สรุปคู่มือการทำ Resume/CV ฉบับเบื้องต้น เหมาะสำหรับใครที่ยังไม่มีไอเดียว่าจะเขียนแบบไหนดี มาดูวิธีการง่าย ๆ ที่ทุกคนสามารถทำตามกันได้เลย เพื่อเพิ่มโอกาสในการถูกเรียกสัมภาษณ์งาน
![Resume Resume](http://img.kapook.com/u/2018/kathawut/card/main_5.jpg)
Resume หรือ CV
ถือเป็นใบเบิกทางสำคัญเพื่อใช้ในการสมัครงานหรือเรียนต่อ ซึ่งหากเราเขียน
Resume/CV ได้ดี ก็ย่อมมีโอกาสมากขึ้นที่จะถูกเรียกสัมภาษณ์
แต่สำหรับใครที่ยังนึกไม่ออกว่าจะเขียนแบบไหนดี ลองมาดูคำแนะนำของคุณ LUZINDA สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม กันเลย เพราะได้สรุปคู่มือการทำ Resume/CV
ฉบับเบื้องต้นที่สามารถทำตามกันได้ง่าย ๆ เอาไว้แล้ว ใครอยากได้เคล็ดลับดี ๆ
ก็ตามไปอ่านพร้อมกันได้เลย
![คู่มือการทำ Resume/CV คู่มือการทำ Resume/CV]()
บทความนี้เป็นประโยชน์อย่างมากกับน้อง ๆ ที่จบใหม่ กำลังหาที่ฝึกงานหรือเรียนต่อแล้วยังไม่มีไอเดียว่าจะทำ Resume/CV ยังไงดี บทความนี้มีคำตอบให้น้อง ๆ ค่ะ
โดยการสมัครงานหรือเรียนต่อในแต่ละที่นั้นอาจจะใช้ Resume หรือ CV ก็ได้ขึ้นอยู่กับข้อกำหนด การมี Resume/CV ที่ดีนั้นก็เป็นเหมือนใบเบิกทางเล็ก ๆ ให้ HR ได้รู้จักเรา เพราะในบางกระบวนการ การรับสมัครนั้น ผู้สมัครจะต้องยื่นใบสมัครและ Resume/CV เข้าไปก่อนเพื่อพิจารณา เท่ากับเราจะมีโอกาสก้าวไปในด่านต่อไปหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติและ Resume/CV ของเรานั่นเอง
![คู่มือการทำ Resume/CV คู่มือการทำ Resume/CV](http://img.kapook.com/u/2017/wanchalerm/Money_01_60/PT.jpg)
บทความนี้เป็นประโยชน์อย่างมากกับน้อง ๆ ที่จบใหม่ กำลังหาที่ฝึกงานหรือเรียนต่อแล้วยังไม่มีไอเดียว่าจะทำ Resume/CV ยังไงดี บทความนี้มีคำตอบให้น้อง ๆ ค่ะ
โดยการสมัครงานหรือเรียนต่อในแต่ละที่นั้นอาจจะใช้ Resume หรือ CV ก็ได้ขึ้นอยู่กับข้อกำหนด การมี Resume/CV ที่ดีนั้นก็เป็นเหมือนใบเบิกทางเล็ก ๆ ให้ HR ได้รู้จักเรา เพราะในบางกระบวนการ การรับสมัครนั้น ผู้สมัครจะต้องยื่นใบสมัครและ Resume/CV เข้าไปก่อนเพื่อพิจารณา เท่ากับเราจะมีโอกาสก้าวไปในด่านต่อไปหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติและ Resume/CV ของเรานั่นเอง
![คู่มือการทำ Resume/CV คู่มือการทำ Resume/CV](http://img.kapook.com/u/2017/wanchalerm/Money_01_60/resume_1.jpg)
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักไอเจ้าสองตัวนี้ก่อนว่ามันคืออะไรและแตกต่างกันอย่างไร
Resume คือ การสรุปประวัติตนเองอย่างสั้น ส่วนมากใช้ 1-2 หน้าเท่านั้น
CV หรือชื่อเต็ม ๆ ของเค้านั่นก็คือ Curriculum Vitae มาจากภาษาละตินที่แปลว่า ชีวประวัตินั่นเอง ในส่วนของ CV จะเป็นประวัติของเราอย่างละเอียด อาจจะมี 1-3 หน้าหรือมากกว่านั้น บางที่อาจจะกำหนดมาเลยว่า CV ไม่เกิน 3 หน้า เช่น งานในสถานทูตออสเตรเลีย
สรุปแบบสั้น ๆ ลงไปอีก Resume ประวัติอย่างสั้น ไม่ควรเกิน 1-2 หน้า CV ประวัติอย่างยาว 2 หน้ากระดาษขึ้นไป
CV เป็นเอกสารการสมัครงานที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะหลายประเทศในภูมิภาคยุโรป เอเชียและตะวันออกกลาง CV อาจมีรูปแบบแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ แต่เนื้อหาหรือใจความสำคัญยังคงเหมือนกัน ในทางกลับกัน Resume นั้นจะค่อนข้างแพร่หลายในประเทศสหรัฐอเมริกา หากเราต้องการสมัครงานในองค์กรหรือบริษัททั่วไปในสหรัฐฯ Resume มักเป็นเอกสารที่ใช้กันในวงกว้าง ส่วน CV คือเอกสารที่ใช้ในการสมัครงานในวงวิชาการ
2. ส่วนประกอบ
เมื่อเรารู้ความหมายของมันแล้ว ต่อมาเราจะมาเจาะลึกกันว่าในแต่ละส่วนของ Resume/CV ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
เนื้อหาที่ต้องมีใน Resume
- หัวเรื่อง (Heading)
ซึ่งประกอบด้วย ชื่อผู้เขียนโดยใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ (Capital Letters) ซึ่งจะอยู่ด้านบนสุด ส่วนที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ให้ใช้อักษรตัวพิมพ์เล็ก (Low case letters)
- จุดมุ่งหมาย (Objective)
จุดมุ่งหมายหรือตำแหน่งที่ต้องการสมัคร (Career objective/Position sought) ถ้าต้องการสมัครในตำแหน่งใด ก็ให้ระบุชื่อตำแหน่งนั้น หรือไม่ก็อาจจะบอกเป็นสายงานที่ตนต้องการทำก็ได้
- การศึกษา (Education)
เช่น จบจากไหน สาขาวิชาอะไร จบเมื่อไหร่ แล้วให้ระบุการศึกษาที่จบมาล่าสุดไว้ก่อน กล่าวคือ อาจจะเรียงการศึกษาชั้นสูงสุดไปถึงต่ำสุด ซึ่งโดยมากขั้นต่ำสุดระบุแค่ชั้นมัธยม ไม่ต้องไปถึงชั้นประถม ผลการเรียนเป็นอย่างไร การศึกษาหลักสูตรพิเศษอื่น ๆ มีอะไรบ้าง
อะไรคือวิชาเอก (Major) วิชาโท (Minor) ส่วนปริญญาที่ได้รับ ก็ไม่ควรใช้คำย่อควรมีคำเต็มกำกับ และในกรณีที่จบจากต่างประเทศ ก็ควรระบุประเทศที่จบการศึกษานั้น ๆ มาด้วย เช่น Master of Business Administration (MBA), USA, (ปริญญาโทสาขาบริหารธุรกิจจากประเทศสหรัฐอเมริกา)
ส่วนการเขียนชื่อสถาบันการศึกษาและวิชาที่จบนั้น เราสามารถดูได้จากใบแสดงวุฒิหรือผลการศึกษา ซึ่งอาจจะเป็น Degree Certificate, Transcript หรือ Mark Sheet ก็ได้
- ประสบการณ์ (Experience)
ประสบการณ์ในการทำงานนั้น มีความสำคัญอย่างมากในการสมัครงาน เพราะนายจ้างสามารถใช้รายละเอียดเหล่านี้ นำไปพิจารณาเกี่ยวกับตัวผู้สมัครได้ว่า เหมาะสมกับงานในหน่วยงานของตนหรือไม่ อย่างไรก็ตาม โดยปกติแล้วนักศึกษาจบใหม่ จะมีประสบการณ์น้อยหรือแทบไม่มีเลย เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ควรระบุงานที่เคยทำมาทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นทำเต็มเวลา (Full-time) หรือทำไม่เต็มเวลา (Part-time) หรือแม้แต่งานที่ทำโดยไม่มีค่าจ้างตอบแทนก็ตาม ซึ่งก็อาจจะเป็นกิจกรรมพิเศษหรือกิจกรรมนอกหลักสูตร (Special-Activities Or Extra-curriculum activities) เช่น เคยเป็นผู้นำนักศึกษาหรือหัวหน้าทีมนักกีฬา เป็นต้น
ในกรณีที่เคยทำงานเต็มเวลา (Full-time employment) มาก่อนก็ไม่จำเป็นต้องเอ่ยถึงงานที่ทำไม่เต็มเวลา หรือกิจกรรมอื่น ๆ มากนัก และควรบอกรายละเอียดที่สำคัญของงานที่เคยทำ คือ วันเดือนปีที่เคยทำงาน (Date of employment) รวมถึงชื่อและที่อยู่ของสถานที่ว่าจ้าง (Company\'s name and address)
- คุณสมบัติพิเศษ (Special Qualifications)
เกี่ยวกับคุณสมบัติพิเศษนี้ไม่ได้บังคับว่าจะต้องมี ถ้าไม่มีคุณสมบัติพิเศษอื่น ๆ ก็ตัดออกไป คุณสมบัติพิเศษที่กล่าวถึงนี้ เช่น ความสามารถทางด้านภาษา ด้านการเขียน หรือขับรถยนต์ได้ รู้เส้นทางดี เป็นต้น
- รายละเอียดส่วนตัว (Personal Details)
รายละเอียดส่วนตัวประกอบด้วย
Sex = เพศ
Age = อายุ
Date of birth = วันเดือนปีเกิด
Height = ความสูง
Weight =น้ำหนัก
Health = สุขภาพ (ใช้ Good health หรือ Excellent)
Address = ที่อยู่
Marital status = สถานภาพการสมรส (Married/Single) หรืออาจมีรายละเอียดเพิ่มเติม
Religion = ศาสนา
Military status = สถานภาพทางทหาร
Place of birth = สถานที่เกิด
Nationality = สัญชาติ
Race = เชื้อชาติ
ในส่วนนี้อาจจะเพิ่มงานอดิเรก (Hobbies) เข้ามาอีกก็ได้ถ้ามี เช่น ว่ายน้ำ (Swimming) ไต่เขา (Hiking) หรือสะสมแสตมป์ (Stamp-collecting) เป็นต้น
- บุคคลอ้างอิง (References)
บุคคลที่เป็นนายจ้างเก่าของเราจะเหมาะสมที่สุดสำหรับใช้เป็นบุคคลอ้างอิง แต่ถ้าเป็นไปไม่ได้อาจจะเป็นเพราะยังไม่ได้ออกจากงาน กลัวนายจ้างจะรู้ ก็อาจจะเปลี่ยนเป็นครู อาจารย์ที่เคยสอน เพื่อนร่วมธุรกิจ หรือบุคคลที่มีชื่อเสียง แต่ต้องไม่ใช่ญาติ หรือเพื่อนสนิทของเรา และที่เรียกว่าบุคคลอ้างอิง อีกนัยหนึ่งก็คือ บุคคลที่จะสามารถตรวจสอบประวัติและความประพฤติของเราได้ และควรอ้างมา 2-3 ท่าน พร้อมทั้งที่อยู่ที่จะติดต่อได้ และอาชีพของเขาเหล่านั้น
เนื้อหาที่ต้องมีใน CV
1. ข้อมูลส่วนตัว (Personal information) : ชื่อนามสกุล ที่อยู่ อายุ วันเดือนปีเกิด เป็นต้น
2. ประวัติการศึกษา (Education)
3. ประสบการณ์ทำงาน (Work experience) : บอกถึงขอบเขตงานที่ทำ หน้าที่รับผิดชอบ
4. ประสบการณ์การทำวิจัย (Research experience)
5. กิจกรรมนอกหลักสูตร (Extracurricular activities) : แนะนำว่าเราทำกิจกรรมนอกหลักสูตรอะไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมชมรม หรือการช่วยเหลือชุมชนต่าง ๆ
6. รางวัล (Awards) : รางวัลที่เราเคยได้รับ ใบประกาศนียบัตรจากหลักสูตรและกิจกรรมต่าง ๆ
7. ทักษะ (Skills) : ลองนึกดูว่าเรามีความสามารถด้านไหนบ้าง ไม่ว่าจะเป็นด้านภาษา โปรแกรมคอมพิวเตอร์ การทำงานเป็นทีม
8. จดหมายรับรอง (References) : ส่วนใหญ่คนที่จะเขียนจดหมายรับรองหรือเป็นผู้รับรองให้เราได้มักจะเป็นอาจารย์หรือเจ้านายของเรา
เขียน Personal Statement ให้เหมาะกับงานที่ทำ
Personal Statement คือย่อหน้าเปิดของ CV ที่พูดถึงตัวเราแบบสั้น ๆ แต่เกี่ยวข้องกับงานหรือมหาวิทยาลัยที่เราต้องการสมัคร พยายามใส่ว่า เราทำอะไรมาแล้ว กำลังทำอะไรอยู่ และตั้งเป้าว่าจะทำอะไรต่อไป (เรามองเห็นอนาคตการทำงานของเราอย่างไร) แต่อย่าใช้คำสรรพนามว่า ‘I’ ถ้าเป็นไปได้ เพราะจะฟังดูไม่เป็นทางการเอาเสียเลย
3. รูปแบบ
การจัดหน้าและรูปแบบฟอร์มนั้นจริง ๆ ก็มีหลายแบบท่านสามารถหาได้จาก Google ได้เลย ตัวอย่างเช่น
![คู่มือการทำ Resume/CV คู่มือการทำ Resume/CV](http://img.kapook.com/u/2017/wanchalerm/Money_01_60/resume_31.jpg)
![คู่มือการทำ Resume/CV คู่มือการทำ Resume/CV](http://img.kapook.com/u/2017/wanchalerm/Money_01_60/resume_32.jpg)
![คู่มือการทำ Resume/CV คู่มือการทำ Resume/CV](http://img.kapook.com/u/2017/wanchalerm/Money_01_60/resume_33.jpg)
4.1 Microsoft Word เชื่อว่าทุกคนคงไม่มีใครใช้โปรแกรมนี้ไม่เป็น
4.2 Adobe illustrator + Adobe Photoshop เหมาะสำหรับผู้ที่ถนัดหรือมีความเชี่ยวชาญ
4.3 โปรแกรม และ website อื่น ๆ ตัวอย่าง uptowork.com, aecjoblisting.com
4.4 Infographic สำหรับมือใหม่แนะนำเป็น Infographic สามารถค้นหาได้ใน Google เลยค่ะมีหลายเว็บไซต์เค้าจะมีฟอร์มสำเร็จรูปที่เราสามารถเลือกมาแก้ไขหรือจะออกแบบเองก็เก๋ไปอีก เหมาะมาก ๆ กับน้อง ๆ ที่ไม่มีไอเดียว่าอยากทำในรูปแบบไหน อีกทั้งยังประหยัดเวลาอีกด้วย
5. ช่องทางการเพิ่มประสบการณ์
Resume ก็โล่ง ประวัติก็ไม่รู้จะเขียนอะไร ประสบการณ์ก็ไม่มี ไม่ใช่ปัญหาค่ะ เพราะเราสามารถที่จะเพิ่ม Certificate ได้ฟรี ๆ หรือเสียตังค์ก็มีผ่านการเรียนออนไลน์ MOOC ลองค้นหาดูนะคะ ไม่ว่าจะเป็น edX, Coursera, Udemy, Thaimooc และอื่น ๆ อีกมากมาย ใช้เวลาไม่มากและสามารถเลือกหัวข้อความรู้ที่เราต้องการได้ค่ะ แบบอยากต่อโทบริหารแต่จบทำอาหาร ก็ลองลงเรียนเพื่อเอาใบประกาศดูเพื่อที่เราสามารถนำไปเขียนได้ว่าเราสนใจและเรียนเพิ่มเติมมา หรือจะลงคอร์สเรียนในไทยเพื่อเพิ่มพูนความรู้ก็ดีไม่น้อยค่ะ ไม่ก็เป็นงานอาสาสมัครก็น่าสนใจนะคะ
6. คำแนะนำ
6.1 ตรวจสอบความถูกต้อง ตัวสะกดต่าง ๆ
6.2 Save เป็น File PDF จะดีกว่า
6.3 ควรจะมีรูปตนเองอยู่ใน Resume ด้วย
6.4 Resume ถ้าหากจะให้ดีควรมี 1 หน้าค่ะ (ความคิดเห็นส่วนตัว)
6.5 หากภาษาดี เกรดดี หรือความสามารถที่โดดเด่นสอดคล้องกับงานที่สมัครอย่าลืมใส่ลงไปด้วยนะคะ
6.6 เขียนให้ชัดเจน สั้น กระชับ
6.7 Email ควรเป็นชื่อตนเอง เป็นทางการ
คิดไม่ออกแล้ว เอาเป็นว่าหากท่านใดมีข้อไหนอยากทราบเพิ่มเติมเมนต์ได้เลยนะคะ ขอบคุณที่ติดตามรับชมค่ะ
ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
คุณ LUZINDA สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม