ทองเค เป็นคำที่ได้ยินกันบ่อย ๆ แต่หลายคนอาจยังไม่เข้าใจความหมายที่แท้จริงของคำนี้อย่างถ่องแท้ว่า ทองเค คืออะไรกันแน่ ขายได้ไหม แตกต่างจากทองชนิดอื่นอย่างไร คนที่ชอบเครื่องประดับหรือทองคำ คงน่าจะคุ้นเคยกับคำว่า ทองเค อยู่บ้าง และอาจสงสัยว่า ทองเค คืออะไร จะใช่ทองคำแท่ง ทองรูปพรรณที่ขายตามร้านทองหรือเปล่า แล้วราคาทอง เคมีมูลค่ามาก-น้อยแค่ไหน วันนี้ชวนมาทำความเข้าใจกัน ทองเค คือ ทองคำที่ผสมโลหะอื่น ๆ ลงไปด้วย เช่น เงิน ทองแดง สังกะสี นิกเกิล พาลาเดียม โดยตัว K ที่ตามหลังตัวเลขนั้นย่อมาจากกะรัต (Karat) ซึ่งเป็นหน่วยวัดความบริสุทธิ์ของทองคำ แล้วทำไมต้องผสมโลหะต่าง ๆ ลงไปในทองคำด้วย ? สาเหตุเป็นเพราะทองคำบริสุทธิ์ 100% มีความอ่อนนุ่มมาก ไม่เหมาะกับการนำมาทำเป็นเครื่องประดับ จึงต้องผสมโลหะอื่น ๆ ลงไป เพื่อให้ทองทนทาน แข็งแรงมากขึ้น นอกจากนี้การผสมโลหะยังทำให้ทองมีสีสันที่หลากหลายขึ้น ไม่จำเป็นต้องเป็นสีเหลืองทองเพียงอย่างเดียว เช่น ถ้าเป็นสีพิงก์โกลด์ หรือทองอมชมพู จะต้องผสมทองแดงให้มากกว่าปกติ อีกทั้งทำให้มีลวดลายและดีไซน์ที่ดูทันสมัยเป็นเอกลักษณ์ ทองเคมีหลายชนิด โดยแต่ละชนิดจะมีปริมาณทองคำผสมอยู่แตกต่างกัน เช่น มีทองคำบริสุทธิ์ 37.5% จึงมีความแข็งแรง เหมาะสำหรับการนำมาขึ้นรูปเป็นเครื่องประดับที่ต้องใช้งานบ่อย ๆ เช่น แหวน สร้อยข้อมือ หรือต่างหู เพราะทนต่อการขีดข่วนและการกระแทกได้ดีกว่า อีกทั้งด้วยปริมาณทองคำผสมน้อยกว่าทองชนิดอื่น ๆ ทอง 9K จึงมีราคาที่ถูกกว่า น้ำหนักเบา สวมใส่สบาย แต่หากดูแลไม่ดี เครื่องประดับอาจเปลี่ยนสีได้ง่ายกว่าทองชนิดอื่น เป็นชนิดทองเคที่เราได้ยินกันบ่อย โดยเป็นทองคำที่มีความบริสุทธิ์ 75% ผสมกับโลหะอื่น ๆ อีก 25% ทำให้มีความแข็งแรง ทนต่อการขีดข่วน ควบคู่ไปกับความสวยงาม ดูหรูหรา เป็นทองที่นิยมนำไปทำเป็นเครื่องประดับกันมากที่สุด เช่น แหวนทองฝังพลอย สร้อยทองฝังเพชร หากถามว่า ทอง 96.5% มีกี่เค ? คำตอบก็คือ ทอง 23K นี่ล่ะ ซึ่งเป็นประเภททองคำที่คนไทยนิยมซื้อกันมากที่สุด เพราะมีความแข็งแรงมากกว่าทอง 24K อีกทั้งมีสีเหลืองทองสวยงาม มีความเงา จึงนิยมนำมาทำเป็นทองรูปพรรณที่มีรายละเอียดและลวดลายซับซ้อนได้มากขึ้น กลายเป็นเครื่องประดับ เช่น สร้อยคอ กำไล แหวน ต่างหู แน่นอนว่าทองที่มีความบริสุทธิ์ถึง 96.5% ย่อมมีราคาสูงตามไปด้วย ทอง 24K คือ ทองคำบริสุทธิ์ 99.9% ส่วนที่เหลืออีก 0.1% จะเป็นส่วนผสมจากโลหะหรือแร่อื่น ๆ จึงเป็นทองคำที่มีมูลค่าสูง เพราะหายาก เป็นที่ต้องการของนักสะสมทั้งในและต่างประเทศ และถูกนำเอาไปขึ้นรูปเป็นทองแท่ง อย่างไรก็ตาม แม้ว่าทอง 24K จะมีสีเหลืองทองสวยงาม แต่ก็ไม่นิยมนำมาทำเป็นเครื่องประดับ เนื่องจากเป็นทองคำบริสุทธิ์ที่มีความอ่อนนุ่ม บิดเบี้ยวได้ง่าย ไม่ทนทานต่อรอยขีดข่วน ทองเคก็คือทองคำแท้ ดังนั้น สามารถนำไปขายหรือจำนำที่ร้านทองได้เลย โดยราคาทองเคขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น เปอร์เซ็นต์ของทองคำ : ทองเคที่มีเปอร์เซ็นต์ทองคำสูง เช่น ทอง 23K และ 24K ก็จะมีมูลค่าสูงตามไปด้วย น้ำหนักของทองเค : น้ำหนักของทองเคก็มีผลต่อราคาที่ได้ ยิ่งมีน้ำหนักมาก ราคาก็ยิ่งสูงตาม ราคาทองคำขณะนั้น : ราคาทองคำในตลาดโลกจะมีผลต่อราคาซื้อ-ขายทองเคโดยตรง หากเรานำทองเคไปขายในช่วงที่ราคาทองคำสูงก็จะได้ราคาสูงตามไปด้วย ค่าแรง : ร้านทองอาจจะหักค่าแรงในการหลอมหรือขึ้นรูปทองใหม่เล็กน้อย ขึ้นอยู่กับแต่ละร้านเป็นผู้กำหนด ทั้งนี้ ควรเลือกซื้อ-ขายกับร้านทองที่น่าเชื่อถือ และอย่าลืมเปรียบเทียบราคาทองเคก่อนขาย เพราะแต่ละร้านให้ราคาไม่เท่ากัน ยิ่งตัวเลขหน้า K สูงเท่าไหร่ก็แสดงว่าเป็นทองคำที่มีความบริสุทธิ์มากเท่านั้น ราคาก็จะแพงตามไปด้วย ดังนั้น การเลือกซื้อทองเคขึ้นอยู่กับจุดประสงค์การใช้งาน รวมถึงงบประมาณที่มี ใช้เป็นเครื่องประดับ : เลือกทองเคที่มีปริมาณทองคำผสมน้อยลง เช่น ทอง 18K เพราะมีความแข็งแรง ทนทานต่อรอยขีดข่วน มีลวดลายสวยงาม แต่หากมีงบประมาณไม่มากอาจเลือกทอง 9K ที่มีน้ำหนักเบาและราคาถูกกว่า เน้นความสวยงาม : เลือกทองเคที่มีปริมาณทองคำผสมมากขึ้น เพื่อให้เห็นเนื้อทองที่มีความเงางาม สีเหลืองทอง เช่น ทอง 18K หรือทอง 23K เน้นเก็งกำไร : เลือกทองเคที่ซื้อ-ขายง่าย คนไทยนิยมคือทอง 23K เพื่อการลงทุนและสะสม : เลือกทองคำที่มีเนื้อทองมาก คือ ทอง 23K หรือทอง 24K ซึ่งมีมูลค่าสูงกว่าทองเคชนิดอื่น สรุปแล้วทองเคแต่ละชนิดแตกต่างกันที่ปริมาณทองคำบริสุทธิ์ที่ผสมอยู่นั่นเอง เพื่อให้เหมาะกับวัตถุประสงค์การใช้งาน ยิ่งมีตัวเลข K มากก็แสดงว่ามีเปอร์เซ็นต์ทองสูง สามารถซื้อ-ขายได้ในราคาสูงกว่าทองเคที่มีตัวเลข K น้อยกว่า ราคาทองย้อนหลัง 15 ปี เปิดสถิติราคาทองคำสูงสุด-ต่ำสุด อยู่ที่เท่าไหร่ วิธีคิดค่ากำเหน็จทอง คือค่าอะไร ต้องคำนวณราคายังไงบ้าง วิธีเช็กทองแท้ได้ด้วยตัวเองง่าย ๆ รู้ไว้จะได้ไม่โดนหลอก 4 วิธีออมทองด้วยเงินหลักร้อย หลักพัน งบน้อยก็ลงทุนได้ ไม่ต้องใช้เงินก้อนโต ขอบคุณข้อมูลจาก : สมาคมค้าทองคำ, กรมประชาสัมพันธ์, ไทยพีบีเอส
แสดงความคิดเห็น