x close

ประชาชนตื่นตัวแห่โอนที่ดิน ก่อนบังคับใช้ภาษีมรดก

ประชาชนตื่นตัวแห่โอนที่ดิน ก่อนบังคับใช้ภาษีมรดก
ประชาชนตื่นตัวแห่โอนที่ดิน ก่อนบังคับใช้ภาษีมรดก

ประชาชนตื่นตัวแห่โอนที่ดิน ก่อนบังคับใช้ภาษีมรดก

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก รายการ เรื่องเล่าเช้านี้ บีอีซี-เทโร

          ประชาชนแห่โอนที่ดินคึกคัก โดยเฉพาะที่สำนักงานที่ดินกรุงเทพฯ  มีคนไปใช้บริการเนืองแน่น รีบโอนก่อนบังคับใช้ภาษีมรดก เนื่องจากเป็นที่กลางเมืองมีราคาแพง

          วันนี้ (10 พฤศจิกายน 2557) มีรายงานว่า จากการที่กระทรวงการคลังมีหมายนำร่าง พ.ร.บ. ภาษีมรดก เข้าเสนอต่อที่ประชุม ครม. ในวันพุธ ( 12 พฤศจิกายน) ที่จะถึงนี้ ทำให้บรรยากาศที่กรมที่ดินค่อนข้างคึกคัก มีประชาชนแห่ไปโอนที่ดินกันเนืองแน่นกว่าปกติ ตามรายงานจาก pptvthailand  ระบุว่า สำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร ซึ่งรับผิดชอบเขตพระนคร ดุสิต ป้อมปราบศัตรพ่าย ปทุมวัน บางรัก สัมพันธวงศ์ บางซื่อ ยานนาวา บางคอแหลม สาทร กลายเป็นเขตที่มีผู้มาติดต่อโอนที่ดินกันเนืองแน่นที่สุดเมื่อเทียบกับสำนักงานที่ดินเขตอื่น ๆ เนื่องจากเป็นที่กลางเมือง มีมูลค่ามาก โดยในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา มีผู้มาทำการโอนวันละ 300 ราย จากปกติมีมาใช้บริการกันประมาณ 100 รายเท่านั้น โดยในจำนวนนี้มี 190 ราย ที่มีลักษณะโอนที่ดินเพื่อเป็นมรดกให้ลูกหลาน

          ทั้งนี้ ร่าง พ.ร.บ. ภาษีมรดก ได้วางหลักเกณฑ์จัดเก็บไว้ดังนี้

          จัดเก็บที่อัตราสูงสุด 10% โดยรายละเอียดปลีกย่อยนั้นจะกำหนดในกฎหมายลูกหรือกฤษฎีกาอีกครั้ง

          พิจารณาอัตราการจัดเก็บตามความเกี่ยวข้องระหว่างผู้ให้และผู้รับมรดก กล่าวคือ หากผู้รับมรดกเป็นทายาทสายตรงจะถูกเรียกเก็บภาษีในอัตราต่ำกว่าผู้รับมรดกที่ไม่มีความเกี่ยวข้องทางสายเลือดกับผู้ให้

          พิจารณาเก็บภาษีเฉพาะมรดกส่วนที่มีมูลค่าเกิน 50 ล้านบาทขึ้นไป ดังนั้น หากผู้รับได้มรดกมีมูลค่าเท่ากับหรือน้อยว่า 50 ล้าน ก็ไม่ต้องเสียภาษี แต่สมมุติหากได้มรดกมูลค่า 60 ล้าน ก็จะต้องนำส่วน 10 ล้านที่เกินออกมา มาทำการคำนวณภาษี โดยอัตราภาษีสูงสุดไม่เกิน 10% ของมูลค่าทรัพย์ หรือกรณีตัวอย่างนี้คือสูงสุดไม่เกิน 1 ล้านบาท

          ผู้รับมรดกที่ต้องจ่ายภาษี สามารถผ่อนชำระจ่ายได้โดยไม่ต้องเสียภาษีใน 2-3 ปีแรก

          การโอนมรดกก่อนผู้ตายเสียชีวิต 2 ปี ยังคงต้องเสียภาษีมรดก

          การเก็บภาษีมีผลย้อนหลัง 2 ปี ฉะนั้นไม่ว่าผู้ใดที่ได้รับโอนทรัพย์สินไปแล้วในช่วง 2 ปีก่อนหน้านี้ ก็จะยังถูกนำมาคิดภาษีมรดก


           ทั้งนี้หากร่าง พ.ร.บ.ภาษีมรดก ผ่านมติเห็นชอบจาก ครม. ในการประชุมวันพุธนี้ ก็จะได้รับการส่งเข้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติทันที นอกจากนี้จากการสำรวจการจัดเก็บภาษีมรดกในต่างประเทศนั้น พบว่าเก็บในอัตราที่แพงกว่าไทย อาทิ ญี่ปุ่นจัดในอัตราก้าวหน้า 10-70% ฝรั่งเศสเก็บ 35% สำหรับทายาทสายตรง และ 60% สำหรับผู้ไม่มีความเกี่ยวข้องทางสายเลือด เป็นต้น






เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ประชาชนตื่นตัวแห่โอนที่ดิน ก่อนบังคับใช้ภาษีมรดก อัปเดตล่าสุด 12 พฤศจิกายน 2557 เวลา 11:19:07
TOP