x close

ภาษีอากรจากการลงทุนในตราสารหนี้

การเสียภาษีอากร

เกริ่นนำโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณข้อมูลจาก ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

          สำหรับนักลงทุนสิ่งสำคัญที่ควรรู้และศึกษาข้อมูลให้ดี ก็คือ การเสียภาษีอากร จากการลงทุนในตราสารหนี้นั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็น หุ้นกู้ หรือพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งนักลงทุนมือใหม่ที่ยังไม่ทราบข้อมูล หรือคนที่ยังไม่แน่ใจเกี่ยวกับการเสียภาษีอากรนั้น วันนี้กระปุกดอทคอมมีข้อมูลจาก ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มาฝากให้ทำความเข้าใจกันค่ะ

          รายได้ที่เกิดจากการลงทุนในตราสารหนี้ทั้งหุ้นกู้และพันธบัตรรัฐบาล แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ดอกเบี้ยรับ กำไรจากการขายตราสารหนี้ และเงินได้จากส่วนลดของตราสารหนี้ที่เกิดขึ้น เมื่อมีการซื้อ-ขายครั้งแรกจากผู้ออกตราสารหนี้ โดยอัตราและวิธีการเสียภาษีของเงินได้ดังกล่าว แยกตามประเภทของผู้ที่ได้รับเงินได้ว่า เป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล และยังแบ่งประเภทย่อยเป็นต่างประเทศและในประเทศ

          ท่านนักลงทุนทั่วไปที่เป็นบุคคลธรรมดาในประเทศ จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 15 ของรายได้ทุกประเภท และมีสิทธิเลือกนำไป รวมคำนวณภาษี ณ สิ้นปีได้

          นิติบุคคลในประเทศ ให้นำรายได้ดังกล่าวไปรวมคำนวณภาษี ตามอัตราที่ตนเสียภาษี โดยอาจถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 1 สำหรับ นิติบุคคลบางประเภท และในกรณีที่เป็นสถาบันการเงิน จะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะในอัตราร้อยละ 3.3 ของเงินได้ประเภทดอกเบี้ยและเงินได้จากส่วนลด โดยรายละเอียดของอัตราภาษีแต่ละประเภท ปรากฏในตารางต่อไปนี้

          1. อัตราภาษีของบุคคลธรรมดา (ข้อมูล ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2549)

ภาษีอากร

          2. อัตราภาษีของนิติบุคคล (ข้อมูล ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2549)

ภาษีอากร

          หมายเหตุ : กรณีนักลงทุนต่างประเทศ (บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล) ที่ได้รับยกเว้นภาษีจากเงินได้ที่ได้รับจากพันธบัตรหรือหุ้นกู้ที่ออกโดยรัฐบาล องค์การของรัฐบาล หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรมข้างต้นนั้น อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามนโยบายของภาครัฐและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ผู้ลงทุนโปรดศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาษีได้ที่ www.rd.go.th



เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ภาษีอากรจากการลงทุนในตราสารหนี้ อัปเดตล่าสุด 7 สิงหาคม 2557 เวลา 10:00:13 1,063 อ่าน
TOP