x close

เริ่มต้นวางแผนภาษี ทำได้อย่างไร


เริ่มต้นวางแผนภาษี ทำได้อย่างไร


เริ่มต้นวางแผนภาษี ทำได้อย่างไร (ธนาคารกสิกรไทย)

            เมื่อเริ่มมีเงินได้ ก็ต้องเริ่มเสียภาษี โดยปกติแล้ว ฐานรายได้ที่ต้องเริ่มเสียภาษี คือ เฉลี่ยเดือนละ 20,000 บาท หรือปีละ 240,000 บาทขึ้นไป ทั้งนี้ เราสามารถเสียภาษีน้อยลงได้ โดยการวางแผนภาษีอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้ค่ะ

            1. ประมาณการภาระภาษีตั้งแต่ต้นปี
            2. รวบรวมเอกสารเกี่ยวกับรายได้, ค่าใช้จ่าย และ ค่าลดหย่อนต่างๆ
            3. หมั่นปรับปรุงแผนภาษีให้ทันสมัย ตามกฎเกณฑ์ทางภาษีที่ออกใหม่


การประมาณการภาระภาษี จะต้องประมาณการเงินได้สุทธิที่นำมาคำนวณภาระภาษี ซึ่งคำนวณจาก
   
เงินได้สุทธิ     =    เงินได้พึงประเมินทั้งปี - ค่าใช้จ่าย (ตามกฎหมายกำหนด) - ค่าลดหย่อน


หากเรามองสมการคำนวณเงินได้สุทธิดังกล่าว จะพบว่ามีกลยุทธ์ในการวางแผนภาษีอยู่ 2 แนวทางใหญ่ ๆ คือ

            1. เพิ่มค่าใช้จ่าย (ทางภาษี) หรือ เพิ่มค่าลดหย่อน โดยมีแนวทางดังนี้

            เลือกประเภทค่าใช้จ่ายที่หักได้มากกว่า เงินได้บางประเภท เช่น เงินได้จากค่าเช่า การรับเหมา การประกอบวิชาชีพอิสระ การประกอบธุรกิจ การขายอสังหาฯ จะสามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายตามจริง หรือแบบเหมาได้ โดยหากคำนวณแล้วพบว่าค่าใช้จ่ายแบบใด สามารถหักได้มากกว่า ก็ควรเลือกใช้สิทธินั้นค่ะ

            ใช้สิทธิประโยชน์ต่างๆ ทางภาษีที่กฎหมายเปิดโอกาสให้สามารถนำมาลดหย่อนภาษี ซึ่งมีทั้งค่าลดหย่อนที่ต้องจ่ายเป็นเงิน เช่น ค่าลดหย่อนจากค่าซื้อหน่วยลงทุน LTF/RMF เบี้ยประกันชีวิต เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา เป็นต้น และค่าลดหย่อนที่ไม่ต้องจ่ายเป็นเงิน เช่น ลดหย่อนบุตร ลดหย่อนคู่สมรส ลดหย่อนบิดามารดา ลดหย่อนเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ เป็นต้น

            2. ลดรายได้พึงประเมิน หรือ เพิ่มรายได้ที่ได้รับการยกเว้น โดยมีแนวทางดังนี้

            เลือกรายได้ประเภทที่ได้รับการยกเว้นภาษี เช่น เงินฝากปลอดภาษี 24 เดือน การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ค่าขายคืนหน่วยลงทุน LTF/RMF กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (กรณีขายคืนถูกต้องตามเงื่อนไข) เป็นต้น

            เลือกรายได้ประเภทที่เสียภาษีในอัตราที่น้อยกว่า เช่น กรณีมีเงินได้อยู่ในฐานภาษี 10% และมีเงินได้ประเภท ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ สามารถเลือกได้ว่าจะนำดอกเบี้ยมารวมเป็นเงินได้ เพื่อเสียภาษีในอัตรา 10% แทนที่จะยอมเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายในอัตรา 15% เป็นต้น

            สรุปว่า การประมาณการเงินได้สุทธิ จะช่วยให้เรารู้ว่า ต้องวางแผนภาษีอย่างไรกันบ้างในแต่ละปี เพื่อช่วยให้เราประหยัดภาษี หรือจ่ายภาษีลดลงอย่างถูกต้องตามกฎหมายค่ะ หากมีข้อสงสัยหรือต้องการปรึกษาวางแผนเพิ่มเติม สามารถปรึกษากับที่ปรึกษาส่วนบุคคล ธนาคารกสิกรไทย ได้ที่ K-Expert@kasikornbank.com และ เว็บบอร์ด K-Expert ซึ่งจัดทำขึ้นผ่านทางเว็บไซต์ www.askKBank.com/K-Expert และติดตามข่าวสารการเงินได้ที่ Twitter @KBank_Expert



ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกออบจาก







เรื่องที่คุณอาจสนใจ
เริ่มต้นวางแผนภาษี ทำได้อย่างไร อัปเดตล่าสุด 17 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 17:26:06 1,186 อ่าน
TOP