จัดการค่าใช้จ่ายได้ง่าย ๆ เพื่อให้มีเงินเหลือมากขึ้น โดยการจดบันทึกรายรับ-รายจ่าย แยกประเภทค่าใช้จ่าย แยกบัญชีค่าใช้จ่ายเพื่อการออมและลงทุนออกจากค่าใช้จ่ายอื่น และชำระแบบตัดบัญชีอัตโนมัติหรือตัดบัญชีบัตรเครดิต
ช่วงสิ้นเดือน นอกจากจะเป็นช่วงเวลาแห่งความสุขเพราะเงินเดือนออกแล้ว ยังเป็นช่วงของการจัดการสะสางบิลค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าบัตรเครดิต ซึ่งบางทีก็ดูเยอะจนเวียนหัว แต่ไม่เป็นไร เพราะวันนี้ K-Expert มีทิปส์การจัดการบิลต่าง ๆ ให้อยู่หมัด ทำได้ง่าย แถมมีเงินเหลือเก็บได้อีกด้วย
ช่วงสิ้นเดือน นอกจากจะเป็นช่วงเวลาแห่งความสุขเพราะเงินเดือนออกแล้ว ยังเป็นช่วงของการจัดการสะสางบิลค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าบัตรเครดิต ซึ่งบางทีก็ดูเยอะจนเวียนหัว แต่ไม่เป็นไร เพราะวันนี้ K-Expert มีทิปส์การจัดการบิลต่าง ๆ ให้อยู่หมัด ทำได้ง่าย แถมมีเงินเหลือเก็บได้อีกด้วย
1. จัดทำบันทึกรายรับ-รายจ่าย
หลายคนอาจรู้สึกว่า การทำบันทึกรายรับ-รายจ่ายเป็นเรื่องยุ่งยาก เพราะต้องคอยจดบันทึกค่าใช้จ่ายเป็นประจำทุกวัน แต่จริง ๆ แล้วก็ไม่ได้ยากขนาดนั้น เพราะเดี๋ยวนี้มีแอพพลิเคชั่นที่ช่วยเราบันทึกรายรับ-รายจ่าย แถมยังคำนวณให้เสร็จสรรพ ไม่ต้องมานั่งคิดเลยเอง
นอกจากนี้ การทำบันทึกรายรับ-รายจ่ายมีประโยชน์มาก เพราะช่วยให้ทราบว่า ในแต่ละเดือนเราหมดไปกับค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง และข้อดีอีกอย่างหนึ่งของการจดบันทึกรายรับ-รายจ่ายคือ เราจะรู้ว่าในแต่ละเดือนเรามีเงินเหลือมากน้อยแค่ไหน และมีค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นหรือไม่ เพื่อให้สามารถปรับลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลงได้ในเดือนถัดไป จะได้มีเงินเหลือเก็บมากขึ้น
2. แยกประเภทค่าใช้จ่าย เพื่อจะได้วางแผนจัดการค่าใช้จ่ายในแต่ละกลุ่มได้ โดยค่าใช้จ่ายสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
• ค่าใช้จ่ายคงที่ เป็นค่าใช้จ่ายที่เราต้องชำระเป็นประจำทุกเดือน เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าผ่อนชำระหนี้สินต่าง ๆ ค่าประกัน ซึ่งเราสามารถประมาณค่าใช้จ่ายในกลุ่มนี้ได้ล่วงหน้า และกันเงินออกมาให้เพียงพอ
• ค่าใช้จ่ายผันแปร เป็นค่าใช้จ่ายที่มีจำนวนแตกต่างกันไปในแต่ละเดือน เช่น ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่ารักษาพยาบาล ซึ่งค่อนข้างยากต่อการประมาณการ และอาจมีค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ไม่คาดฝัน การสำรองเงินเผื่อไว้สำหรับกรณีฉุกเฉิน 6 เท่าของค่าใช้จ่ายรายเดือน จะช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบาได้
• ค่าใช้จ่ายเพื่อการออมและลงทุน เป็นค่าใช้จ่ายที่ควรกันไว้ในแต่ละเดือนสำหรับเป้าหมายต่าง ๆ เช่น ดาวน์บ้าน ซื้อรถ หรือเกษียณอายุ โดยควรกันไว้ก่อนใช้จ่ายอย่างน้อย 20% ของรายได้รายเดือน และนำไปลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่าง ๆ ตามความสำคัญของเป้าหมายและระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
นอกจากนี้ เมื่อสามารถแยกค่าใช้จ่ายประเภทต่าง ๆ เราควรแยกบัญชีสำหรับค่าใช้จ่ายเพื่อการออมและลงทุนออกจากบัญชีค่าใช้จ่ายอื่น เพราะหากไม่มีการแยกบัญชีค่าใช้จ่าย เราอาจเผลอนำเงินสำหรับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ มาใช้ปะปนกัน เช่น นำเงินที่ต้องการออมเพื่อดาวน์บ้านมาจ่ายค่าประกันรถยนต์ ซึ่งทำให้การออมหรือลงทุนเพื่อเป้าหมายต่าง ๆ ทำได้ยากขึ้น
วิธีนี้ช่วยให้การชำระค่าใช้จ่ายรายเดือนต่าง ๆ ทำได้สะดวกรวดเร็วกว่าการไปชำระด้วยตัวเอง ซึ่งสามารถทำได้ทั้งการชำระค่าสาธารณูปโภค และค่าบัตรเครดิตต่าง ๆ โดยทางธนาคารจะตัดเงินเพื่อชำระค่าใช้จ่ายในวันที่กำหนดไว้ในแต่ละเดือน สิ่งสำคัญที่ไม่ควรละเลยคือ การตรวจสอบใบเสร็จค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ก่อนจะถึงวันตัดบัญชีเพื่อเช็กว่า รายการค่าใช้จ่ายเหล่านี้ถูกต้องหรือไม่ หากพบว่าไม่ถูกต้อง ควรติดต่อสอบถามกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเร็วที่สุด
4. ชำระโดยตัดจากบัญชีบัตรเครดิต
สำหรับบางค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ต้องชำระเป็นประจำทุกเดือน เช่น ค่าโทรศัพท์ ค่าเคเบิลทีวี ค่าอินเทอร์เน็ต นอกจากการชำระค่าใช้จ่ายผ่านการตัดบัญชีธนาคารแล้ว การชำระผ่านการหักบัตรเครดิตเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ขอแนะนำ เพราะนอกจากจะช่วยให้เราไม่หลงลืมชำระค่าใช้จ่ายเหล่านี้แล้ว เรายังได้รับคะแนนสะสมจากบัตรเครดิตต่าง ๆ ด้วย
ส่วนค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น กองทุน LTF RMF หรือค่าเบี้ยประกัน แนะนำให้ลองสอบถามกับสถาบันการเงินว่า สามารถชำระผ่านบัตรเครดิตได้หรือไม่ และอย่าลืมชำระเงินเต็มจำนวนเมื่อถึงกำหนด เพื่อจะได้ไม่มีดอกเบี้ยที่เกิดขึ้น
หวังว่าเทคนิคที่แนะนำไปข้างต้นจะช่วยให้ทุกคนจัดการกับค่าใช้จ่ายได้ง่ายขึ้น สิ่งที่สำคัญที่สุดในการจัดการกับค่าใช้จ่ายคือ การมีสติในการใช้จ่าย โดยควรซื้อเฉพาะของที่จำเป็น และลดการซื้อของฟุ่มเฟือยลง ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยให้เรามีเงินเหลือเก็บมากขึ้น
K-Expert Action
• ปรับลดค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยลง เช่น ลดการทานอาหารนอกบ้าน ลดการซื้อของแบรนด์เนม
• เก็บใบเสร็จค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ไว้ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องก่อนการชำระเงิน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก