลั่น และค่าการตลาดของผู้ค้าของไทยและมาเลเซีย ไม่ได้แตกต่างกันเลย
แต่สิ่งที่ทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันของไทยแพงกว่านั้น เป็นเพราะว่าไทยเป็นประเทศผู้นำเข้าน้ำมันดิบ โดยน้ำมันที่ใช้ในประเทศกว่า 87% จำเป็นต้องนำเข้ามาทั้งนั้น มีเพียง 13% ที่ผลิตเองได้ ต่างจากมาเลเซียที่เป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ในภูมิภาค และมีรายได้หลักมาจากการส่งออกน้ำมันดิบ
เห็นได้จากปริมาณสำรองน้ำมันของมาเลเซียที่มีถึง 3,800 ล้านบาร์เรล แต่ไทยมีแค่ 500 ล้านบาร์เรลเท่านั้น จึงต้องนำเข้าน้ำมันมากกว่าส่งออก ทำให้โครงสร้างราคาน้ำมันของทั้ง 2 ประเทศมีความแตกต่างกันนั่นเอง เมื่อมาเลเซียผลิตน้ำมันและส่งออกได้มากกว่าไทยหลายเท่า รัฐจึงนำเงินเข้ามาอุดหนุนภาษีน้ำมัน ทำให้คนมาเลเซียไม่ต้องเสียภาษีน้ำมัน เป็นเหตุให้ราคาขายปลีกน้ำมันในมาเลเซียยิ่งถูกลงไปอีก
ภาพจาก บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
อย่างไรก็ดี หากมองในภาพรวมแล้ว ราคาน้ำมันไทยเทียบกับประเทศอื่นในอาเซียน ก็มีทั้งประเทศที่ถูกกว่าและแพงกว่าไทย ซึ่งน้ำมันไทยไม่ได้แพงกว่าทุกประเทศอย่างที่หลายคนเข้าใจ
ทำไมไทยไม่อุดหนุนราคาน้ำมัน เหมือนประเทศอื่นบ้าง
หากไทยปรับโครงสร้างราคาน้ำมันให้เหมือนมาเลเซีย โดยยกเลิกการเก็บภาษีต่าง ๆ ถึงแม้จะทำให้คนไทยใช้น้ำมันถูกลงกว่าครึ่งก็จริง แต่สิ่งที่จะตามมาคือ รัฐบาลขาดรายได้จำนวนมหาศาลเพื่อใช้ในการพัฒนาประเทศ และต้องอย่าลืมว่าไทยเป็นประเทศผู้นำเข้าน้ำมันดิบ หากปล่อยให้ราคาน้ำมันถูกจนเกินไป คนก็จะใช้อย่างไม่รู้คุณค่า ทำให้ต้องนำเข้าน้ำมันมากขึ้น ซึ่งยิ่งนำเข้ามามากเท่าไหร่ ก็จะส่งผลให้ไทยเสียดุลการค้ามากเท่านั้น ซึ่งจะมีผลต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย
นอกจากนี้ การที่ไทยไม่ใช่ผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องเจอกับความผันผวนของราคาน้ำมันในตลาดโลก เพราะฉะนั้น หากเราไม่มีเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองไว้ หากเกิดเหตุการณ์ที่ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นมาก ๆ เราก็จะไม่มีเงินสำรองเพื่อช่วยรักษาสมดุลของราคาน้ำมันในประเทศ จนอาจทำให้เกิดวิกฤตราคาน้ำมันก็เป็นได้
สุดท้ายเชื่อว่าทุกคนคงอยากใช้น้ำมันในราคาถูกที่สุดอยู่แล้ว แต่ก็ต้องเข้าใจ ราคาน้ำมัน มีปัจจัยหลายตัวมาเกี่ยวข้อง และก็ไม่ใช่แค่ประเทศไทยที่มีปัญหาน้ำมันแพง แต่หลาย ๆ ประเทศก็ประสบปัญหานี้ไม่แพ้กันเลย
อัปเดตข้อมูลล่าสุด เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2562