x close

เปิดบทลงโทษ 7 แบงก์ ปล่อยคนร้ายเปิดบัญชี - ชี้ปรับหนักบัญชีละล้าน !



คดีขโมยบัตรประชาชนเปิดบัญชี


          กระทรวงยุติธรรม เผย โทษหนัก 7 ธนาคาร ปล่อยคนร้ายขโมยบัตรประชาชนผู้เสียหายเปิดบัญชี ปรับบัญชีละ 1 ล้าน และปรับอีกไม่เกินวันละ 10,000 บาท

          จากกรณี นางสาวณิชา เกียรติธนะไพบูลย์ หรืออะตอม อายุ 24 ปี ถูกคนร้ายล้วงกระเป๋าแล้วนำเอาบัตรประชาชนไปเปิดบัญชีธนาคาร 7 แห่ง 9 บัญชี จนได้รับความเดือดร้อน ต้องถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมตัวเข้าฝากขังยังเรือนจำจังหวัดตาก เป็นเวลา 3 วัน ก่อนได้รับการประกัน และเจ้าตัวเตรียมดำเนินการฟ้องร้องเอาผิดกับ 7 ธนาคารที่ทำให้เสียชื่อ ตามที่มีรายงานไปแล้วนั้น (อ่านข่าว : เหยื่อแก๊งคอลเซ็นเตอร์ล้วงบัตรประชาชนไปเปิดบัญชี จ่อฟ้อง 7 แบงก์ดัง ทำเสียชื่อ)

คดีขโมยบัตรประชาชนเปิดบัญชี

          ล่าสุด (10 มกราคม 2561) ผู้สื่อข่าวเดลินิวส์ ได้รับรายงานจากแหล่งข่าวกระทรวงยุติธรรม เผยว่า คดีความดังกล่าวอยู่ในความดูแลของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ที่จะต้องเข้าไปตรวจสอบสถาบันการเงินทั้ง 7 แห่ง ที่อนุญาตให้นำบัตรประชาชนของผู้อื่นไปเปิดบัญชีถึง 9 บัญชี เพราะเป็นหน้าที่ในการกำกับดูแลโดยตรงของ ปปง. ซึ่งกระทรวงยุติธรรมไม่สามารถเข้าไปยุงเกี่ยวด้วยได้ เพราะไม่ได้รับการร้องเรียนมา
          โดย ปปง. มีหน้าที่โดยตรงในการเข้าไปตรวจสอบ ทั้ง 7 ธนาคาร ที่อนุญาตให้คนร้ายนำบัตรประชาชนบุคคลอื่นไปเปิดบัญชีตามกฎหมายฟอกเงิน ที่สถาบันการเงินต้องตรวจสอบลูกค้าก่อนอนุญาตให้เปิดบัญชี โดยบทลงโทษในการไม่ตรวจสอบของทางธนาคารที่จะได้รับ คือโทษปรับบัญชีละ 1 ล้านบาท และปรับอีกไม่เกินวันละ 10,000 บาท จนกว่าจะแก้ไขให้แล้วเสร็จ หากเกิดความเสียหายต่อลูกค้า

          อย่างไรก็ตาม มีรายงานรายชื่อ 7 ธนาคาร ที่คนร้ายนำบัตรประชาชนของนางสาวณิชา ไปเปิดบัญชี มีดังนี้..

          - ธนาคารกสิกรไทย 1 บัญชี
          - ธนาคารกรุงไทย 2 บัญชี
          - ธนาคารทหารไทย 1บัญชี
          - ธนาคารออมสิน 1 บัญชี
          - ธนาคารกรุงเทพ 1 บัญชี
          - ธนาคารธนชาต 2 บัญชี
          - ธนาคารไทยพาณิชย์ 1 บัญชี

          ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวเดลินิวส์ ได้มีการสอบถามไปยัง นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน หนึ่งในธนาคารที่คนร้ายไปเปิดบัญชี เปิดเผยว่า หลังเกิดเรื่องได้มีการแจ้งไปยังทุกสาขาทั่วประเทศให้พนักงานตรวจสอบข้อมูลในการเปิดบัญชีอย่างรอบคอบและทำตามระเบียบอย่างเคร่งครัดอีกครั้ง ซึ่งปกติพนักงานธนาคารจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนระเบียบของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่กำหนดไว้อยู่แล้ว โดยเฉพาะการทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า หรือเควายซี  แต่การตรวจสอบตัวตนของผู้ที่มาเปิดบัญชีใหม่ จะต้องใช้บัตรประชาชนและการตรวจสอบจากบัตรประชาชนจะรู้เพียงว่าบุคคลนั้น ชื่อ นามสกุลอะไร อยู่ที่ไหน แต่ไม่สามารถที่จะเชื่อมข้อมูลหรือลิงก์ดูรูปได้ และไม่รู้ว่าบัตรประชาชนถูกยกเลิกทำบัตรใหม่แล้วหรือไม่ เพราะมีข้อจำกัดในการดูข้อมูล

คดีขโมยบัตรประชาชนเปิดบัญชี

          เบื้องต้น หากผู้เสียหายมีความต้องการที่จะฟ้องร้องธนาคารก็สามารถทำได้ เพื่อพิสูจน์ความเป็นจริงและต่อสู้กันในชั้นศาลต่อไป

          ด้าน นายลือชัย ชัยปริญญา รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานเครือข่ายธุรกิจขนาดเล็กและรายย่อย ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ทางธนาคารได้กำชับให้พนักงานทุกคนทุกสาขาเพิ่มความระมัดระวังในการเปิดบัญชี โดยให้เพิ่มความรอบคอบและการสังเกตตัวตนของลูกค้าเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาดังกล่าวซ้ำอีก พร้อมแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ขอให้ลูกค้าและประชาชนเชื่อมั่นในระบบของธนาคารโดยเฉพาะการเปิดบัญชี ว่าธนาคารมีคู่มือการปฏิบัติที่ชัดเจน และมีขั้นตอนในการพิสูจน์ตัวตนของลูกค้าอย่างละเอียด

          ขณะที่อีก 5 ธนาคารที่เหลือ อาทิ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงเทพ และธนาคารธนชาต ปฏิเสธการให้สัมภาษณ์ เนื่องจากเกรงว่าจะเกิดการสับสนจากที่สมาคมธนาคารไทยได้แถลงไป ส่วนธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารทหารไทย ไม่สามารถติดต่อผู้บริหารได้

ภาพจาก workpointnews
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก




เรื่องที่คุณอาจสนใจ
เปิดบทลงโทษ 7 แบงก์ ปล่อยคนร้ายเปิดบัญชี - ชี้ปรับหนักบัญชีละล้าน ! อัปเดตล่าสุด 11 มกราคม 2561 เวลา 11:38:46 103,365 อ่าน
TOP