x close

ผ่อนรถชิล ๆ vs โปะไฟแนนซ์ แบบไหนดีกว่ากัน ?

ผ่อนรถชิล ๆ vs โปะไฟแนนซ์ แบบไหนดีกว่ากัน
ผ่อนรถชิล ๆ vs โปะไฟแนนซ์ แบบไหนดีกว่ากัน ?

เกริ่นนำโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก คุณ tatumaa สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม

          วิธีการผ่อนรถให้คุ้มค่า จะเลือกผ่อนชิล ๆ นานหลายปี หรือโปะรถให้หมดเพื่อปิดบัญชีไฟแนนซ์เร็ว ๆ ดีนะ ลองไปหาคำตอบกันเถอะ

          รถยนต์ กลายเป็นปัจจัยสำคัญในการใช้ชีวิตของคนยุคปัจจุบันไปแล้ว ซึ่งแม้จะมีบางคนซื้อรถยนต์ด้วยเงินสด แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังนิยมผ่อนรถตามระยะเวลาที่ไฟแนนซ์กำหนด เป็นระยะเวลาตั้งแต่ 48 เดือน 60 เดือน หรือ 72 เดือน เป็นต้น ซึ่งบางคนอาจจะอยากผ่อนรถให้หมดไว ๆ ด้วยการโปะเงินก้อน แต่นั่นเป็นการปลดหนี้รถยนต์ที่ดีจริงหรือไม่ !?  คุณ tatumaa สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม มีคำแนะนำมาฝากค่ะ





ผ่อนรถยนต์ชิล ๆ ไป หรือ จะโปะหรือจะปิดบัญชีไฟแนนซ์ไปเลย (คุ้มไม่คุ้มมาดูกัน !!!) โดย คุณ tatumaa

           กระทู้นี้เราตั้งใจแค่อยากแชร์ หลักการ (คร่าว ๆ) หรือทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการคำนวณค่างวดรถยนต์ อัตราดอกเบี้ย และส่วนลดที่ได้รับในการตัดสินใจหลังจากที่ได้ขอสินเชื่อมาแล้ว การชั่งใจอยู่ว่าจะโปะดี หรือจะผ่อนชิล ๆ หรือจะผ่อนทบดี อาจเป็นประโยชน์ให้กับคนที่กำลังจะขอสินเชื่ออยู่ ณ ขณะนี้ โดยทำให้เห็นความต่างระหว่างเงื่อนไขในแต่ละข้อ ว่าในแต่ละการตัดสินใจของคุณ มันมีผลกระทบต่อเงินในกระเป๋าของคุณมากน้อยแค่ไหน 

           สำหรับกูรูผู้รู้ทั้งหลาย หากท่านรู้และเข้าใจอยู่แล้วกระทู้นี้อาจถูกใจหรือไม่ถูกใจท่านต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยค่ะ



คำอธิบายภาพ

           รถยนต์ราคาสุทธิคือ 856,000 บาท

           จริง ๆ แล้ว ในก้อนนี้จะมี VAT หรือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม อยู่ด้วยคือ  56,000 บาท

           การคำนวณเพื่อถอด VAT ออกมานั้น ใช้สูตรมาตรฐานก็คือ x100 แล้วก็ หาร 107

            แต่ในที่นี้รวบรัด ก็คือหาร 1.07 เลย ก็ได้ตัวเลขที่เท่ากัน

          จะสังเกตได้ว่า ไม่ว่าจะคำนวณแบบไหน ทั้งราคาก่อน VAT หรือ หลัง VAT ผลการคำนวณ ค่างวดก็จะออกมาได้เท่ากันค่ะ 15,693.34/งวด


           ทั้งนี้ในช่องสีช่องซ้าย (สีส้ม) สามารถนำไปใช้กับเวลาคำนวณรถมือสองได้ด้วยค่ะ เพราะราคารถยนต์มือสองที่ขายกันตามเต้นท์ก็ตาม หรือซื้อขายกันเองแล้วเอาไปเข้าไฟแนนซ์ก็ตาม ส่วนใหญ่เป็นราคาที่ยังไม่มี VAT ทั้งนั้นค่ะ

          อย่างที่เข้าใจสินค้าที่ขายถูกต้องมีการเสียภาษีชัดเจน ก็ต้องเข้า ระบบ VAT 7 % (ภาษีมูลค่าเพิ่ม) ซึ่งหลาย ๆ คนยังเข้าใจผิดเกี่ยวกับว่า ซื้อรถป้ายแดง เวลาผ่อนไม่ต้องบวก VAT แต่รถมือสองพอจัดไฟแนนซ์เวลาผ่อนแล้วต้องบวก VAT แต่ที่จริงแล้วทั้งสองอย่างก็ต้องมี VAT อยู่ด้วยเสมอ ขึ้นอยู่กับว่าเขาจะรวมให้คุณตอนไหน ซึ่งผู้บริโภคคนสุดท้ายมักจะถูกผลักภาระภาษีให้รับไปเสมอ โดยส่วนใหญ่สถาบันการเงินจะเป็นผู้รับผิดชอบ เก็บ VAT จากผู้ขอสินเชื่อเอง

          หลาย ๆ คนเคยสงสัยและตั้งคำถามว่า บังเอิญเงินเดือนเกิดขึ้น หรือได้เลื่อนตำแหน่ง หรืองานมันเวิร์กมากทำให้รายได้ต่อเดือนมันเยอะขึ้น จากที่เคยดีลค่างวดไว้ 15,693.34 / งวด อยากจะ โปะแบบทบไปเลย เบิ้ลเลยว่างั้น แต่มันจะมีผลอะไรกับชีวิตคุณไหม ลองมาดูกัน

          ส่วนใหญ่สถาบันการเงินชั้นนำของประเทศไทย ในการปล่อยสินเชื่อกับรถยนต์จะใช้ระบบดอกเบี้ยแบบคงที่ และในที่นี้ขอเอ่ยถึงแค่ อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่เท่านั้นนะคะ ซึ่งไม่ว่า จะโปะ จะโบก จะผ่อนเกิน มันไม่มีผลกับดอกเบี้ยแต่มันจะกระทบตอนท้ายแค่นั้น ถ้าอยากได้ส่วนลดดอกเบี้ย คุณสามารถทำได้โดยวิธีการปิดบัญชีซึ่งติดตามอ่านต่อไปนะคะ มีเขียนไว้ ท่อนกลาง ๆ


ตัวอย่าง 1

           คุณผ่อนเดือนนี้เกินไปละ 1,000 บาท จาก ค่างวดปกติ 15,693.34 เป็น 16,693.34 

           ผลของมันคือ เดือนหน้าถ้าคุณชำระเท่าเดิมที่ยอด 15,693.34  

           และยังคงผ่อน ตามปกติไปเรื่อย ๆ จนครบสัญญา

           แต่งวดสุดท้าย (งวดที่ 60) คุณไม่ต้องจ่ายเต็มค่ะ คุณจะชำระแค่ 14,693.34 เท่านั้น


ตัวอย่าง 2

           คุณผ่อนเกินไปละ 1,000 บาท ทุกเดือน จาก ค่างวดปกติ 15,693.34 เป็น 16,693.34

           ก็คือ 1,000 x 60 งวด = 60,000 สรุปคือคุณผ่อนเกินไป 60,000  บาท


          เท่ากับว่าคุณผ่อน งวดที่ 57           =  15,693.34      ยอดเกินคงเหลือ 44,306.66 

          คุณผ่อน งวดที่ 58                      =  15,693.34      ยอดเกินคงเหลือ 28,613.32

          คุณผ่อน งวดที่ 59                      =  15,693.34      ยอดเกินคงเหลือ 12,919.98

          และงวดที่ 60 คุณจะเหลือเพียงแค่    =  12,919.98      ปิดบัญชี
   
          เท่ากับว่า ถ้าผ่อนเกินไปเดือนละพัน ค่างวดจะจบที่งวด 57 ทำให้ดูว่าเงินทั้งก้อนมันจะตัดไปตอนไหนนะคะ ว่าถ้าคุณผ่อนเกิน ๆ ไป ผลที่ได้คือ เงินที่เกินมันไปตัดปลายทางสัญญาของคุณขึ้นมาเรื่อย ๆ ค่ะ


ตัวอย่าง 3


          คุณผ่อนเดือนนี้ผ่อนขาดไป 1,000 บาท จากค่างวดปกติ 15,693.34  เป็น 14,693.34ผลของมันคือ เดือนหน้าคุณก็ต้องชำระเพิ่ม อีก 1,000 ที่หายไป รวมเป็น 16,693.34 

          หากคุณไม่ชำระยอดที่ค้าง สถานะบัญชีของคุณจะกลายเป็นค้างชำระนะคะ จะมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมล่าช้าเกิดขึ้น อันนี้ต้องระวัง (เก็บหรือไม่ มากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับสถาบันการเงิน) เพราะแต่ละสถาบันการเงินมีกฎของการติดตามทวงนี้ที่แตกต่างกัน ความยืดหยุ่นก็แตกต่างกัน ดังนั้นสัญญากับเขาว่าจะผ่อนเดือนละเท่าไร ก็จ่ายเท่านั้นนะคะ ถ้าไม่อยากให้เกิดความยุ่งยาก

          แต่ถ้าคุณผ่อนในเดือนถัดไป เป็นค่างวดปกติ 15,693.34 และยังคงไม่จ่ายที่คุณค้างเขาอยู่ 1,000 บาท ยอดนี้ก็จะค้างไปในเดือนถัดไปและยังคงอยู่ตลอดอายุสัญญา ค้างไปเรื่อย ๆ ......... จนกว่าคุณจะจ่ายส่วนที่ขาดให้เขาและจะมีผลทำให้การประวัติการชำระของคุณไม่ค่อยสวย และส่งผลกับการขอสินเชื่ออื่น ๆ ในอนาคต




           คืออันนี้ไม่ต้องสนใจ VAT นะคะ เอาแก่นแท้ของการคำนวณไปเลย เพราะ (ยอดเงินต้น + ดอกเบี้ย ) x VAT 7% ก็เท่ากับยอด ข้างบนแหละค่ะ 15,693.34 เป็นยอดรวม VAT 





คำอธิบายประกอบทางเลือกที่  2

           ง่าย ๆ คือ 60 งวด ผ่อนมาครึ่งทางคือ 30 งวด ทุกอย่างหาร 2 เลยง่าย ๆ จะเห็นได้ว่าดอกเบี้ยคงเหลือ คือ 40,000 สถาบันการเงินส่วนใหญ่ กรณีผ่อนมาเกินกว่าระยะที่เขาอนุญาตให้เทปิดได้ (เงื่อนไขแบบละเอียดต้องสอบถามสถาบันการเงินเอง เพราะแต่ละที่ไม่เหมือนกัน) ถ้าเทปิดหมดเลย เขาจะลดดอกเบี้ยคงเหลือให้ 50 % ย้ำ ลดดอกเบี้ยคงเหลือ

           ดังนั้น หากเทปิด ณ ตอนนี้ ที่ผ่อนมาแล้ว 30 งวด คุณจะต้องชำระเงินทั้งสิ้น 400,000 + (40,000 ÷ 2) =  420,000 รวมเงินที่ประหยัดได้  20,000 บาท






           ทั้งนี้ก็ได้ข้อสรุปของตัวเลขไว้ให้ทุกท่านประกอบการตัดสินใจนะคะ ว่าแบบไหนดีหรือไม่ดี เหมาะกับสถานะการเงินหรือไม่ หรือแบ่งสรรปันส่วนให้เหมาะกับแต่ละช่วงจังหวะชีวิตคุณค่ะ หากกระทูนี้มีข้อผิดพลาดประการใดต้องขออภัยท่านผู้อ่านไว้ ณ ที่นี้นะคะ และพร้อมเอาไปปรับปรุง หรือแก้ไขข้อมูล เพื่อให้เป็นประโยชน์กับผู้อ่านต่อไปค่ะ
เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ผ่อนรถชิล ๆ vs โปะไฟแนนซ์ แบบไหนดีกว่ากัน ? อัปเดตล่าสุด 21 ตุลาคม 2557 เวลา 17:50:14 44,339 อ่าน
TOP