เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ปี 2562 เพิ่มสิทธิประโยชน์ใหม่ ลงทะเบียนอย่างไร ถึงจะมีสิทธิ์รับเงินเพิ่ม
เป็นโครงการที่ได้รับความสนใจกันมากกับ "โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด" สวัสดิการจากรัฐบาล ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของคุณพ่อ-คุณแม่ในครอบครัวที่ยากจน ให้สามารถเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ผ่านการอุดหนุนเงินให้ผู้ที่มีบุตรทุกเดือน
อีกทั้งล่าสุดในปีงบประมาณ 2562 คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบเพิ่มเงินช่วยเหลือเป็น 600 บาทต่อคนต่อเดือน และขยายช่วงเวลาจ่ายเงินจนถึงอายุ 6 ขวบ พร้อมปรับฐานรายได้ผู้มีสิทธิ์เป็นไม่เกิน 100,000 บาทด้วย ซึ่งจากเกณฑ์ที่เปลี่ยนไป คงมีหลายคนสงสัยว่าตัวเองจะมีสิทธิ์รับเงินเด็กแรกเกิดไหม เคยลงทะเบียนไปแล้ว ต้องไปลงใหม่หรือไม่ กระปุกดอทคอม มีข้อมูลมาฝาก
เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด 2562 ลงทะเบียนเมื่อไร อยากได้เงินเพิ่มต้องมาลงใหม่ไหม
เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด ปีงบประมาณ 2562 ได้ปรับเพิ่มจาก 400 บาท เป็น 600 บาทต่อคนต่อเดือน และขยายอายุจ่ายเงินจาก 3 ขวบ เป็นถึง 6 ขวบ ทำให้การลงทะเบียนปี 2562 จะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1. เด็กที่เกิดตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2558 - 30 กันยายน 2561 ที่เคยลงทะเบียนได้สิทธิ์รับเงินแล้ว
ไม่ต้องมาลงทะเบียนใหม่ จะได้รับเงินช่วยเหลือเพิ่มเติมโดยอัตโนมัติ
2. เด็กที่เกิดตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2558 - 30 กันยายน 2561 ที่ยังไม่เคยลงทะเบียน
หากมาลงทะเบียนจะได้รับเงินตั้งแต่เดือนที่ได้รับอนุมัติ
3. เด็กที่เกิดตั้งแต่หลังวันที่ 1 ตุลาคม 2561-30 กันยายน 2562
- หากลงทะเบียนก่อน 30 กันยายน 2562 จะได้รับสิทธิ์ตั้งแต่เดือนเกิด (มีจ่ายย้อนหลังจนถึงวันเกิดเด็ก)
1. เด็กที่เกิดตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2558 - 30 กันยายน 2561 ที่เคยลงทะเบียนได้สิทธิ์รับเงินแล้ว
ไม่ต้องมาลงทะเบียนใหม่ จะได้รับเงินช่วยเหลือเพิ่มเติมโดยอัตโนมัติ
2. เด็กที่เกิดตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2558 - 30 กันยายน 2561 ที่ยังไม่เคยลงทะเบียน
หากมาลงทะเบียนจะได้รับเงินตั้งแต่เดือนที่ได้รับอนุมัติ
3. เด็กที่เกิดตั้งแต่หลังวันที่ 1 ตุลาคม 2561-30 กันยายน 2562
- หากลงทะเบียนก่อน 30 กันยายน 2562 จะได้รับสิทธิ์ตั้งแต่เดือนเกิด (มีจ่ายย้อนหลังจนถึงวันเกิดเด็ก)
- หากลงทะเบียนหลัง 30 กันยายน 2562 จะได้รับสิทธิ์ตั้งแต่เดือนที่ลงทะเบียน ไม่มีจ่ายย้อนหลัง
สรุปคือใครได้สิทธิ์รับเงินอยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องมาลงทะเบียนใหม่ ทางรัฐบาลจะทำการเพิ่มเงินอุดหนุนของงวดปีงบประมาณ 2562 ให้อัตโนมัติ ส่วนใครที่ยังไม่เคยลงทะเบียนรับสิทธิ์ ก็สามารถดำเนินการได้ตามวันดังกล่าว
กรณีเด็กเกิดเดือนตุลาคม 2562 เป็นต้นไป ต้องทำอย่างไร ?
หากเด็กเกิดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 เป็นต้นไป คุณพ่อ-คุณแม่สามารถมาลงทะเบียนได้เช่นกัน โดยจะได้รับเงินอุดหนุนเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดในปีงบประมาณ 2563 ซึ่งจะเริ่มจ่ายให้ตั้งแต่เดือนที่ยื่นขอรับสิทธิ์จนถึงอายุ 6 ขวบ ไม่มีการจ่ายย้อนหลัง
สถานที่ลงทะเบียนเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด
- ผู้ที่มีภูมิลำเนาในกรุงเทพมหานคร : ลงทะเบียนได้ที่สำนักงานเขตในพื้นที่ที่พักอาศัยอยู่ (ไม่จำเป็นต้องไปลงทะเบียนในเขต หรือจังหวัดที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน)
- ผู้ที่มีภูมิลำเนาในต่างจังหวัด : ลงทะเบียนที่สำนักงานเทศบาล หรือที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลตามภูมิลำเนา
- ผู้ที่มีภูมิลำเนาในเมืองพัทยา : ลงทะเบียนได้ที่ศาลาว่าการเมืองพัทยา
- กรณีทำงานหรืออาศัยในต่างภูมิลำเนา : อนุโลมให้ไปลงทะเบียนได้ที่สำนักงานเขตในกรุงเทพฯ, เมืองพัทยา หรือเทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล ในพื้นที่ที่อาศัยอยู่จริง
- ผู้ที่มีภูมิลำเนาในต่างจังหวัด : ลงทะเบียนที่สำนักงานเทศบาล หรือที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลตามภูมิลำเนา
- ผู้ที่มีภูมิลำเนาในเมืองพัทยา : ลงทะเบียนได้ที่ศาลาว่าการเมืองพัทยา
- กรณีทำงานหรืออาศัยในต่างภูมิลำเนา : อนุโลมให้ไปลงทะเบียนได้ที่สำนักงานเขตในกรุงเทพฯ, เมืองพัทยา หรือเทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล ในพื้นที่ที่อาศัยอยู่จริง
ใครบ้างมีสิทธิ์ รับเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด 2562
โครงการเงินอุดหนุนเด็กแรกเงิน เริ่มมาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2559 ต่อเนื่องถึงปีงบประมาณ 2562 เพราะฉะนั้น ผู้มีสิทธิ์จะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
1. เป็นเด็กที่เกิดระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2558 - 30 กันยายน 2562
2. อยู่ในครอบครัวยากจน หรือเสี่ยงต่อความยากจน คือ ครัวเรือนที่สมาชิกในครอบครัว มีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่า 100,000 บาทต่อคนต่อปี
3. เด็กมีสัญชาติไทย (บิดาและมารดา/บิดาหรือมารดา ก็เป็นผู้มีสัญชาติไทย)
4. กรณีมารดาเด็กเป็นคนต่างด้าว หรือไม่มีสถานะทางทะเบียนราษฎร หรือเสียชีวิต อนุโลมให้บิดาเด็กสัญชาติไทยตามสูติบัตร ลงทะเบียนแทนมารดาเด็กได้หลังจากเด็กเกิดแล้ว โดยให้นำเอกสารหลักฐานของบิดา-มารดา ที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐมายื่นเพื่อแสดงความจำนงขอรับสิทธิ์
5. ต้องไม่เป็นผู้ได้รับเงินช่วยเหลือในการเลี้ยงดูบุตรจากหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรืออยู่ในความดูแลของหน่วยงานของรัฐ เช่น บ้านพักเด็กและครอบครัว สถานสงเคราะห์ของรัฐ
1. เป็นเด็กที่เกิดระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2558 - 30 กันยายน 2562
2. อยู่ในครอบครัวยากจน หรือเสี่ยงต่อความยากจน คือ ครัวเรือนที่สมาชิกในครอบครัว มีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่า 100,000 บาทต่อคนต่อปี
3. เด็กมีสัญชาติไทย (บิดาและมารดา/บิดาหรือมารดา ก็เป็นผู้มีสัญชาติไทย)
4. กรณีมารดาเด็กเป็นคนต่างด้าว หรือไม่มีสถานะทางทะเบียนราษฎร หรือเสียชีวิต อนุโลมให้บิดาเด็กสัญชาติไทยตามสูติบัตร ลงทะเบียนแทนมารดาเด็กได้หลังจากเด็กเกิดแล้ว โดยให้นำเอกสารหลักฐานของบิดา-มารดา ที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐมายื่นเพื่อแสดงความจำนงขอรับสิทธิ์
5. ต้องไม่เป็นผู้ได้รับเงินช่วยเหลือในการเลี้ยงดูบุตรจากหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรืออยู่ในความดูแลของหน่วยงานของรัฐ เช่น บ้านพักเด็กและครอบครัว สถานสงเคราะห์ของรัฐ
6. ผู้ถือบัตรประกันสังคมสามารถร่วมโครงการได้ ดังนั้น หากได้รับเงินสงเคราะห์บุตรจากกองทุนประกันสังคม
หรือได้รับเงินสงเคราะห์เป็นครั้งคราว หรือเบี้ยความพิการ
ยังคงมีสิทธิ์ได้รับเงินอุดหนุนเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
7. ขยายสิทธิการคุ้มครองผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กให้ยื่นขอรับสิทธิไม่จำเป็นต้องเป็นบิดาหรือมารดา และสามารถลงทะเบียนได้ตามที่เด็กอาศัยอยู่จริง ไม่จำเป็นต้องใช้ที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน
วิธีคำนวณรายได้ในครัวเรือน เพื่อรับเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด
เกณฑ์สำคัญในการพิจารณาจ่ายเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด คือ รายได้ในครัวเรือน ที่กำหนดว่าต้องเป็นครอบครัวที่สมาชิกมีรายได้ต่ำกว่า 100,000 บาทต่อคนต่อปี ซึ่งเราสามารถได้ด้วยการนำรายได้ของสมาชิกทั้งหมดในครอบครัว หารด้วยจำนวนสมาชิกทั้งหมดในครอบครัว (รวมเด็กแรกเกิดด้วย)
เช่น มีสมาชิกครอบครัว 3 คน ประกอบด้วย พ่อ มีรายได้ 8,000 บาทต่อเดือน, แม่ ไม่มีรายได้ และลูกที่เป็นเด็กแรกเกิด ไม่มีรายได้ จะคำนวณได้ดังนี้
รายได้ทั้งหมดในครอบครัว / จำนวนสมาชิกทั้งหมด = 8,000 / 3
สรุปแล้ว ครอบครัวนี้มีรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 2,666 บาทต่อเดือน หรือ 31,992 บาทต่อปี ซึ่งต่ำกว่า 100,000 บาท แสดงว่าจะมีสิทธิ์รับเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดนั่นเอง
เกณฑ์สำคัญในการพิจารณาจ่ายเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด คือ รายได้ในครัวเรือน ที่กำหนดว่าต้องเป็นครอบครัวที่สมาชิกมีรายได้ต่ำกว่า 100,000 บาทต่อคนต่อปี ซึ่งเราสามารถได้ด้วยการนำรายได้ของสมาชิกทั้งหมดในครอบครัว หารด้วยจำนวนสมาชิกทั้งหมดในครอบครัว (รวมเด็กแรกเกิดด้วย)
เช่น มีสมาชิกครอบครัว 3 คน ประกอบด้วย พ่อ มีรายได้ 8,000 บาทต่อเดือน, แม่ ไม่มีรายได้ และลูกที่เป็นเด็กแรกเกิด ไม่มีรายได้ จะคำนวณได้ดังนี้
รายได้ทั้งหมดในครอบครัว / จำนวนสมาชิกทั้งหมด = 8,000 / 3
สรุปแล้ว ครอบครัวนี้มีรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 2,666 บาทต่อเดือน หรือ 31,992 บาทต่อปี ซึ่งต่ำกว่า 100,000 บาท แสดงว่าจะมีสิทธิ์รับเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงการสอบถามรายได้อาจไม่ได้ข้อมูลที่ตรงกับข้อเท็จจริง เจ้าหน้าที่จึงจะนำข้อมูลสถานะของครัวเรือนที่กรอกไว้ในแบบ ดร.02 มาประกอบการพิจารณาด้วย โดยต้องมีข้อเท็จจริงข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้
1. ครอบครัวมีภาระพึ่งพิง ได้แก่ ในครอบครัวมีคนพิการ หรือผู้สูงอายุ หรือเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี หรือคนว่างงาน อายุ 15 - 65 ปี หรือเป็นพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว
2. สภาพที่อยู่อาศัย ต้องมีสภาพบ้านชำรุดทรุดโทรม บ้านทำจากวัสดุพื้นบ้าน เช่น ไม้ไผ่ ใบจาก หรือวัสดุเหลือใช้ หรืออยู่บ้านเช่า
3. ไม่มีรถยนต์ส่วนบุคคล รถปิกอัพ รถบรรทุกเล็ก รถตู้
4. เป็นเกษตรกรที่มีที่ดินทำกินไม่เกิน 1 ไร่
1. ครอบครัวมีภาระพึ่งพิง ได้แก่ ในครอบครัวมีคนพิการ หรือผู้สูงอายุ หรือเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี หรือคนว่างงาน อายุ 15 - 65 ปี หรือเป็นพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว
2. สภาพที่อยู่อาศัย ต้องมีสภาพบ้านชำรุดทรุดโทรม บ้านทำจากวัสดุพื้นบ้าน เช่น ไม้ไผ่ ใบจาก หรือวัสดุเหลือใช้ หรืออยู่บ้านเช่า
3. ไม่มีรถยนต์ส่วนบุคคล รถปิกอัพ รถบรรทุกเล็ก รถตู้
4. เป็นเกษตรกรที่มีที่ดินทำกินไม่เกิน 1 ไร่
1. แบบลงทะเบียน (ดร.01)
2. แบบรับรองสถานะของครัวเรือน (ดร.02) ที่ได้รับการรับรองแล้วจากบุคคล 2 คนคือ
ผู้รับรองคนที่ 1
- กรุงเทพมหานคร : ให้หัวหน้าฝ่ายพัฒนาชุมชนฯ สำนักงานเขต หรืออาสาสมัครสาธารณสุข (อสส.) หรืออาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) หรือประธานชุมชน เป็นผู้รับรอง
- เทศบาล, องค์การบริหารส่วนตำบล, เมืองพัทยา : ให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หรืออาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) หรือกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ประธานชุมชน เป็นผู้รับรอง
ผู้รับรองคนที่ 2
- กรุงเทพมหานคร : ผู้อำนวยการเขต หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
- เมืองพัทยา : ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล/เทศบาล/เมืองพัทยา/ผู้อำนวยการเขต หรือข้าราชการที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้รับรองสิทธิ์ในแบบ ดร.02 ส่วนที่ 4
2. แบบรับรองสถานะของครัวเรือน (ดร.02) ที่ได้รับการรับรองแล้วจากบุคคล 2 คนคือ
ผู้รับรองคนที่ 1
- กรุงเทพมหานคร : ให้หัวหน้าฝ่ายพัฒนาชุมชนฯ สำนักงานเขต หรืออาสาสมัครสาธารณสุข (อสส.) หรืออาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) หรือประธานชุมชน เป็นผู้รับรอง
- เทศบาล, องค์การบริหารส่วนตำบล, เมืองพัทยา : ให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หรืออาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) หรือกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ประธานชุมชน เป็นผู้รับรอง
ผู้รับรองคนที่ 2
- กรุงเทพมหานคร : ผู้อำนวยการเขต หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
- เมืองพัทยา : ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล/เทศบาล/เมืองพัทยา/ผู้อำนวยการเขต หรือข้าราชการที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้รับรองสิทธิ์ในแบบ ดร.02 ส่วนที่ 4
3. แบบยืนยันเอกสารการลงทะเบียนเพื่อขอรับสิทธิ์เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด (แบบ ดร.04)
4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของแม่เด็ก หรือพ่อของเด็ก หรือผู้ปกครองของเด็ก แล้วแต่กรณี
5. สำเนาเอกสารการฝากครรภ์ หรือสำเนาสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก หน้า 1
6. สำเนาสูติบัตรเด็กแรกเกิด 1 ฉบับ (นำมายื่นหลังคลอด)
7. สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร (สามารถยื่นภายหลังได้รับการแจ้งสิทธิ์)
8. สำเนาบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (ถ้ามี)
5. สำเนาเอกสารการฝากครรภ์ หรือสำเนาสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก หน้า 1
6. สำเนาสูติบัตรเด็กแรกเกิด 1 ฉบับ (นำมายื่นหลังคลอด)
7. สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร (สามารถยื่นภายหลังได้รับการแจ้งสิทธิ์)
8. สำเนาบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (ถ้ามี)
ปัจจุบันผู้ที่ลงทะเบียนในโครงการนี้ จะได้รับเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด จำนวน 600 บาทต่อเดือน นับตั้งแต่เดือนที่เด็กเกิด จนถึงอายุ 6 ขวบ โดยสามารถรับเงินด้วยตนเองได้ที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) หรือกรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.) หรือรับผ่านบัญชีธนาคารที่ลงทะเบียนไว้
อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่คลอดบุตรหลังจากช่วงที่กำหนด คือ วันที่ 30 กันยายน 2562 หรือเด็กเสียชีวิตระหว่างอยู่ในครรภ์ จะไม่ได้รับเงินอุดหนุนในปีงบประมาณ 2562
วิธีตรวจสอบผลการลงทะเบียนเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด
หลังจากยื่นเอกสารขอลงทะเบียนแล้ว จะมีการประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์รับเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด ณ สำนักงานเขต หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่เราเคยลงทะเบียนไว้ โดยจะติดประกาศเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 15 วัน ส่วนผู้ที่ไม่ผ่านการพิจารณานั้น ทางจุดลงทะเบียนจะมีการแจ้งผลให้รับทราบต่อไป
วิธีรับเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด
1. โอนเงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทย, ธนาคารออมสิน หรือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ที่แจ้งไว้ในแบบลงทะเบียน
2. โอนเงินเข้าบัญชีธนาคารที่ผูกพร้อมเพย์ (Promptpay) 15 ธนาคาร (สำหรับผู้ที่ผูกบัญชีพร้อมเพย์ด้วยเลขบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของบัญชีเท่านั้น) ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย, กสิกรไทย, ธนชาต, กรุงศรีอยุธยา, สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด, อิสลามแห่งประเทศไทย, ออมสิน, เกียรตินาคิน, ธ.ก.ส., ทหารไทย, ซีไอเอ็มบี ไทย, ไทยพาณิชย์, แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์, กรุงเทพ และทิสโก้
1. โอนเงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทย, ธนาคารออมสิน หรือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ที่แจ้งไว้ในแบบลงทะเบียน
2. โอนเงินเข้าบัญชีธนาคารที่ผูกพร้อมเพย์ (Promptpay) 15 ธนาคาร (สำหรับผู้ที่ผูกบัญชีพร้อมเพย์ด้วยเลขบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของบัญชีเท่านั้น) ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย, กสิกรไทย, ธนชาต, กรุงศรีอยุธยา, สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด, อิสลามแห่งประเทศไทย, ออมสิน, เกียรตินาคิน, ธ.ก.ส., ทหารไทย, ซีไอเอ็มบี ไทย, ไทยพาณิชย์, แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์, กรุงเทพ และทิสโก้
โดยจะได้รับเงินภายในวันที่ 10 ของแต่ละเดือน ซึ่งหากยังไม่ได้รับเงินภายในช่วงเวลาที่กำหนด สามารถแจ้งร้องเรียนได้ที่สำนักงานเขต หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เคยลงทะเบียนไว้ หรือสอบถามที่ศูนย์ปฏิบัติการโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด โทร. 02 255 5850-7 ต่อ 122, 123, 147 และ 0 -2651-6534
หากคุณแม่ตั้งครรภ์แล้วปรากฏว่าคลอดออกมาเป็นลูกแฝด จะได้รับเงินอุดหนุนตามจำนวนเด็กที่เกิดมาเลย คือ ถ้าคลอดบุตร 2 คน ก็จะได้รับเงินอุดหนุน 1,200 บาทต่อเดือน หรือ 3 คน ก็จะได้ 1,800 บาทต่อเดือน
กรณีที่แม่คนเดิมมีบุตรเพิ่ม แล้วต้องการได้รับเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดเพิ่มเติม จะต้องไปดำเนินการลงทะเบียนใหม่ทุกครั้งที่มีบุตร โดยทำเหมือนการลงทะเบียนครั้งแรกตามปกติ
กรณีพ่อแม่มีสิทธิประกันสังคม ยังได้รับเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดไหม
ปัจจุบันรัฐบาลได้ขยายสิทธิ์ให้ผู้ที่อยู่ในระบบประกันสังคมที่ได้รับเงินสงเคราะห์บุตร สามารถรับเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดในปี 2562 ได้แล้ว หากมีคุณสมบัติครบถ้วนตามเกณฑ์ที่กำหนดและเป็นครอบครัวที่มีฐานะยากจนจริง จากเดิมที่ให้สิทธิ์ดูแลเพียงกลุ่มที่อยู่นอกประกันสังคมเท่านั้น
กรณีที่ผู้เลี้ยงดูเด็กไม่ใช่แม่ แต่เป็นคนอื่น เช่น พ่อ ปู่ ย่า ตา ยาย สามารถสมัครเพื่อรับเงินได้ โดยต้องให้แม่ของเด็กเป็นผู้แจ้งความประสงค์ในแบบ ดร.01 เพื่อโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารให้ผู้เลี้ยงดูเด็ก หรือมอบอำนาจให้ผู้เลี้ยงดูเด็กเป็นผู้รับเงินแทนได้
แต่ถ้ากรณีที่เด็กอยู่ในความดูแลของบ้านพักและครอบครัว หรือสถานสงเคราะห์ของรัฐ จะไม่ได้รับเงินอุดหนุนดังกล่าว เนื่องจากถือว่าได้รับการดูแลจากภาครัฐแล้ว
สำหรับคุณพ่อคุณแม่คนไหนที่รู้ตัวว่ามีสิทธิ์รับเงินช่วยเหลือส่วนนี้ ก็อย่าลืมไปลงทะเบียนรับเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด ปี 2562 กัน ส่วนใครที่ได้รับเงินอยู่แล้ว ก็ไม่ต้องทำอะไร รอรับเงินช่วยเหลือเพิ่มเติมได้เลย และหากมีข้อสงสัยสอบถามข้อมูลได้ที่ ศูนย์ปฏิบัติการโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด โทร. 0 2651 6534, 0 2651 6920, 0 2651 6902 หรือ 0 2255 5850-7 ต่อ 121, 122, 123, 147, 152 หรือสายด่วน พม. โทร. 1300 ตลอด 24 ชั่วโมง
***อัปเดตข้อมูลล่าสุด เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2562
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
กรมกิจการเด็กและเยาวชน