x close

จักรมณฑ์ ประเดิมตำแหน่ง เผย 3 ยุทธศาสตร์ดันอุตสาหกรรมไทย

จักรมณฑ์ ประเดิมตำแหน่ง เผย 3 ยุทธศาสตร์ดันอุตสาหกรรมไทย
จักรมณฑ์ ประเดิมตำแหน่ง เผย 3 ยุทธศาสตร์ดันอุตสาหกรรมไทย

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

          จักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เผย 3 ยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทยให้ก้าวหน้า เน้นเติบโตยั่งยืนและซื่อสัตย์โปร่งใส
ผ่านการพัฒนาระบบบริหารเพื่อรองรับการพัฒนา ปฏิรูปเพื่อความสะดวกของผู้ประกอบการ และสร้างบุคลากรกระทรวงอุตฯ ที่มีคุณภาพ

          นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมเดินหน้าลุยงานเต็มที่แล้ว ล่าสุด (16 กันยายน 2557)  มีการเผยถึง 3 ยุทธศาสตร์หลักที่จะใช้ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทยต่อจากนี้ไป โดยนายจักรมณฑ์ ระบุว่า ภาคอุตสาหกรรมนับเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศษฐกิจไทย จึงจำเป็นต้องพัฒนาระบบอุตสาหกรรมให้มีศักยภาพทัดเทียมกับประเทศอื่น ๆ จากนี้ไปต้องเร่งแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นและส่งผลต่อธุรกิจอุตสาหกรรม ควบคู่การวางรากฐานให้อุตสาหกรรมไทยเติบโตอย่างยั่งยืน โดนเน้นการทำงานให้ฉับไว โปร่งใส และถูกต้องอย่างยั่งยืน ผ่านยุทธศาสตร์ที่วางไว้ 3 ด้าน ดังนี้

1. ด้านการบริหารแผ่นดิน เพื่อรองรับการพัฒนาที่จะเกิดขึ้นและให้มีประสิทธิภาพในการแข่งขันสูงสุด

            - ส่งเสริมอุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับศักยภาพพื้นฐานที่ไทยมี เช่น การอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป มุ่งพัฒนาทั้งวัตถุดิบ กระบวนการผลิต และความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 

            - พัฒนาเขตเศรษฐกิจชายแดน เริ่มต้นที่ 6 ด่านสำคัญ คือ ปาดังเบซาร์ สะเดา อรัญประเทศ แม่สอด บ้านคลองลึก และบ้านคลองใหญ่ เพื่อพัฒนาให้เป็นพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ที่สามารถรองรับการตั้งโรงงานและการขยายตัวของสินค้าอุตสาหกรรมไทย ซึ่งได้รับความนิยมหมู่ประเทศเพื่อนบ้านได้

            - เพิ่มขีดความสามารถให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดเล็กและกลางให้เข้มแข้ง เพื่อสามารถแข่งขันกับได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งปรับปรุงระบบการผลิตให้มีประสิทธิภาพกว่าเดิม และส่งเสริมบทบาทการใช้โอกาสในสมาคมอาเซียน ทั้งในด้านการค้า การทุน และการขยายความร่วมมือร่วมกัน

            - พัฒนาศักยภาพการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยทุกระดับ โดยเฉพาะขนาดกลางและย่อม ให้เป็นไปตามข้อตกลงการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือ และปัจจัยการผลิตต่าง ๆ ที่เปิดเสรีมากขึ้น

            - พัฒนาแรงงานอุตสาหกรรมเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ยกระดับฝีมือแรง ส่งเสริมพัฒนาระบบการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานเพื่อใช้ในการประเมินค่าจ้างแรงงาน

2. ด้านปฏิรูปการทำงาน เพื่ออำนวยความสะดวกผู้ประกอบการ ลดต้นทุนการดำเนินงาน ทำให้เกิดความรวดเร็วในการดำเนินงาน

            - ผลักดันให้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบต่าง ๆ ทียังไม่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจอุตสาหกรรม อาทิ การขอตั้งโรงงาน การออกใบอนุญาตรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ให้มีความสะดวกเหมาะสมกว่าเดิม

            - เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการเชิงรุก คือ เพิ่มศูนย์รับการออกใบอนุญาตต่าง ๆ ภายใต้การกำกับของกระทรวงฯ โดยไม่ต้องเดินทางมาที่ส่วนกลาง การให้บริการถึงตัวบุคคลผ่านระบบ One Stop Service และระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ที่สมบูรณ์แบบ

            - เปลี่ยนระบบ Pre Audit เป็น Post Audit เพื่ออำนวยความสะดวกและสร้างความมั่นใจแก่ผู้ประกอบการในการรับใบอนุญาต ซึ่งจะต้องเคร่งครัดกับมาตรการกำกับ (Post Audit) ทุกขั้นตอนให้เป็นไปตามกฎหมาย

            - ปรับทัศนคติการทำงานของเจ้าหน้าที่ จากการเน้นเรื่องการกำกับ ควบคุม เป็นการให้คำปรึกษา แนะนำ พร้อมทั้งเสริมสร้างให้เจ้าหน้าที่มีจิตสาธารณะที่ดีต่อการปฏิบัติงาน

            - ประสานและบูรณาการการทำงานร่วมกับภาครัฐและภาคเอกชนอย่างใกล้ชิด มีการสร้างและสนับสนุนเครือข่ายให้ช่วยสอดส่องเฝ้าระวังเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากกระบวนการผลิตร่วมกัน

3. สร้างความสามัคคีในองค์กรและสร้างค่านิยมใหม่ เพราะบุคลากรเป็นทรัพยากรที่สำคัญ เป็นกลไกและพลังขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของกระทรวงอุตสาหกรรมไปสู่การปฏิบัติ

            - สร้างระบบคุณธรรมในการแต่งตั้งและโยกย้ายเจ้าหน้าที่ กำหนดมาตรการป้องกันการแทรกแซงจากนักการเมือง

            - ปลูกฝังค่านิยมและจิตสำนึกในการรักษาศักดิ์ศรีของความเป็นข้าราชการ ต้องทำงานอย่างซื่อสัตย์สุจริตทุกระดับ

            - สร้างระบบความก้าวหน้าให้ข้าราชการทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคอย่างเป็นธรรม โดยยึดความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานเป็นสำคัญ



อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก


เรื่องที่คุณอาจสนใจ
จักรมณฑ์ ประเดิมตำแหน่ง เผย 3 ยุทธศาสตร์ดันอุตสาหกรรมไทย อัปเดตล่าสุด 16 กันยายน 2557 เวลา 17:08:35
TOP