x close

6 สาเหตุที่ต้องรู้ ทำไมธนาคารไม่ให้กู้ไปทำธุรกิจส่วนตัว

ขอสินเชื่อให้ผ่าน

          ขอสินเชื่อทำธุรกิจส่วนตัวจะผ่านหรือไม่ 6 สาเหตุนี้คือตัวตัดสิน

          เป้าหมายทางด้านการงานอาชีพของคนในปัจจุบันอาจไม่ใช่การทำงานเป็นข้าราชการที่มอบความมั่นคง แต่เป็นการมีธุรกิจเป็นของตัวเองมากกว่า เพราะไม่ต้องเป็นลูกน้องใคร มีความเป็นอิสระมากกว่า และมีแนวโน้มที่จะทำเงินได้มากกว่า

          และการจะมีธุรกิจได้ หากไม่ได้มีต้นทุนหนาแต่แรกแล้วอาจจะลำบากหน่อย เพราะต้องไปขอกู้เงินมาเพื่อเริ่มต้นธุรกิจ หรือถ้าอยากจะพัฒนาตัวสินค้าหรือขยับขยายกิจการ ก็ต้องใช้เงินมากเช่นกัน ดังนั้น การกู้เงินจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญ

          แต่ใช่ว่าจะขอสินเชื่อจากธนาคารแล้วจะได้รับอนุมัติกันง่าย ๆ นะคะ และนี่ก็คือ 6 สาเหตุที่ธนาคารอาจไม่ให้ผู้ประกอบการกู้เงินค่ะ

และการจะมีธุรกิจได้ หากไม่ได้มีต้นทุนหนาแต่แรกแล้วอาจจะลำบากหน่อย เพราะต้องไปขอกู้เงินมาเพื่อเริ่มต้นธุรกิจ หรือถ้าอยากจะพัฒนาตัวสินค้าหรือขยับขยายกิจการ ก็ต้องใช้เงินมากเช่นกัน ดังนั้น การกู้เงินจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญ

1. ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน

          เนื่องจากในระบบธนาคารหรือสถาบันการเงินใด ๆ ต้องมีการเรียกหลักประกันสำหรับค้ำประกันสินเชื่อ ส่วนใหญ่ธนาคารจะต้องการอสังหาริมทรัพย์ อย่างที่ดิน อาคาร สิ่งปลูกสร้าง รองลงมาอาจเป็นเครื่องจักร อุปกรณ์ เป็นต้น

          หากธนาคารพิจารณาดูว่า หลักประกันที่เราเสนอมีสามารถเข้าไปครอบครองได้ทันที สะดวกในการขายทอดตลาดเพราะมีความต้องการซื้อสูง ก็จะมีประโยชน์อย่างมากในการช่วยให้อนุมัติได้รวดเร็วและได้จำนวนเงินมาก

2. ยังขาดประสบการณ์

          ผู้ประกอบการจำนวนมากอยากเริ่มต้นทำธุรกิจเพราะความชอบส่วนตัวหรือแรงบันดาลใจจากควาสำเร็จของผู้อื่น เช่น เห็นคนเปิดร้านกาแฟแล้วขายดิบขายดี ก็คิดไปเองว่าถ้าตัวเองเปิดร้านกาแฟบ้างก็คงจะไปได้ดีเหมือนกัน ทั้งที่ตัวเองไม่ได้มีความรู้ในเรื่องกาแฟมาก่อน และไม่ได้ศึกษาให้รอบรู้เรื่องนั้นเลย เป็นต้น

          ขณะที่ผู้ประกอบการที่ต้องการกู้เงินมักคิดแค่ว่า ถ้าได้ลูกค้าเท่านั้น จะมีรายได้เท่านี้ เป็นต้น แต่ในทางกลับกัน การพิจารณาให้สินเชื่อส่วนใหญ่จะตั้งบนพื้นฐานว่า ถ้าไม่ได้ตามที่คาดคิด แล้วธุรกิจจะเป็นอย่างไร ผู้กู้จะสามารถผ่อนชำระคืนสินเชื่อให้ธนาคารได้หรือไม่

          ดังนั้น ถ้าผู้ประกอบการคนไหนที่มีลักษณะคิดแต่แง่ที่ว่า ตนเองจะต้องได้ผลกำไรเป็นเลิศอย่างเดียว ทั้งที่ไม่เคยมีประสบการณ์ในการทำธุรกิจนี้มาก่อน ธนาคารมักปฏิเสธการให้สินเชื่อ เพราะเสี่ยงว่าอาจจะต้องเจอปัญหาหนี้เสียในอนาคตนั่นเอง

และการจะมีธุรกิจได้ หากไม่ได้มีต้นทุนหนาแต่แรกแล้วอาจจะลำบากหน่อย เพราะต้องไปขอกู้เงินมาเพื่อเริ่มต้นธุรกิจ หรือถ้าอยากจะพัฒนาตัวสินค้าหรือขยับขยายกิจการ ก็ต้องใช้เงินมากเช่นกัน ดังนั้น การกู้เงินจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญ

3. ไม่มีรายได้ให้เห็น

          หากธุรกิจได้เริ่มดำเนินการมาบ้างแล้ว แต่ไม่ได้นำรายได้หรือรายจ่ายเข้าผ่านระบบธนาคารเพราะเน้นสะดวกกับการใช้เงินสดหมุนเวียนในธุรกิจมากกว่า แบบนี้ก็อาจจะเสี่ยงต่อการไม่ได้รับอนุมัติเมื่อต้องการกู้เงิน

          เพราะเมื่อเราไปขอกู้ ธนาคารจะขอดูการเคลื่อนไหวทางการเงินกับธนาคารของธุรกิจเราย้อนหลังอย่างน้อย 6 เดือน หรือขอดูสมุดบัญชีธนาคารเพื่อดู Statement ย้อนหลังไป 6 เดือน เพื่อดูว่าธุรกิจมีรายรับรายจ่ายเท่าไร มีกำไรขนาดไหน และมีเงินคงเหลือจากตรงนั้นเท่าไร เพื่อพิจารณาว่าเราจะสามารถผ่อนชำระคืนกับทางธนาคารตามวงเงินที่ขอกู้ได้หรือไม่

          ถ้าเราไม่มีตรงนี้ให้ธนาคารเห็น แม้เราจะทำธุรกิจมานานเพียงใด ทำเงินได้ขนาดไหน ก็ยากที่จะทำให้ธนาคารเชื่อว่าธุรกิจของเราสร้างรายได้จริงตามที่เราแจ้ง และยากที่จะทำให้เขาเชื่อว่าเราจะหาเงินมาผ่อนชำระสินเชื่อได้จริง

4. ประวัติการชำระเงินไม่ดี

          เมื่อเราขอสินเชื่อ ทางธนาคารจะทำการตรวจสอบชื่อเรากับเครดิตบูโรเพื่อทราบประวัติการชำระหนี้ของเรา หากมีหนี้เสียที่ยังค้างชำระ แต่ไม่เคยติดต่อธนาคารเจ้าหนี้เพื่อปรับโครงสร้างการชำระหนี้ หรือคิดแต่ว่าถ้าธนาคารอยากจะยึดหลักประกันก็ยึดไปได้เลย แบบนี้ไม่ดีแน่นอนค่ะ

          แม้บางธนาคารจะโฆษณาว่า ถึงผู้ประกอบการมีหนี้เสียอยู่ก็กู้เงินได้ แต่อันที่จริงแล้ว เราจะกู้ได้ในกรณีนี้ก็ต่อเมื่อได้ติดต่อธนาคารเจ้าหนี้เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ และผ่อนชำระหนี้ก้อนนั้นมาเป็นระยะหนึ่งแล้วเท่านั้น เพื่อให้ธนาคารเห็นว่าเรามีความสามารถในการชำระหนี้ ณ ปัจจุบันจริง ๆ

และการจะมีธุรกิจได้ หากไม่ได้มีต้นทุนหนาแต่แรกแล้วอาจจะลำบากหน่อย เพราะต้องไปขอกู้เงินมาเพื่อเริ่มต้นธุรกิจ หรือถ้าอยากจะพัฒนาตัวสินค้าหรือขยับขยายกิจการ ก็ต้องใช้เงินมากเช่นกัน ดังนั้น การกู้เงินจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญ

5. ไม่มีแผนธุรกิจ

          ธนาคารจะขอให้ผู้ประกอบการทำแผนธุรกิจหรือเสนอโครงการเข้ามา เพื่อเป็นเอกสารประกอบการพิจารณาสินเชื่อว่าธุรกิจมีลักษณะในการดำเนินการอย่างไร รายรับรายจ่ายเท่าไร ลูกค้าเป็นใคร ผลกำไรเป็นเท่าไร รวมถึงการดำเนินการธุรกิจในอนาคตจะทำอย่างไรด้วย

          ผู้ประกอบการรายย่อยอาจมีปัญหากับตรงนี้ เพราะไม่รู้จะเขียนเป็นขั้นตอนยังไง บางทีเขียนออกมาแล้วอาจจะไม่ตรงกับการให้ข้อมูลจากปากของผู้ประกอบการก็มี หรือบางคนก็ไปจ้างมืออาชีพเขียน แต่ตัวเองไม่ได้เข้าใจรายละเอียดที่ถูกเขียนลงไปในนั้น ทำให้พอถูกซักถาม กลับตอบไม่ได้ กลายเป็นผลเสียยิ่งกว่าในการพิจารณาให้สินเชื่อ

          อย่าลืมว่า ผู้พิจารณาสินเชื่อ ล้วนแต่มีความรู้ ความชำนาญ ในการพิจารณาสินเชื่อและการมองธุรกิจ โดยจะมองจากหลาย ๆ อย่าง รวมถึงแผนธุรกิจด้วย จึงต้องเตรียมตรงนี้ให้พร้อม

6. มีทัศนคติที่ไม่ดี

          ข้อนี้อาจไม่น่าเชื่อแต่เกิดขึ้นจริง นั่นก็คือ ตัวผู้ประกอบการหรือผู้ขอสินเชื่อเอง เป็นสาเหตุที่ทำให้ขอสินเชื่อไม่ผ่าน เพราะทัศนคติและการแสดงออกเกี่ยวกับการใช้บริการจากธนาคารนั่นเอง

          ผู้ประกอบการอาจเคยไปใช้บริการหรือติดต่อขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินแห่งอื่นมาก่อน แต่ไม่ได้รับอนุมัติ จึงมีประสบการณ์ที่ไม่ดี และบ่นหรือตำหนิเกี่ยวกับสถาบันการเงินแห่งนั้นว่าไม่เข้าใจธุรกิจของตน นโยบายไม่จริงใจที่จะช่วยเหลือผู้ประกอบการจริง ฯลฯ

          การแสดงออกเหล่านี้แหละที่ธนาคารอาจพิจารณาว่าผู้ประกอบการคนดังกล่าวเป็น "คนเจ้าปัญหา" ทำนองว่าเพราะเป็นคนแบบนี้ไงล่ะ ธนาคารนั้นถึงไม่ให้อนุมัติสินเชื่อ ทำให้การพิจารณาในส่วนของลักษณะของผู้ประกอบการไม่ผ่าน

          หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ประกอบการที่ต้องการจะเริ่มต้นธุรกิจของตนเองและขยายกิจการของตนเองนะคะ การจะขอสินเชื่อเพื่อการทำธุรกิจอาจไม่ใช่เรื่องง่ายนัก แต่หากเราเตรียมตัวพร้อม รับรองว่าผ่านแน่นอนค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก
Masii.co.th

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
6 สาเหตุที่ต้องรู้ ทำไมธนาคารไม่ให้กู้ไปทำธุรกิจส่วนตัว อัปเดตล่าสุด 21 มิถุนายน 2559 เวลา 16:03:04 55,593 อ่าน
TOP