เปิดแผนที่โครงการรถไฟฟ้าครบทุกสี ทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีโครงการอะไรบ้าง การก่อสร้างคืบหน้าไปถึงไหนแล้ว แต่ละสายจะได้ใช้เมื่อไหร่ มาอัปเดตกัน

ภาพจาก lucystudio / Shutterstock.com
นับตั้งแต่ปี 2542 เป็นต้นมา กรุงเทพมหานคร เริ่มมีรถไฟฟ้าใช้เป็นครั้งแรก และเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยแก้ปัญหารถติดของคนเมือง รวมทั้งอำนวยความสะดวกในเรื่องการเดินทาง ขณะที่ภาคธุรกิจเองก็จะได้รับผลบวก เพราะรถไฟฟ้าจะนำความเจริญเข้าสู่พื้นที่ต่าง ๆ
โดยปัจจุบันเรามีรถไฟฟ้าเปิดให้บริการแล้ว 5 สาย
ซึ่งยังมีอีกหลายโครงการกำลังก่อสร้าง และเตรียมเปิดให้บริการในเร็ว ๆ นี้
ขณะเดียวกันก็ยังมีการศึกษาเส้นทางรถไฟฟ้าใหม่ ๆ เพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง
เพื่อให้ครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่
กระปุกดอทคอม จึงได้ทำการสรุปแผนผังรถไฟฟ้ามาให้ดูกันทั้งหมดว่า ปัจจุบันมีโครงการอะไรบ้าง อยู่ระหว่างการก่อสร้างกี่สาย คืบหน้าไปถึงไหนแล้ว และมีโครงการในอนาคตอะไรบ้างที่กำลังจะเกิดขึ้น มาอัปเดตกันได้เลย (ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2563)

ดูแผนที่ขนาดเต็มได้ที่ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
1. สายสีเขียวเข้ม หมอชิต-เคหะฯ สมุทรปราการ

ภาพจาก 1000 Words / Shutterstock.com
2. สายสีเขียวอ่อน สนามกีฬาแห่งชาติ-บางหว้า
เป็นสายที่เปิดให้บริการพร้อมกับสายสีเขียว หมอชิต-สำโรง ในเดือนธันวาคม 2542 มีระยะทางรวมประมาณ 14.2 กิโลเมตร ทั้งหมด 13 สถานี โดยกรุงเทพมหานคร เป็นเจ้าของโครงการนี้เช่นกัน และมอบสัมปทานให้กับบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC เป็นผู้ดูแลทั้งหมด
เป็นสายที่เปิดให้บริการพร้อมกับสายสีเขียว หมอชิต-สำโรง ในเดือนธันวาคม 2542 มีระยะทางรวมประมาณ 14.2 กิโลเมตร ทั้งหมด 13 สถานี โดยกรุงเทพมหานคร เป็นเจ้าของโครงการนี้เช่นกัน และมอบสัมปทานให้กับบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC เป็นผู้ดูแลทั้งหมด
และเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2562 ได้เปิดบริการส่วนต่อขยายจากหัวลำโพงถึงหลักสอง ระยะทาง 13.8 กิโลเมตร แบ่งเป็นสถานีใต้ดิน 4 สถานี และสถานียกระดับ 7 สถานี
จากนั้นในเดือนมีนาคม 2563 ได้เปิดบริการส่วนต่อขยายจากสถานีเตาปูน-ท่าพระ ระยะทาง 13 กิโลเมตร รวมทั้งหมด 8 สถานี เป็นรูปแบบยกระดับทั้งหมด โดยเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-หัวลำโพง) และผ่านสถานีเตาปูนซึ่งเป็นสถานีร่วมกับสายสีม่วง (บางใหญ่-เตาปูน)
เท่ากับว่าเราสามารถนั่งรถไฟฟ้าสีน้ำเงินวนครบลูปเดินทางรอบกรุงเทพมหานครได้แล้ว โดยมีจำนวนสถานีทั้งสิ้น 38 สถานี รวมระยะทางประมาณ 48 กิโลเมตร
4. สาย Airport Rail Link พญาไท-สุวรรณภูมิ
เปิดให้บริการครั้งแรกในปี 2552 มีระยะทางรวมประมาณ 28 กิโลเมตร รวมทั้งหมด 8 สถานี เพื่อเชื่อมต่อจากภายในเขตท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เข้าสู่เขตเมือง ซึ่งดำเนินการก่อสร้างและให้บริการเดินรถ โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)
5. สายสีม่วง เตาปูน-คลองบางไผ่
เริ่มเปิดให้บริการในปี 2559 มีระยะทางรวม 23 กิโลเมตร รวมทั้งสิ้น 16 สถานี เป็นสายที่เชื่อมต่อกับสายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-หัวลำโพง) โดยมีสถานีเตาปูนเป็นจุดเชื่อมต่อ ซึ่งการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นเจ้าของ และมอบสัมปทานการเดินรถให้แก่ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM
6. สายสีเขียวเข้ม หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต
เริ่มเปิดทดลองวิ่งมาตั้งแต่วันที่ 4 ธันวาคม 2562 จากสถานีหมอชิต จนถึงสถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จากนั้นในวันที่ 5 มิถุนายน 2563
เปิดทดลองวิ่งอีก 4 สถานี คือ กรมป่าไม้ บางบัว กรมทหารราบที่ 11
และสถานีวัดพระศรีมหาธาตุ
ทั้งนี้ ในวันที่ 16 ธันวาคม 2563 ได้เปิดเพิ่มอีก 7 สถานี สิ้นสุดที่สถานีคูคต ซึ่งเป็นสถานีปลายทาง เท่ากับเป็นการเปิดให้บริการเต็มรูปแบบ รวมระยะทาง 19 กิโลเมตร เป็นรูปแบบยกระดับทั้งหมด 16 สถานี
7. สายสีทอง กรุงธนบุรี-คลองสาน-ประชาธิปก

เป็นรถไฟฟ้ารางเบา ล้อยาง ไร้คนขับสายแรกของไทย ระยะทาง 2.8 กิโลเมตร รวมทั้งหมด 4 สถานี โดยเชื่อมต่อจากรถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน สถานีกรุงธนบุรี
วิ่งไปตามแนวถนนเจริญนคร ผ่านศูนย์การค้าไอคอนสยาม สำนักงานเขตคลองสาน
ไปสิ้นสุดที่ถนนสมเด็จเจ้าพระยา ที่บริเวณหน้าโรงพยาบาลตากสิน เปิดให้บริการวันที่ 16 ธันวาคม 2563
โครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง
สำหรับโครงการรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง มีจำนวน 5 โครงการ ซึ่งคาดว่าจะทยอยแล้วเสร็จตั้งแต่กลางปี 2564 เป็นต้นไป ประกอบด้วย
1. สายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน
- ระยะทาง : เป็นระบบรถไฟชานเมือง 15 กิโลเมตร รวมทั้งหมด 6 สถานี
- เส้นทางเดินรถ : จากสถานีรถไฟตลิ่งชัน เข้าเมืองมาตามแนวเขตทางรถไฟสายใต้ จนสุดเส้นทางที่สถานีบางซ่อน ซึ่งจะเป็นสถานียกระดับ เพื่อเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ในอนาคต
- เจ้าของโครงการและผู้ให้บริการเดินรถ : การรถไฟฟ้าแห่งประเทศไทย (รฟท.)
- ระยะทาง : เป็นระบบรถไฟชานเมือง 26.3 กิโลเมตร รวมทั้งหมด 10 สถานี
- เส้นทางเดินรถ : เริ่มต้นโครงการที่สถานีบางซื่อ บริเวณสามแยกประดิพัทธ์ ไปตามแนวเขตทางรถไฟในเส้นทางรถไฟสายเหนือ ผ่านเขตจตุจักร บางเขน หลักสี่ ดอนเมือง และไปสิ้นสุดที่สถานีรังสิต จังหวัดปทุมธานี
- เจ้าของโครงการและผู้ให้บริการเดินรถ : การรถไฟฟ้าแห่งประเทศไทย (รฟท.)
3. สายสีชมพู แคราย-มีนบุรี
- ระยะทาง : รูปแบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว ระยะทางรวม 34.5 กิโลเมตร รวมทั้งหมด 30 สถานี
- เส้นทางเดินรถ : เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีม่วง ที่สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี แล้วเลี้ยวผ่านแยกแคราย วิ่งไปตามถนนติวานนท์ จนถึงห้าแยกปากเกร็ด แล้วเลี้ยวเข้าถนนแจ้งวัฒนะ ผ่านอิมแพ็ค เมืองทองธานี สามารถเชื่อมรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม บางซื่อ-รังสิต ที่แยกหลักสี่ และเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต บนถนนพหลโยธิน จากนั้นวิ่งไปตามถนนรามอินทรา วิ่งเข้าสู่เขตมีนบุรี มาสิ้นสุดสถานีปลายทางที่บริเวณใกล้แยกรามคำแหง-ร่มเกล้า ซึ่งเป็นสถานีเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีส้ม ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี
- เจ้าของโครงการ : การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)
- เส้นทางเดินรถ : เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีม่วง ที่สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี แล้วเลี้ยวผ่านแยกแคราย วิ่งไปตามถนนติวานนท์ จนถึงห้าแยกปากเกร็ด แล้วเลี้ยวเข้าถนนแจ้งวัฒนะ ผ่านอิมแพ็ค เมืองทองธานี สามารถเชื่อมรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม บางซื่อ-รังสิต ที่แยกหลักสี่ และเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต บนถนนพหลโยธิน จากนั้นวิ่งไปตามถนนรามอินทรา วิ่งเข้าสู่เขตมีนบุรี มาสิ้นสุดสถานีปลายทางที่บริเวณใกล้แยกรามคำแหง-ร่มเกล้า ซึ่งเป็นสถานีเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีส้ม ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี
- เจ้าของโครงการ : การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)
4. สายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง
- กำหนดเปิดให้บริการ : คาดว่าจะเปิดให้บริการช่วงแรกในปลายปี 2564
- ระยะทาง : รูปแบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว ระยะทางรวม 30.4 กิโลเมตร รวมทั้งหมด 23 สถานี
- เส้นทางเดินรถ : เริ่มต้นที่จุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน สถานีลาดพร้าว โดยวิ่งแนวถนนลาดพร้าวถึงแยกบางกะปิ แล้วเบนไปตามแนวถนนศรีนครินทร์ เชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีส้ม สถานีลำสาลี, รถไฟฟ้า Airport Rail Link และรถไฟฟ้าสีแดงอ่อน ผ่านแยกพัฒนาการ แยกสวนหลวง จนถึงทางแยกศรีเทพา สิ้นสุดเส้นทางบริเวณแยกเทพารักษ์ ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน สถานีสำโรง
- เจ้าของโครงการ : การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)

- ระยะทาง : ประมาณ 22 กิโลเมตร รวมทั้งหมด 17 สถานี แบ่งเป็น สถานีใต้ดิน 10 สถานี และยกระดับ 7 สถานี
- เส้นทางเดินรถ : เชื่อมกับสายสีน้ำเงิน สถานีศูนย์วัฒนธรรมฯ แล้ววิ่งตามแนวถนนวัฒนธรรม มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออก ผ่านแยกพระราม 9-ประดิษฐ์มนูธรรม เข้าสู่ถนนรามคำแหง ผ่านมหาวิทยาลัยรามคำแหง ราชมังคลากีฬาสถาน ไปจนถึงแยกลำสาลี ผ่านจุดตัดถนนศรีบูรพา จากนั้นจึงเริ่มยกระดับตามแนวเกาะกลางถนนเข้าสู่สถานีบ้านม้า ยกข้ามทางแยกต่างระดับรามคำแหงจุดตัดถนนกาญจนาภิเษก ผ่านแยกลาดบัวขาวจุดตัดถนนมีนพัฒนา ผ่านเคหะรามคำแหง ไปสิ้นสุดเส้นทางที่สถานีมีนบุรี บริเวณก่อนถึงแยกรามคำแหง-ร่มเกล้า ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อกับสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี)
- เจ้าของโครงการ : การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)
ยังมีอีกหลายโครงการรถไฟฟ้าในอนาคตที่อยู่ระหว่างรอการก่อสร้าง มาดูกันว่ายังเหลือเส้นทางไหนอีกบ้าง
1. สายสีแดงอ่อน บางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และสายสีแดงเข้ม บางซื่อ-หัวลำโพง
- ความคืบหน้า : มีแผนให้เอกชนเข้ามารับสัมปทาน (PPP) รอเปิดประมูล
สายสีแดงอ่อน บางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก มีระยะทางประมาณ 19 กิโลเมตร
- เส้นทางเดินรถ : จากสถานีกลางบางซื่อ เข้าเส้นประดิพัทธ์ สามเสน แยกราชวิถี พญาไท ไปมักกะสัน ศูนย์วิจัย เข้าถนนรามคำแหง และสิ้นสุดที่สถานีหัวหมาก
สายสีแดงเข้ม บางซื่อ-หัวลำโพง มีระยะทางประมาณ 6.5 กิโลเมตร
- เส้นทางเดินรถ : เริ่มจากสถานีกลางบางซื่อวิ่งลงไปทางทิศใต้ตามแนวทางรถไฟสายเหนือ แล้วลดระดับลงเป็นรถไฟฟ้าใต้ดิน เชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม ที่สถานียมราช เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม ที่สถานียศเส เชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล อีกครั้งที่สถานีหัวลำโพง
- เส้นทางเดินรถ : จากสถานีกลางบางซื่อ เข้าเส้นประดิพัทธ์ สามเสน แยกราชวิถี พญาไท ไปมักกะสัน ศูนย์วิจัย เข้าถนนรามคำแหง และสิ้นสุดที่สถานีหัวหมาก
สายสีแดงเข้ม บางซื่อ-หัวลำโพง มีระยะทางประมาณ 6.5 กิโลเมตร
- เส้นทางเดินรถ : เริ่มจากสถานีกลางบางซื่อวิ่งลงไปทางทิศใต้ตามแนวทางรถไฟสายเหนือ แล้วลดระดับลงเป็นรถไฟฟ้าใต้ดิน เชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม ที่สถานียมราช เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม ที่สถานียศเส เชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล อีกครั้งที่สถานีหัวลำโพง
2. สายสีม่วงใต้ เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ
- ความคืบหน้า : คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน 2564 แล้วเสร็จในปี 2570
- ระยะทาง : 23.6 กิโลเมตร มีสถานีทั้งสิ้น 17 สถานี เป็นใต้ดิน 10 สถานี และยกระดับ 7 สถานี
- เส้นทางเดินรถ : เริ่มจากจุดเชื่อมสายสีม่วง (บางใหญ่-บางซื่อ) แล้วเบี่ยงเข้าสู่ถนนสามเสน ผ่านรัฐสภาแห่งใหม่ (โรงเรียนโยธินบูรณะเดิม) โรงเรียนราชินีบน กรมชลประทาน หอสมุดแห่งชาติ คลองบางลำพู เลี้ยวซ้ายเข้าถนนพระสุเมรุ ผ่านวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร แยกผ่านฟ้า เข้าสู่ถนนมหาไชย เข้าสู่ถนนจักรเพชร ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานพระปกเกล้า ผ่านสี่แยกบ้านแขก ลอดใต้วงเวียนใหญ่ เข้าสู่ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ลอดแยกมไหสวรรย์ ผ่านแยกถนนจอมทองเข้าสู่ถนนสุขสวัสดิ์ ข้ามทางด่วนเฉลิมมหานคร เข้าสู่ราษฎร์บูรณะ ข้ามคลองแจงร้อน ผ่านสามแยกพระประแดง และสิ้นสุดเส้นทางบริเวณครุใน3. สายสีน้ำเงิน บางแค-พุทธมณฑลสาย 4
- ความคืบหน้า : ชะลอแผนการลงทุน
- ระยะทาง : 8 กิโลเมตร ทั้งหมด 4 สถานี
- เส้นทางเดินรถ : มีจุดเริ่มต้นจากจุดสิ้นสุดของสายสีน้ำเงิน (หัวลำโพง-บางแค) ถัดจากจุดตัดถนนวงแหวนรอบนอก กับถนนเพชรเกษม โดยจะใช้แนวเกาะกลางของถนนเพชรเกษม ในการก่อสร้างรถไฟฟ้าตลอดแนวเส้นทางจนไปสิ้นสุดที่บริเวณทางแยกจุดตัดกับถนนพุทธมณฑลสาย 4

ภาพจาก lucystudio / Shutterstock.com
- ความคืบหน้า : ชะลอแผนการลงทุน
- ระยะทาง : ประมาณ 9.2 กิโลเมตร เป็นสถานียกระดับทั้งหมด 5 สถานี
- เส้นทางเดินรถ : ต่อขยายจากสายสีเขียวเข้ม (แบริ่ง-สมุทรปราการ) ไปตามแนวเกาะกลางถนนสุขุมวิท ผ่านซอยเทศบาลบางปู 65 เมืองโบราณ วัดศรีจันทร์ประดิษฐ์ สถานตากอากาศบางปูและนิคมอุตสาหกรรมบางปู และไปสิ้นสุดที่แยกถนนตำหรุ-บางพลี- ระยะทาง : ประมาณ 9.2 กิโลเมตร เป็นสถานียกระดับทั้งหมด 5 สถานี
5. สายสีเขียวเข้ม คูคต-ลำลูกกา
- ความคืบหน้า : ชะลอแผนการลงทุน
- ระยะทาง : ประมาณ 7 กิโลเมตร ทั้งหมด 4 สถานี
- เส้นทางเดินรถ : เป็นส่วนต่อขยายจากสายสีเขียวเข้ม (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) วิ่งต่อไปทางทิศตะวันออกบนถนนลำลูกกา จนถึงถนนวงแหวนรอบนอก
6. สายสีส้มตะวันตก บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
- ความคืบหน้า : ยังติดปัญหาเลื่อนเปิดซองประมูลออกไปไม่มีกำหนด (ข้อมูลเดือนพฤศจิกายน 2563)
- ระยะทาง : ประมาณ 13.4 กิโลเมตร จำนวน 11 สถานี
- เส้นทางเดินรถ : เริ่มต้นจากสถานีบางขุนนนท์ ของโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล วิ่งผ่านสถานีรถไฟธนบุรี โรงพยาบาลศิริราช ลอดแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าสู่แนวถนนราชดำเนินกลาง ผ่านสนามหลวง เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง ที่สถานีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ผ่านสะพานผ่านฟ้าลีลาศ เข้าสู่แนวถนนหลานหลวง ผ่านตลาดมหานาค เข้าสู่แนวถนนเพชรบุรีที่แยกยมราช ผ่านแยกอุรุพงษ์ แยกเพชรพระราม มาเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอสที่สถานีราชเทวี เลี้ยวซ้ายที่แยกประตูน้ำมุ่งหน้าไปทางทิศเหนือตามแนวถนนราชปรารภ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิที่สถานีราชปรารภ เบี่ยงขวาที่แยกสามเหลี่ยมดินแดงเข้าสู่ถนนดินแดง เลี้ยวซ้ายเข้าถนนวิภาวดีรังสิต และเลี้ยวขวาลอดโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี เข้าสู่ชุมชนประชาสงเคราะห์ และทะลุออกสู่ถนนรัชดาภิเษกด้วยการลอดผ่านศูนย์การค้าเอสพลานาด รัชดาภิเษก เพื่อเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
7. สายสีแดงเข้ม รังสิต-ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
- ความคืบหน้า : มีแผนให้เอกชนเข้ามารับสัมปทาน (PPP) รอเปิดประมูล
- ระยะทาง : ประมาณ 8.84 กิโลเมตร จำนวน 4 สถานี คือ สถานีคลองหนึ่ง, สถานีมหาวิทยาลัยกรุงเทพ, สถานีเชียงราก และสถานีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
- เส้นทางเดินรถ : เริ่มจากสถานีรังสิตขึ้นไปทางทิศเหนือ จนถึงสถานีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 8. สายสีแดงอ่อน ตลิ่งชัน–ศาลายา และตลิ่งชัน-ศิริราช
ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา
- ความคืบหน้า : มีแผนให้เอกชนเข้ามารับสัมปทาน (PPP) รอเปิดประมูล
- ระยะทาง : 14.8 กิโลเมตร จำนวน 4 สถานี เป็นสถานีระดับดิน 3 สถานี และยกระดับ 1 สถานี- เส้นทางเดินรถ : จากสถานีบ้านฉิมพลี ไปยังสถานีกาญจนาภิเษก ผ่านศาลาธรรมสพน์ จนถึงสถานีศาลายา จังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นสถานียกระดับ รองรับรถไฟทางไกล
ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช
- ความคืบหน้า : มีแผนให้เอกชนเข้ามารับสัมปทาน (PPP) รอเปิดประมูล
- ระยะทาง : 5.7 กิโลเมตร จำนวน 4 สถานี เป็นสถานีระดับดิน 3 สถานี และยกระดับ 1 สถานี- ความคืบหน้า : มีแผนให้เอกชนเข้ามารับสัมปทาน (PPP) รอเปิดประมูล
- เส้นทางเดินรถ : จากตลิ่งชัน ผ่านสถานีตลาดน้ำตลิ่งชัน เข้าสู่ถนนจรัญสนิทวงศ์ เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ ที่สถานีแยกไฟฉาย จากนั้นไปยังโรงพยาบาลศิริราช

ภาพจาก Christopher PB / Shutterstock.com
- ความคืบหน้า : คมนาคมเตรียมหารือ กทม. เรื่องการสร้างเส้นทาง (ข้อมูลเดือนกุมภาพันธ์ 2563)
- ระยะทาง : ประมาณ 40 กิโลเมตร จำนวน 39 สถานี เป็นสถานียกระดับทั้งหมด- เส้นทางเดินรถ : แบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงแรก (วัชรพล-ทองหล่อ) เส้นทางส่วนเหนือจะวิ่งผ่านช่วงวัชรพล ผ่านเส้นประดิษฐ์มนูธรรม เข้าเพชรบุรี เลี้ยวเข้าทองหล่อ ส่วนอีกช่วงหนึ่งเป็นเส้นทางส่วนใต้ (พระโขนง-ท่าพระ) เริ่มจากพระโขนง ผ่านเส้นพระราม 4 เข้านราธิวาสฯ แล้วเข้าสู่พระราม 3 แทนที่เส้น BRT เดิม
10. สายสีน้ำตาล แคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม)
- ความคืบหน้า : อยู่ระหว่างศึกษา PPP และ EIA
- ระยะทาง : ประมาณ 22.1 กิโลเมตร
- เส้นทางเดินรถ : จากศูนย์ราชการนนทบุรี เข้าสู่ถนนงามวงศ์วาน ผ่านมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ลาดปลาเค้า โรงเรียนสตรีวิทยา 2 ถนนประเสริฐมนูกิจ แยกนวลจันทร์-นวมินทร์ แยกบางกะปิ สนามกีฬาคลองจั่น แยกลำสาลี 11. รถไฟฟ้าสายสีฟ้าอ่อน หรือไลท์เรล บางนา-สุวรรณภูมิ
- ความคืบหน้า : รอเปิดร่วมทุนพีพีพี
- ระยะทาง : ประมาณ 24 กิโลเมตร รวมทั้งหมด 14 สถานี
- เส้นทางเดินรถ : แบ่งเป็น 2 ระยะ โดยระยะแรกสร้างเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม สถานีบางนา ไปจนถึงสถานีธนาซิตี้ หน้าหมู่บ้านธนาซิตี้ และระยะสอง วิ่งผ่านมหาวิทยาลัยเกริก และไปสิ้นสุดที่สถานีสุวรรณภูมิใต้ ที่อยู่ภายในพื้นที่สนามบินสุวรรณภูมิ
- เส้นทางเดินรถ : แบ่งเป็น 2 ระยะ โดยระยะแรกสร้างเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม สถานีบางนา ไปจนถึงสถานีธนาซิตี้ หน้าหมู่บ้านธนาซิตี้ และระยะสอง วิ่งผ่านมหาวิทยาลัยเกริก และไปสิ้นสุดที่สถานีสุวรรณภูมิใต้ ที่อยู่ภายในพื้นที่สนามบินสุวรรณภูมิ
12. สาย Airport Rail Link พญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง
- ระยะทาง : ประมาณ 21 กิโลเมตร
- เส้นทางเดินรถ : ต่อขยายจากสถานีพญาไท เลี้ยวขวาวิ่งเลียบพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ผ่านสถานีรถไฟหลวงจิตรลดา และเข้าสู่สถานีราชวิถี ผ่านสถานีรถไฟสามเสน เข้าสู่ชานชาลาที่สถานีกลางบางซื่อ แล้ววิ่งเลียบถนนวิภาวดีรังสิต ผ่านเขตหลักสิ้นสุดที่สถานีท่าอากาศยานดอนเมือง
- ระยะทาง : ประมาณ 21 กิโลเมตร
- เส้นทางเดินรถ : ต่อขยายจากสถานีพญาไท เลี้ยวขวาวิ่งเลียบพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ผ่านสถานีรถไฟหลวงจิตรลดา และเข้าสู่สถานีราชวิถี ผ่านสถานีรถไฟสามเสน เข้าสู่ชานชาลาที่สถานีกลางบางซื่อ แล้ววิ่งเลียบถนนวิภาวดีรังสิต ผ่านเขตหลักสิ้นสุดที่สถานีท่าอากาศยานดอนเมือง
13. รถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา)

การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ร่วมลงทุนกับกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร วงเงิน 149,650 ล้านบาท
ระยะทาง : 220 กิโลเมตร รถไฟความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง รวมทั้งหมด 9 สถานี ได้แก่ สถานีดอนเมือง สถานีบางซื่อ สถานีมักกะสัน สถานีสุวรรณภูมิ สถานีฉะเชิงเทรา สถานีชลบุรี สถานีศรีราชา สถานีพัทยา และสถานีอู่ตะเภา
เส้นทางเดินรถ : ใช้โครงสร้างและแนวเส้นทางการเดินรถเดิมของ Airport Rail Link ที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบัน โดยจะก่อสร้างทางรถไฟขนาด 1.435 เมตร (Standard Gauge) ส่วนต่อขยาย 2 ช่วงจากสถานีพญาไท ไปยังสนามบินดอนเมือง และจากสถานีลาดกระบัง ไปยังสนามบินอู่ตะเภา พร้อมเชื่อมเข้า-ออกสนามบิน โดยใช้เขตทางเดิมของการรถไฟฯ เป็นส่วนใหญ่
- กำหนดเปิดให้บริการในปี 2566 หรือ 2567
*** หมายเหตุ : อัปเดตข้อมูลล่าสุดวันที่ 16 ธันวาคม 2563
ขอบคุณข้อมูลจาก
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง)
บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด