x close

ช. การช่าง เตรียมควบ 2 บริษัทลูกรับโปรเจคท์ใหญ่

เตรียมควบ 2 บริษัทลูกรับโปรเจคท์ใหญ่
ช. การช่าง เตรียมควบ 2 บริษัทลูกรับโปรเจคท์ใหญ่

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก เฟชบุ๊ก บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน)

                 ช.การช่าง ควบรวม BECL-BMCL ตั้งบริษัทใหม่ ถือหุ้นใหญ่ 40% เผยแผนควบรวมเสร็จสิงหาคมนี้ พร้อมจ่ายปันผลทันที ขณะที่บริษัทใหม่พร้อมซื้อ-ขายในตลาดหลักทรัพย์เดือนกันยายนนี้

                 เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2558 กลุ่มบริษัท ช. การช่าง ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประไทย เรื่องบริษัท และบริษัทลูก มีการปรับโครงสร้างภายในเครือข่ายทั้งหมด โดย ปัจจุบัน ช.การช่างถือหุ้นอยู่ใน บริษัททางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BECL 15.15% และในบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ  BMCL 25.19% โดยขณะที่ BECL ถือหุ้นอยู่ใน BMCL 10% และเพื่อเป็นการขจัดการถือหุ้นซ้ำซ้อน บริษัท ช.การช่าง จะเข้าซื้อหุ้น BMCL ในส่วนที่ BECL ถือทั้งหมด โดยใช้เงินลงทุนทั้งหมด 3.67 พันล้านบาท ในราคาหุ้นละ 1.79 บาท หลังจากการเข้าซื้อหุ้นดังกล่าวแล้ว จะทำให้ ช.การช่างถือหุ้นใน BMCL เพิ่มเป็น 35.19% โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อเตรียมพร้อมรับการแข่งขันในอนาคต ซึ่งการควบรวมดังกล่าว จะส่งผลให้ บริษัทที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่ศักยภาพในการเติบโตที่ดีขึ้น ซึ่งเรื่องนี้ ทางคณะกรรมการ ทั้ง 2 บริษัท มีมติเห็นชอบแผนการควบบริษัทระหว่าง BECL และ BMCL โดยเตรียมนำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นของทั้ง 2 บริษัท ให้มีมติควบรวมบริษัท

                 ส่วนการควบรวมกิจการระหว่าง BECL และ BMCL นั้น จะเป็นการจัดตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมา จากนั้นจะเป็นการแลกหุ้นของบริษัทใหม่ โดย 1 หุ้น BECL แลกหุ้นบริษัทใหม่ได้ 8.065538 หุ้น และ 1 หุ้น BMCL แลกหุ้นบริษัทใหม่ได้ 0.42051 หุ้น ดังนั้นการแลกหุ้นในครั้งนี้ จะทำให้บริษัทใหม่มีทุนจดทะเบียน 15,285 หุ้น หรือ 15,285 ล้านบาทพาร์หุ้นละ 1 บาท สำหรับบริษัทตั้งใหม่นี้ จะถูกถือหุ้นโดย ช.การช่างประมาณ 40% และที่เหลืออีก 60% จะเป็นหุ้นสภาพคล่อง หรือฟรีโฟลท ซึ่งถือโดยนักลงทุนทั่วไป

                 ทางด้าน นายสมบัติ กิจจาลักษณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า สิ่งที่ BMCLจะได้คือ เดิมทีผู้ถือหุ้น BMCL มักจะมีคำถามว่า บริษัทสามารถจ่ายเงินปันผลได้เมื่อใด เพราะปัจจุบันบริษัทมีขาดทุนสะสมอยู่ 1.2 หมื่นล้านบาท บริษัทจะมีผลกำไรจากการเปิดเดินรถไฟฟ้าสายสีม่วงในปี 2559 และต้องทยอยล้างขาดทุนสะสมก่อน ถึงจะปันผลได้ ดังนั้นการควบรวมบริษัทครั้งนี้ BMCL จะใช้วิธีลดทุนจดทะเบียนจาก 20,000 ล้านบาท เหลือ 7,000 ล้านบาท จากนั้นลดพาร์จาก 1 บาท เหลือ 30 สตางค์ โดยจะนำเงินจำนวนดังกล่าวไปชำระหนี้ที่มีอยู่ ส่งผลให้บริษัทจะมีหนี้เหลืออยู่ในหลัก 100 ล้านบาท ดังนั้นจะทำให้บริษัทมีค่าใช้จ่ายด้านดอกเบี้ยลดลง ส่งผลต่อศักยภาพในการระดมทุนมากขึ้น

                 นายสมบัติ กล่าวต่อว่า การรวมหุ้นครั้งนี้ จะต้องเสนอที่ประชุมผู้ถือหุ้นทั้ง 2 บริษัท ในเดือนกุมภาพันธ์ และคาดว่า จะสามารถควบรวมแล้วเสร็จ และนำหุ้นเข้ามาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ได้ในเดือนสิงหาคมนี้ โดยบริษัทที่จะจัดตั้งขึ้นนั้น จะมีทุนจดทะเบียน 15,285 ล้านบาท ในราคาพาร์ ที่ 1 บาทต่อหุ้น ส่งผลให้ขนาดมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดทั้ง 2 บริษัทรวมกันอยู่ในลำดับที่ 35 ที่ 78,403 ล้านบาท โดยบริษัทใหม่สามารถเข้าซื้อขายได้ในเดือนกันยายนนี้ และในส่วนของนโยบายการจ่ายปันผลของบริษัทใหม่จะไม่ต่ำกว่า 40% ของกำไรสุทธิ

                 สำหรับการเติบโตของ BMCL นายสมบัติ กล่าวว่า การเติบโตในอนาคตจะมีอีกมาก หากพิจารณาจำนวนเส้นทางรถไฟฟ้าที่มีอยู่ปัจจุบัน ระยะทางเกือบ 60 กิโลเมตร เป็นของบริษัท 20 กิโลเมตร และนโยบายของรัฐบาลต้องการเพิ่มเส้นทางรถไฟฟ้าให้ครบ 500 กิโลเมตรในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ทำให้บริษัทยังเห็นโอกาสเติบโต โดยล่าสุดบริษัทได้รับการประมูลการเดินรถในเส้นทางเดินสายสีม่วง และคาดจะเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ในวันที่ 12 สิงหาคม 2559 ซึ่งจะช่วยให้บริษัทพลิกมีกำไร
                
                 นอกจากนี้ยังมีโอกาสในการขยายเส้นทางเดินรถไปยังส่วนต่อขยายในระยะเวลาอันสั้นอีก 2 เส้นทาง ได้แก่ สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย และสายสีเขียว ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง และในอนาคตจะเปิดประมูลโครงการรถไฟฟ้าในอีก 3 เส้นทาง ทั้งสายสีส้ม สายสีชมพู และสายสีเหลือง ทำให้เห็นโอกาสของการเติบโตที่อยู่อย่างมาก ซึ่งการควบรวมกิจการครั้งนี้จะช่วยให้บริษัทมีเงินทุนเข้าไปประมูลได้
 



อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก

















เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ช. การช่าง เตรียมควบ 2 บริษัทลูกรับโปรเจคท์ใหญ่ อัปเดตล่าสุด 23 มกราคม 2558 เวลา 17:24:00 2,945 อ่าน
TOP