x close

ค่าบริการต่อทะเบียนรถยนต์และจักรยานยนต์ จ่ายผ่านธนาคารได้แล้ว

ค่าบริการต่อทะเบียนรถยนต์และจักรยานยนต์

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

            ค่าบริการต่อภาษีรถยนต์และจักรยานยนต์ สำหรับผู้ที่ทะเบียนกำลังจะหมดอายุครบ 1 ปี สามารถชำระได้แล้วที่ธนาคารใกล้บ้านที่ให้บริการ สะดวกสบายไม่ต้องเดินทางไปถึงกรมขนส่ง มาเช็กค่าบริการของแต่ละธนาคารกัน
 
            ปัจจุบันนี้เมื่อมองไปตามท้องถนน ก็เห็นแต่รถยนต์และมอเตอร์ไซค์วิ่งกันให้คับคั่งไปหมด แสดงว่าสัดส่วนผู้มีพาหนะยานยนต์ในครอบครองกันเพิ่มขึ้นไม่เบา เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยและถูกต้องในการครอบครองพาหนะ ถ้าอย่างนั้นผู้ครอบครองรถทั้งหลายไม่ว่าจะมือเก่าหรือมือใหม่ ต้องใส่ใจเรียนรู้การดูแลรถของตัวเองกันสักหน่อย โดยหนึ่งสิ่งที่ควรรรู้ก็คือ การต่ออายุทะเบียนและชำระภาษีรถ หรือเรียกอย่างสั้น ๆ ว่า ต่อทะเบียนรถยนต์ รวมทั้งรถจักรยานยนต์ นั่นเอง ซึ่งปัจจุบันนี้หากขาดการต่อทะเบียน เกิน 3 ปี ทะเบียนจะถูกระงับทันทีนะครับ ซึ่งที่จริงการต่อทะเบียนก็ไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก ปัจจุบันสามารถเดินไปจ่ายที่ธนาคารใกล้บ้านได้เลยอย่างสะดวกสบาย

            การต่ออายุทะเบียนรถยนต์และรถจักรยานยนต์ จำเป็นต้องต่อทุก ๆ ปี โดยต้องเตรียมเอกสารหลักซึ่งได้แก่ หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ และ พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ส่วนรถของใครที่ผ่านการจดทะเบียนครั้งแรกมากมากกว่า 7 ปี หรือดัดแปลงติดก๊าซ CNG/LPG จะต้องนำรถไปตรวจสภาพเสียก่อน และนำไปรับรองไปประกอบการยื่นเอกสารด้วย

            จากนั้นสามารถนำเอกสารไปยื่นได้เลยที่กรมการขนส่งทางบก หากไม่สะดวกไปเองก็สามารถให้คนอื่นทำแทนได้ โดยเสียเงินค่าต่อทะเบียนรถ ตามอัตราที่กรมการขนส่งกำหนด คลิกดูได้ที่ dlt.go.th หรือคุณยังสามารถเลือกวิธีที่สะดวกสบายกว่านั้น ด้วยการชำระได้ที่เคาท์เตอร์ธนาคารสาขาใกล้บ้าน แค่เตรียมเงินค่าต่อทะเบียนพร้อมค่าธรรมเนียมตามกำหนดของแต่ละธนาคารไปจ่ายก็จัดการได้เรียบร้อยรวดเร็ว โดยสามารถเช็กรายชื่อธนาคารที่ให้บริการจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย พร้อมอัตราการให้บริการ ได้ดังนี้


สถาบันการเงิน

ค่าบริการต่อทะเบียนรถยนต์

ค่าบริการต่อทะเบียนรถจักรยานยนต์

ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

ไม่มีบริการ

ไม่มีบริการ

ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

ไม่มีบริการ

ไม่มีบริการ

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)

100 บาท/คัน

50 บาท/คัน

ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)

ไม่มีบริการ

ไม่มีบริการ

ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน)

1. กรณีรถยนต์เก๋งกระบะตู้ส่วนบุคคล และจะทะเบียนทั้งหมดในเขตกทม. และต่างจังหวัด: ภาษีจ่ายตามจริง + ค่าบริการต่อภาษี 300 บาท/คัน/ครั้ง

2. กรณีรถยนต์ประเภทอื่นที่นอกเหนือจาก รถยนต์เก๋งกระบะตู้ส่วนบุคคล และจะทะเบียนในกทม. : ภาษีจ่ายตามจริง + ค่าบริการ 2,800 บาท/คัน/ครั้ง

ไม่มีบริการ

ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)

100 บาท/รายการ

50 บาท/รายการ

ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน)

300 บาท

300 บาท

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

1. กรณีรถยนต์เก๋งกระบะตู้ส่วนบุคคล และจดทะเบียนทั้งในเขตกทม. และต่างจังหวัด: จ่ายภาษีตามจริง + ค่าบริการต่อภาษี300 บาท/คัน/ครั้ง

2. กรณีรถยนต์ประเภทอื่นที่นอกเหนือจาก รถยนต์เก๋งกระบะตู้ส่วนบุคค และจดทะเบียนในเขตกทม. : จ่ายภาษีตามจริง + ค่าบริการต่อภาษี 500 บาท/คัน/ครั้ง

1. กรณีรถยนต์เก๋งกระบะตู้ส่วนบุคคล และจดทะเบียนทั้งในเขต กทม. และต่างจังหวัด: ภาษีตามจ่ายจริง+ ค่าพรบ. จ่ายตามจริง + ค่าบริการต่อภาษี 300 บาท/คัน/ครั้ง

2. กรณีรถยนต์ประเภทอื่นที่นอกเหนือจาก รถยนต์เก๋งกระบะตู้ส่วนบุคคล และจด ทะเบียนในเขต กทม. : ภาษีตามจ่ายจริง+ ค่าพรบ. จ่ายตามจริง + ค่าบริการ 500 บาท/คัน/ครั้ง

ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)

150 บาท/รายการ

ไม่มีบริการ

ธนาคารเมกะ สากลพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)           

ไม่มีบริการ

ไม่มีบริการ

ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน)

20 บาท/รายการ

20 บาท/รายการ

ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)           

300 บาท/คัน/ครั้ง

ไม่มีบริการ

ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน)

300-1,300 บาท/รายการ

ไม่มีบริการ

ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) จำกัด (มหาชน)

ไม่มีบริการ

ไม่มีบริการ


          เงื่อนไขการให้บริการ

          ข้อมูลค่าธรรมเนียมบริการทางการเงินนี้ เป็นข้อมูลที่ ธปท. ได้รับจากผู้ให้บริการและเผยแพร่เพื่อประโยชน์ในการเปรียบเทียบค่าธรรมเนียมในเบื้องต้นเท่านั้น โปรดสอบถามรายละเอียดและเงื่อนไขจากผู้ให้บริการที่ท่านสนใจใช้บริการโดยตรง ธปท. ขอสงวนสิทธิ์ในความรับผิดชอบใดอันเกิดจากการจัดทำ การยกเลิก การเผยแพร่ การนำไปใช้ หรือการดำเนินการอื่นใดทุกกรณี หากพบข้อความหรือตัวเลขใดไม่ถูกต้องเป็นปัจจุบัน โปรดแจ้ง ธปท. โดย คลิกที่นี่

          คราวนี้การต่ออายุทะเบียนรถยนต์และรถจักรยานยนต์ก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป อย่าลืมว่าต่อช้าต้องเสียค่าปรับ หรือขาดต่อเกินสามปีทะเบียนโดนระงับอัตโนมัติ เพราะฉะนั้นลองไปสำรวจดูว่าทะเบียนรถของคุณจะหมดอายุในเดือนไหน หรือเช็กดูได้ที่ เว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบก แล้วต่อทะเบียนให้ทันตามกำหนดกันด้วยนะครับ



ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ธนาคารแห่งประเทศไทย





เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ค่าบริการต่อทะเบียนรถยนต์และจักรยานยนต์ จ่ายผ่านธนาคารได้แล้ว อัปเดตล่าสุด 31 มกราคม 2563 เวลา 14:24:29 14,774 อ่าน
TOP