x close

เริ่มนำร่องระบบตั๋วร่วม บัตรเดียวใช้ได้กับทุกระบบขนส่ง เดือน ก.พ. นี้



เริ่มนำร่องระบบตั๋วร่วม บัตรเดียวใช้ได้กับทุกระบบขนส่ง เดือน ก.พ. นี้



               รถไฟฟ้า-ทางด่วน ทดลองใช้ระบบตั๋วร่วม "MANGMOOM" เดือนกุมภาพันธ์นี้ คาดเปิดใช้เป็นทางการเดือนสิงหาคม ครอบคลุมหมดทุกระบบขนส่งสาธารณะ

               หลังจากที่สำนักงานนโยบายและแผนการจราจรและขนส่ง (สนข.) ได้ประกาศผลผู้ชนะเลิศโครงการประกวดตั้งชื่อและออกแบบสัญลักษณ์ตั๋วร่วม โดยมีผลงานชนะเลิศคือ "MANGMOOM" หรือ แมงมุม ของ นางสาววรรธิชา อเนกสิทธิสิน ที่มีแนวคิดมาจากลักษณะทางกายภาพของแมงมุม ที่การปล่อยใยของมันทำให้แมงมุมสามารถเคลื่อนที่ไปไหนก็ได้ เช่นเดียวกับตั๋วร่วมที่เชื่อมต่อทุกการเดินทางได้ภายในบัตรเดียว ตามที่ได้เสนอข่าวไปแล้วนั้น [อ่านข่าว : มาแล้ว ! เผยโฉมตั๋วร่วม MANGMOOM คาดได้เริ่มใช้จริงต้นปี 59 คลิก]

               ล่าสุดวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2559 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายเผด็จ ประดิษฐ์เพชร ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่าภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2559 จะนำโครงการลงทุนระบบบริหารจัดการกลางของระบบตั๋วร่วม ให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติ โดยจะใช้รูปแบบรัฐร่วมลงทุนกับเอกชน หรือ PPP ในการเลือกเพื่อจัดตั้งบริษัท ตั๋วร่วม จำกัด เป็นผู้บริหารจัดการและบำรุงรักษาตั๋วร่วม (CTC) ร่วมกัน
              
               โดยบริษัทดังกล่าวจะดูเรื่องการจัดการค่าใช้บริการของแต่ละระบบ และแบ่งสรรเงินให้กับระบบขนส่งต่าง ๆ จะมีรายได้เป็นค่าธรรมเนียม และจะได้สัมปทานจากรัฐบาล 15-20 ปี โดยกระทรวงคมนาคมจะเป็นผู้ควบคุมค่าธรรมเนียม ไม่ให้เกิน 1.5% ของค่าขนส่ง สำหรับโครงสร้างอัตราค่าโดยสารจะมี 3 รูปแบบคือ

               1. คิดอัตราเดียว เช่น 20 บาท 30 บาท 40 บาท
               2. เก็บตามระยะทาง โดยคิดค่าแรกเข้าครั้งเดียว
               3. เก็บตามระยะทาง ลดค่าแรกเข้าครั้งที่ 2 เช่น 10-30% อยู่ที่นโยบายรัฐบาล

               นายเผด็จ ระบุว่า ในการจัดตั้งบริษัทจะใช้ทุนเริ่มต้น 600 ล้านบาท ซึ่งเงินจำนวนนี้จะนำมาใช้ในการปรับปรุงระบบเดิม คือ ระบบบีทีเอส รถไฟฟ้าใต้ดิน แอร์พอร์ตเรลลิงก์ และ Easy Pass ของทางด่วน ให้รองรับระบบตั๋วร่วมที่ออกแบบเป็นมาตรฐานกลาง ภายในวงเงิน 244 ล้านบาท เพื่อรองรับระบบตั๋วร่วม ซึ่งจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-มีนาคมนี้ และให้แล้วเสร็จใน 6 เดือน โดยแบ่งเป็นค่าปรับปรุงระบบดังนี้

               - ค่าปรับปรุงระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน 80 ล้านบาท
               - ระบบบีทีเอส 60 ล้านบาท
               - รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ 60 ล้านบาท

               สำหรับที่เหลือจะเป็นเงินทุนหมุนเวียน และค่าบริหารจัดการอีกกว่า 160 ล้านบาทต่อปี และค่าจัดตั้งสำนักงาน

               นายเผด็จ กล่าวต่อว่า หลังจากทดสอบระบบการติดตั้งเสร็จ จะเริ่มทยอยเปิดใช้บริการในเดือนสิงหาคมนี้ โดยจะทยอยเปิดใช้ตามความพร้อมของระบบที่ปรับปรุงเสร็จ ส่วนระบบใหม่ที่จะเปิดใช้ในปีนี้ เช่น รถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงเตาปูน-บางใหญ่ ทางด่วนศรีรัช-วงแหวนรอบนอกตะวันตก หรือรถเมล์เอ็นจีวีที่ซื้อใหม่ ก็สามารถนำระบบไปติดตั้งได้เลย ส่วนรถไฟฟ้าและทางด่วนคาดว่าจะเริ่มใช้ได้ในปีนี้ได้เลย


เริ่มนำร่องระบบตั๋วร่วม บัตรเดียวใช้ได้กับทุกระบบขนส่ง เดือน ก.พ. นี้

               สำหรับเป้าหมายในปี 2559 คือให้ระบบตั๋วร่วมสมบูรณ์แบบ สามารถใช้งานได้ครอบคลุมทั้ง รถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้าใต้ดิน รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ มอเตอร์เวย์ ทางด่วน และรถเมล์ ขสมก. ในระยะแรกจะเน้นใช้ตั๋วร่วมกับระบบขนส่งเป็นหลักก่อน

               ด้าน นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ. ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือบีทีเอสซี ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส กล่าวว่า ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างติดตั้งระบบตั๋วร่วมคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้ และใช้เวลาทดสอบ 6 เดือนก่อนจะเปิดใช้ได้ในเดือนสิงหาคมนี้

               นายสุรพงษ์ เผยว่า ทางบริษัทมีความสนใจจะร่วมลงทุนระบบบริหารจัดการกลางที่ สนข. จะเปิดประมูลด้วย เพราะบีทีเอสมีการให้บริการบัตรแรบบิทอยู่แล้ว ซึ่งผู้ถือบัตรดังกล่าวมีประมาณ 5 ล้านใบ ก็สามารถนำมาใช้ร่วมกับตั๋วแมงมุมได้ โดยทางบริษัทเตรียมเซตระบบให้รองรับด้วยกันได้

ภาพจาก thaicommonticket.com, ทวิตเตอร์ @Wootthinan

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก


เรื่องที่คุณอาจสนใจ
เริ่มนำร่องระบบตั๋วร่วม บัตรเดียวใช้ได้กับทุกระบบขนส่ง เดือน ก.พ. นี้ อัปเดตล่าสุด 11 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 11:30:25 11,127 อ่าน
TOP