
วันที่ 15 เมษายน 2561 นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา ประธานคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสังคม เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" กับกรณีที่ประเทศกำลังจะเข้าสู่ "สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์" ในปี 2564 หรืออีก 3 ปีข้างหน้า ว่า การลดลงของวัยแรงงาน อาจส่งผลต่อรายได้ภาครัฐที่จะนำมาพัฒนาประเทศ และการจัดสวัสดิการต่าง ๆ รวมถึงภาระค่าใช้จ่ายในกลุ่มผู้สูงอายุที่จะเพิ่มขึ้น แต่กลับพบว่า สังคมไทยพูดถึงการออมน้อยมาก จึงเป็นปัญหาได้เมื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
จากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ระบุว่า ประชากรไทยโดยเฉลี่ยมีรายได้ไม่เพียงพอที่จะใช้จ่ายตลอดช่วงชีวิต และมีการออมอยู่ในระดับต่ำ ส่งผลต่อความมั่นคงในการดำรงชีวิตในวัยสูงอายุ ซึ่งพบว่า ผู้สูงอายุ 24% ไม่มีเงินออม ทำให้รัฐต้องจัดสรรงบประมาณประจำปี 2560 ถึง 241,149.1 ล้านบาท หรือ 8.8% ของเงินงบประมาณทั้งหมด ใช้ไปในการดูแลผู้สูงอายุ จึงจำเป็นต้องมีการส่งเสริมการออมให้กับคนในประเทศ

1. ขยายเกษียณอายุราชการ จาก 60 ปี เป็น 63 ปี
2. การกำหนดนโยบายช่วยเหลือผู้สูงอายุ เช่น กลุ่มผู้สูงอายุที่มีรายได้ต่ำ
3. แก้ไขบทบัญญัติของกฎหมาย ที่ให้ผู้สูงอายุสามารถรับงานเป็นชิ้นงาน โดยไม่ต้องทำงานเต็มเวลา 8 ชั่วโมงต่อวัน
4. ขับเคลื่อนคลังปัญญาผู้สูงอายุและโรงเรียนผู้สูงอายุ เช่น ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิต โรงเรียนผู้สูงอายุ ส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ และจัดกิจกรรมให้ผู้สูงอายุมีเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นต้น
ทั้งนี้ คาดว่าในปี 2564 ประเทศไทยจะมีสัดส่วนผู้สูงอายุราว 20% ของประชากรทั้งหมด และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง สวนทางกับวัยเด็กและวัยแรงงานที่มีสัดส่วนลดลง โดยวัยเด็กมีสัดส่วนคิดเป็น 16% วัยแรงงานอยู่ที่ 64% ขณะที่ในปี 2579 สังคมไทยจะมีสัดส่วนผู้สูงอายุมากถึง 30% และมีวัยเด็กลดเหลือ 14% วัยแรงงานเหลือ 56%
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
