x close

การเมืองพ่นพิษ ฉุดความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมร่วง


การเมืองพ่นพิษ ฉุดความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมร่วง

การเมืองพ่นพิษ ฉุดความเชื่อมั่นอุตฯร่วง (ไทยโพสต์)
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล

        การเมืองพ่นพิษ ฉุดความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมร่วง เนื่องจากผู้ประกอบการยังกังวลปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่ยืดเยื้อ

        วันนี้ (6 มกราคม 2557) นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ในฐานะผู้ผลิตได้ออกมาตอกย้ำถึงปัจจัยหลักที่กระทบกับเศรษฐกิจโดยรวมว่า ผลจาการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมประจำเดือนพฤศจิกายน 2556 ว่า อยู่ที่ 90.3 ลดลงจากเดือนตุลาคม 2556 ที่อยู่ที่ 92.8 ถือเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปี เนื่องจากผู้ประกอบการกังวลปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่ยืดเยื้อ ที่ส่งผลกระทบต่อภาพรวมยอดเศรษฐกิจชัดเจน ทำให้กำลังซื้อในประเทศลดลง จนส่งผลให้คำสั่งซื้อ ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ ปรับตัวลงชัดเจน ทั้งนี้ ผู้ประกอบการหวังให้ทุกฝ่ายร่วมกันแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองให้ยุติโดยเร็ว

        ส่วนความเชื่อมั่นในอนาคต 3 เดือนข้างหน้าก็ปรับตัวลดลงเช่นกัน โดยเหลือ 101.4 จากระดับ 102.4 แสดงให้เห็นว่า ผู้ประกอบการก็ยังคงหวั่นวิตกต่อสถานการณ์การเมืองในอนาคตต่อเนื่อง โดยเฉพาะผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อคำสั่งซื้อ ปริมาณการผลิต และผลประกอบการในอนาคต โดยผู้ประกอบการขนาดเล็กหรือขนาดกลางและย่อม (เอสเอ็มอี) ในเดือนพฤศจิกายน 2556 มีความเชื่อมั่นลดลง จาก 90.9 ในเดือนตุลาคม 2556 เหลือ  85.9 ในเดือนพฤศกิจายน 2556

        สำหรับภาคอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มที่ดี และแย่ในปี 2557 นั้น จากการวิเคราะห์ทั้ง 58 สาขา ทั้งภาคการผลิต ภาคการค้าและภาคบริการ พบว่า ในกลุ่มธุรกิจดาวรุ่ง ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพในการแข่งขัน สามารถแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

        1. กลุ่มธุรกิจ SMEs ที่มีศักยภาพในการแข่งขันในตลาดโลกและภูมิภาค ประกอบด้วย กลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม กลุ่มธุรกิจบริการด้านสุขภาพ กลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว กลุ่มธุรกิจยานยนต์และชิ้นส่วน/อะไหล่ และกลุ่มธุรกิจชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

        2. กลุ่มธุรกิจ SMEs ที่ต้องพึ่งพิงกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ในการแข่งขันในตลาดโลกและภูมิภาค เช่น กลุ่ม SMEs ในภาคก่อสร้าง ซึ่งมีโอกาสในการขยายตลาดโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศสมาชิก AEC ที่กำลังเร่งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและพัฒนาประเทศ ซึ่งการส่งเสริมให้มีความร่วมมือระหว่างวิสาหกิจขนาดใหญ่และ SMEs ด้วยการพัฒนาคลัสเตอร์และห่วงโซ่อุปทานของประเทศไทย จะช่วยให้ SMEs ในธุรกิจดังกล่าวสามารถขยายตลาดไปสู่ระดับภูมิภาคและระดับโลกได้เป็นอย่างดี

        3. กลุ่มธุรกิจ SMEs ที่รัฐต้องวางโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการสามารถอยู่รอดและเติบโตต่อไป ประกอบด้วย กลุ่มธุรกิจพลังงานทดแทน กลุ่มเกษตรกรรมโดยเฉพาะพืชพลังงาน กลุ่มขนส่งและโลจิสติกส์ กลุ่มบริการด้านการศึกษา กลุ่มธุรกิจ IT และ ICT รวมถึงอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการส่งเสริมผ่านการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาและส่งเสริมเอสเอ็มอีให้ได้รับมาตรฐานในระดับสากล รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยี 


ขอขอบคุณข้อมูลจาก



เรื่องที่คุณอาจสนใจ
การเมืองพ่นพิษ ฉุดความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมร่วง อัปเดตล่าสุด 13 มกราคม 2557 เวลา 11:39:45
TOP