
เคาะงบ 4 แสนล้าน เตรียมสร้างรถไฟไทย-จีน เฟสแรก ก.ย. 58
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก รายการ เรื่องเล่าเช้านี้ บีอีซี-เทโร
เตรียมเดินหน้ารถไฟทางคู่ไทย-จีน งบ 4 แสนล้านบาท ใช้เวลาก่อสร้าง 2 ปีครึ่ง คาดเริ่มก่อเฟสแรกเดือน ก.ย. 58 เปิดบริการได้ปลายปี 2560
วันที่ 16 มกราคม 2558 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กระทรวงคมนาคมได้ข้อสรุปประชุมร่วมไทย-จีน ครั้งที่ 1 คือ เริ่มก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่ กรุงเทพฯ-แก่งคอย และหนองคาย-มาบตาพุด ระยะทางรวม 873 กิโลเมตร ปลายปีนี้ และจะแล้วเสร็จภายในเวลา 2 ปีครึ่ง เปิดใช้บริการได้ปลายปี 2560
โดย พล.อ.อ. ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวภายหลังการประชุมว่า โครงการรถไฟทางคู่เป็นทางมาตรฐาน 1.435 เมตร เส้นทางหนองคาย-นครราชสีมา-แก่งคอย-ท่าเรือมาบตาพุด และกรุงเทพฯ-แก่งคอย ที่เคยลงนามเซ็นเอ็มโอยูกับจีน เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2557 ที่ผ่านมา ซึ่งจะมีการประชุมเพื่อศึกษารายละเอียดแผนงานและขั้นตอนการดำเนินโครงการเพื่อให้ได้ข้อสรุปภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 พร้อมเริ่มดำเนินโครงการในการศึกษาและสำรวจออกแบบจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม แผนและรูปแบบการลงทุนภายในวันที่ 1 มีนาคม 2558 และคาดว่าจะสามารถสรุปผลการดำเนินงานทุกอย่างรวมถึงรูปแบบการลงทุนได้ในเดือนกรกฎาคม 2558
ส่วนแผนการดำเนินงานก่อสร้างงานโยธาจะแบ่งออกเป็น 4 ช่วง เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการสำรวจและออกแบบ มีดังนี้ คือ




โดยในการดำเนินการก่อสร้างงานโยธาช่วงที่ 1-2 จะเริ่มในวันที่ 1 กันยายน 2558 เมื่องานก่อสร้างแล้วเสร็จ จะเปิดให้บริการเดินรถในเดือนธันวาคม 2560 และเริ่มดำเนินการก่อสร้างงานโยธาช่วงที่ 3-4 ในวันที่ 1 ธันวาคม 2558 ก่อสร้างแล้วเสร็จ จะเปิดให้บริการเดินรถ มีนาคม 2561 โดยใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 2 ปีครึ่ง เพราะมีการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาช่วยด้วย
พล.อ.อ. ประจิน กล่าวต่อว่า เนื่องจากโครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่างไทยกับจีน จึงได้เปิดประมูลผู้รับเหมาทั้งไทย-จีน โดยขณะนี้ได้มีการรวบรวมข้อมูลบริษัทไทยที่มีขีดความสามารถดำเนินโครงการในด้านต่าง ๆ เป็นทั้งบริษัทระดับใหญ่ ระดับกลางและผู้แทนของบริษัทต่างชาติ ส่วนฝ่ายจีนก็มีการสรุปรายชื่อบริษัทผู้รับเหมาเช่นกัน ซึ่งมาจาก 5 รัฐวิสาหกิจของจีน แต่มีจำนวนบริษัทมากกว่า ซึ่งผู้ประมูลทั้งสองฝ่ายจะนำข้อมูลมาพิจารณาร่วมกันจับคู่คัดเลือกหาบริษัทที่มีความเหมาะสมที่จะเข้ามาดำเนินงานต่อไป โดยจะเร่งดำเนินการสรุปและนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมร่วมไทย-จีนครั้งที่ 3
อย่างไรก็ดี พล.อ.อ. ประจิน กล่าวว่า ค่าก่อสร้างงานโยธานั้นคณะทำงานเดิมประเมินค่าก่อสร้างไว้ที่ 1,000 กิโลเมตร ประมาณ 4 แสนล้านบาท ส่วนโครงการนี้ 873 กิโลเมตร ค่าก่อสร้างประมาณ 3.5 แสนล้านบาท แต่ขึ้นอยู่กับข้อมูลจากการลงพื้นที่สำรวจว่าแนวก่อสร้างเส้นทางกับการเวนคืนที่ดิน ซึ่งพยายามจะยึดตามแนวเส้นทางรถไฟเดิม เพื่อจะได้ประหยัดค่าใช้จ่าย แต่หากต้องตัดแนวเส้นทางใหม่ก็อาจมีค่าใช้จ่ายในการเวนคืนที่ดินเพิ่มขึ้นด้วย
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
