ข้อควรรู้ก่อนติด Solar Rooftop
1. สำรวจปริมาณการใช้ไฟฟ้าในบ้าน
โดยดูย้อนหลังไปประมาณ 3 เดือน - 1 ปี ว่าในแต่ละเดือนใช้ไฟเฉลี่ยเดือนละประมาณเท่าไหร่ และใช้ไฟช่วงไหนมากกว่าระหว่างกลางวันกับกลางคืน เพื่อนำข้อมูลในส่วนนี้ไปคำนวณในการติดตั้งจำนวนแผงโซลาร์เซลล์และการผลิตกำลังไฟฟ้า
หากบ้านไหนใช้ไฟฟ้าช่วงกลางวันมาก ๆ ก็จะคุ้มค่ากว่าบ้านที่ใช้ไฟฟ้าเยอะตอนกลางคืน เพราะด้วยสภาพอากาศที่ร้อน ทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าทำงานหนักและกินไฟกว่า ซึ่งสามารถตรวจสอบเองได้โดยจดเลขมิเตอร์ที่ใช้ 5-7 วัน แยกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงเช้าหลัง 06.00 น. กับช่วงกลางคืนหลัง 18.00 น. แล้วนำมาหาค่าเฉลี่ยว่าบ้านเราใช้ไฟช่วงไหนมากกว่ากัน
2. ตรวจสอบโครงสร้างหลังคาและพื้นที่ติดตั้ง
Solar Rooftop สามารถติดตั้งบนหลังคาได้ทุกประเภท แต่เพื่อความปลอดภัยควรปรึกษาวิศวกรให้ประเมินความเหมาะสมดูก่อน ว่าโครงสร้างหลังคาสามารถรับน้ำหนักเพิ่มได้มากน้อยแค่ไหน ป้องกันปัญหาโครงสร้างพังหรือหลังคามีรอยร้าวรั่วซึม ผุพัง หรืออื่น ๆ ที่ตามมาในภายหลัง และเพื่อนำไปใช้ในการคำนวณกำลังการผลิตไฟฟ้าและจำนวนแผงโซลาร์เซลล์ที่ต้องใช้
ขณะเดียวกันจุดที่ติดตั้งโซลาร์เซลล์ควรเป็นพื้นที่ที่ได้รับแสงแดดตลอดทั้งวัน ไม่มีร่มเงาหรือสิ่งกีดขวางมาบดบัง มีความลาดชันที่พอเหมาะไม่เกิน 30 องศา เพื่อให้แสงอาทิตย์กระทบกับแผงโซลาร์เซลล์ได้เต็มที่ที่สุด
3. เลือกประเภทของ Solar Roof ที่เหมาะสม
- ระบบ On-Grid (ออนกริด) : ระบบที่เชื่อมต่อกับระบบของการไฟฟ้า โดยจะมีทั้งแผงโซลาร์เซลล์ไว้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์มาแปลงเป็นไฟฟ้าใช้ในบ้านผ่านอินเวอร์เตอร์โดยตรง ในช่วงที่มีแสงแดดน้อย เช่น มีเมฆมากหรือฝนตก ก็จะมีไฟฟ้าจากการไฟฟ้ามาเสริมแทน นอกจากนี้ยังเป็นระบบที่สามารถขายไฟฟ้าคืนให้กับการไฟฟ้าได้ แต่มีข้อเสียคือ หากไฟดับ ระบบก็จะหยุดทำงานไปด้วยเช่นกัน
- ระบบ Off-Grid (ออฟกริด) : ระบบที่ใช้พลังงานจากโซลาร์เซลล์ 100% โดยมีแบตเตอรี่จัดเก็บพลังงานไว้จ่ายไฟเมื่อเปิดใช้ ความสามารถในการจัดเก็บพลังงานขึ้นอยู่กับจำนวนแบตเตอรี่ ดังนั้น นิยมใช้ในพื้นที่ห่างไกลหรือไฟฟ้าเข้าถึงยาก
- ระบบ HyBrid (ไฮบริด) : ระบบที่ใช้ทั้งพลังงานไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์ มีการเชื่อมต่อกับระบบของการไฟฟ้า รวมถึงมีแบตเตอรี่ไว้เก็บพลังงานสำรองใช้ในช่วงที่มีแสงแดดน้อย ช่วงกลางคืน หรือช่วงที่มีปัญหาไฟดับและไฟตก ในขณะเดียวกันยังสามารถขายไฟฟ้าส่วนเกินคืนให้การไฟฟ้าได้ ถือว่าเป็นระบบที่มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน แต่ก็มีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าระบบอื่นด้วยเช่นกัน
4. ศึกษาเรื่องการขออนุญาตติดตั้ง Solar Rooftop
ก่อนจะติดตั้งต้องทำการขออนุญาตโดยแจ้งไปยังที่ทำการท้องถิ่น เช่น อบต. เทศบาล หรือสำนักงานเขต พร้อมยื่นเอกสารการประเมินพื้นที่ติดตั้งว่าได้ผ่านการตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงที่กระทำและรับรองโดยวิศวกรโยธาตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร ว่าสามารถติดตั้งได้อย่างปลอดภัย
จากนั้นลงทะเบียนแจ้งสิทธิการประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาตต่อสำนักงาน กกพ. และการไฟฟ้าในพื้นที่นั้น ๆ โดยมีระยะเวลาในการดำเนินการรวมติดตั้งอยู่ที่ประมาณ 2-3 เดือน
5. คำนวณค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง Solar Rooftop
หาปริมาณไฟฟ้าที่โซลาร์เซลล์ผลิตได้ต่อเดือน
ตัวอย่างเช่น : แผงโซลาร์เซลล์มีกำลังผลิตไฟ 2.2 กิโลวัตต์ (kWp) x ระยะเวลาในการผลิตไฟฟ้าต่อวัน 6 ชั่วโมง = 13.2 หน่วยต่อวัน (396 หน่วยต่อเดือน)
หาค่าไฟฟ้าที่จะประหยัดได้ต่อเดือน
ตัวอย่างเช่น : ค่าไฟเดือนละ 4,180 บาท (ใช้ไฟฟ้า 1,000 หน่วยต่อเดือน ค่าไฟฟ้าหน่วยละ 4.18 บาท) ดังนั้น เมื่อเทียบกับปริมาณไฟฟ้าที่โซลาร์เซลล์ผลิตได้ต่อเดือน 396x4.18 = 1,655.28 บาทต่อเดือน (เฉลี่ยประหยัดค่าไฟได้ประมาณ 19,863 บาทต่อปี)
หมายเหตุ : ค่าไฟอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามประกาศของ กกพ.
หาจุดคุ้มทุนในการติดตั้ง Solar Roof
ตัวอย่างเช่น : ค่าติดตั้ง Solar Roof ประมาณ 130,000 บาท เท่ากับว่าจุดคุ้มทุนจะอยู่ที่ประมาณ 6-7 ปี (130,000/19,863 = 6.5 ปี)
สำหรับบ้านที่ใช้ไฟฟ้าน้อย เช่น ไม่เกิน 2,000 บาทต่อเดือน กว่าจะถึงจุดคุ้มทุนต้องยิ่งใช้เวลานานขึ้น ดังนั้น การติดตั้ง Solar Rooftop จึงเหมาะกับบ้านที่ใช้ไฟฟ้าตอนกลางวันมากกว่ากลางคืน และมีบิลค่าไฟสูงเกิน 2,000-3,000 บาทขึ้นไป ซึ่งถ้าบำรุงรักษาดี ๆ โซลาร์เซลล์อาจมีอายุใช้งานได้นานถึง 25-30 ปี สามารถช่วยประหยัดค่าไฟได้ในระยะยาว
หลังจากทราบข้อมูลดังกล่าวแล้ว บ้านไหนตัดสินใจจะติดตั้ง Solar Rooftop แต่ยังกังวลว่าต้องใช้เงินก้อน แนะนำให้ลองมองหาสินเชื่อบ้านที่ให้กู้เพื่อติดตั้งแผง Solar Rooftop ดูค่ะ ซึ่งมีให้เลือกหลากหลาย อย่าง "สินเชื่อบ้านอยู่เย็น เป็นสุข ปี 2567" จากธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ตอนนี้มีโปรโมชันที่น่าสนใจทีเดียว เหมาะกับคนที่ต้องการปรับปรุงบ้านให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
สินเชื่อบ้านอยู่เย็น เป็นสุข ปี 2567
ใครขอสินเชื่อบ้านอยู่เย็น เป็นสุข ปี 2567 ได้บ้าง ?
ขอสินเชื่อบ้านอยู่เย็น เป็นสุข ปี 2567 เพื่อวัตถุประสงค์อะไรได้บ้าง ?
กรณีกู้ใหม่
- เพื่อซื้อที่ดินพร้อมอาคาร
- เพื่อปลูกสร้างอาคาร หรือซื้อที่ดินพร้อมปลูกสร้างอาคาร
- เพื่อต่อเติม หรือขยาย หรือซ่อมแซมอาคาร
- เพื่อซื้ออุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกฯ (เฉพาะ Solar Roof เท่านั้น)
กรณีกู้เพิ่ม
- เพื่อปลูกสร้างอาคาร/ต่อเติม/ขยาย/ซ่อมแซมอาคาร
- เพื่อซื้ออุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกฯ (เฉพาะ Solar Roof เท่านั้น)
กรณีกู้เพื่อชำระค่าเบี้ยประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ (MRTA)
- เพื่อขอกู้พร้อมกับการขอกู้ในวัตถุประสงค์หลักของผลิตภัณฑ์นี้เท่านั้น
วงเงินให้สินเชื่อบ้านอยู่เย็น เป็นสุข ปี 2567
ระยะเวลาผ่อนชำระ
อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านอยู่เย็น เป็นสุข ปี 2567
อัตราดอกเบี้ยแบบที่ 1 สำหรับลูกค้าสวัสดิการ คิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ 3 ปีแรก โดยในปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 2.45% ต่อปี ส่วนในปีที่ 2 และ 3 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 3.65% ต่อปี ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรกเพียง 3.25% ต่อปี เท่านั้น
จากนั้นตั้งแต่ปีที่ 4 เป็นต้นไป ปรับเป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ถ้าเป็นกรณีกู้เพื่อซื้ออุปกรณ์อำนวยความสะดวกฯ เช่น ติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคา จะคิดตามอัตราดอกเบี้ย MRR ณ ขณะนั้น (ปัจจุบัน MRR = 6.900% ต่อปี ประกาศ ณ วันที่ 9 มิถุนายน 2566 ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยลอยตัวสามารถเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้)
กรณีลูกค้ารายย่อยทั่วไปจะใช้อัตราดอกเบี้ยแบบที่ 2 โดยในปีแรกคิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ 2.60% ต่อปี ส่วนในปีที่ 2 และ 3 อัตราดอกเบี้ยคงที่เท่ากับ 3.65% ต่อปี เฉลี่ย 3 ปีแรกอยู่ที่ 3.30% ต่อปี
ขณะที่ตั้งแต่ปีที่ 4 เป็นต้นไปจนถึงตลอดอายุสัญญาจะปรับเป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว หากใครขอสินเชื่อเพื่อติดตั้ง Solar Rooftop จะใช้อัตราดอกเบี้ยเท่ากับ MRR ตามประกาศของธนาคาร ณ ขณะนั้น (ปัจจุบัน MRR = 6.900% ต่อปี ประกาศ ณ วันที่ 9 มิถุนายน 2566 โดยอัตราดอกเบี้ยลอยตัวสามารถเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้)
- วงเงินในโครงการมีจำนวนจำกัด
- เงื่อนไขอื่น ๆ เป็นไปตามระเบียบธนาคาร
- กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว
- ยื่นขอสินเชื่อบ้านด้วยตนเองผ่าน GHB ALL GEN : https://bit.ly/42bftBa
- ให้เจ้าหน้าที่ของธนาคารติดต่อกลับเพื่อแนะนำสินเชื่อบ้าน : https://bit.ly/3ZfPKXv
- แชตสอบถามปรึกษาสินเชื่อบ้าน : m.me/GHBank
G H Bank Call Center โทร. 0-2645-9000
www.ghbank.co.th